จิตแพทย์เผยปัจจัย "เด็ก" ก่อเหตุรุนแรง แนะสร้างความเข้าใจภายในครอบครัว
จิตแพทย์เผยปัจจัยเด็กก่อเหตุความรุนแรงในครอบครัว แนะเช็กความสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ
จากรณีเด็กลูกสาววัย 14 ปี ร่วมมือแฟนหนุ่มวัย 16 ปี วางแผนฆ่าแม่ เนื่องจากถูกกีดกันความรักนั้น ซึ่งข่าวดังกล่าวสร้างความสะเทือนใจให้กับสังคม PPTV จึงได้สอบถาม นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และโฆษกกรมสุขภาพจิต เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว รายละเอียดดังนี้
ความรุนแรงในครอบครัวเกิดบ่อยขึ้นหรือไม่
จากงานวิจัยหลายตัวพบว่าตัวเลขความรุนแรงเกี่ยวกับครอบครัวมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นทั่วโลก
สะเทือนขวัญ ด.ญ.วัย 14 ปี วางแผนร่วมกับแฟน ฆ่าแม่และพี่ชายตัวเอง
วิธีดูแลใจลูกยุคโควิด-19 สังเกตสักนิดป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตามมา
เครียดจิตตกช่วงโควิด-19 จิตแพทย์แนะ3วิธีรับมือสู้ไวรัสร้ายทุกระลอก
สำหรับในประเทศไทยก็มีรายงานจากหลายหน่วยงานว่าความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้คนในครอบครัวอยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น ซึ่งเหตุการฆาตกรรมนี้จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้ด้วยเช่นกัน ส่วนกรณีเด็กอายุน้อยฆ่าผู้ปกครองพบไม่บ่อย แต่สังคมค่อนข้างให้ความสนใจ
สาเหตุการก่อความรุนแรงในกรณี้นี้
มีความเป็นไปได้ที่เกิดจากความรุนแรงในครอบครัว และปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว ในช่วงที่สถานการณ์ตึงเครียด หากครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและกันมักจะไม่ลงเอยด้วยความรุนแรง มักจะใช้การการพูดคุย ปรึกษา หาทางออกร่วมกัน การที่เกิดการใช้กำลังระหว่างกันมักเกิดขึ้นจากการที่ผู้ก่อเหตุคิดว่าการพูดคุยปรึกษาไม่ใช่ทางออก จึงทำให้เขาเลือกวิธีที่รุนแรงมาก
นอกจากความสัมพันธ์ที่มีปัญหาในครอบครัวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆด้วย เช่น ความโกรธแค้น การทะเลาะแบาะแว้งกันมาก่อนหน้านี้ การใช้กำลังกันมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเหล่านี้ยังต้องสืบสวนต่อ และอีกสิ่งที่ตัดออกไปไม่ได้ คือเรื่องสารเสพติด รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพจิตบางอย่าง
เกิดจากโรคซึมเศร้าตามที่มีการกล่าวอ้างได้ไหม
ไม่สามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้เนื่องจากโรคซึมเศร้าต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบ อย่าวไรก็ตาม เด็กผู้หญิงวัย 14-15ปี ถูกครอบครัวกีดกันเรื่องความรักส่วนมากคุยกันได้ อาจมีทะเลาะกันบ้าง แต่ถึงขั้นก่อเหตุความรุนแรงอาจมีสาเหตุเบื้องหลังบางอย่าง
ใช่พฤติกรรมลอกเลียนแบบหรือไม่
พฤติกรรมลอกเลียนแบบคือการที่เจ้าตัวจะต้องเห็นข่าวนั้นและอินกับข่าวนั้นเยอะๆ มีการวางแผนหลังที่เห็นข่าวนั้นทั้นที ซึ่งในกรณีนี้ยังไม่สารารถตอบได้ยังต้องอาศัยการสอบปากคำผู้ก่อเหตุเพิ่มเติม
เยียวยาจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ
ประเด็นสำคัญคือต้องเยียวยาดูแลสภาพจิตใจของคนในครอบครัว รวมถึงคนในชุมชม ที่ได้รับผลกระทบกระเทือนทางจิตใจที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้
หลังจากนี้ เด็กจะป่วยไม่ป่วยอย่างไรคงต้องเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะส่งต่อหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเจ็บป่วยทางสุขภาพจิตของเด็ก ซึ่งอาจจะออกมาว่าไม่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางสุขภาพจิตก็ได้
หมอแนะเช็กความสัมพันธ์ในครอบครัว
ประชาชนที่มีเด็กวัยรุ่นในครอบครัวต้องมาประเมินกันแล้วว่าความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นอย่างไร อย่ากลัวว่าลูกจะก่อเหตุทำร้ายร่างกายเรา ต้องมาคุยกันถึงเรื่องที่ความคิดเห็นไม่ตรงกันในครอบครัว เช่น ลูกอยากเรียนต่ออะไร ลูกอยากมีแฟน ลูกอยากคบเพื่อน ลูกอยากทำอะไร ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาวัยรุ่นทื่พ่อแม่หลายคนไม่เข้าใจและปรับตัวไม่ได้ ลูกเองก็เริ่มใช้ความรุนแรงและไม่มีใครจัดการความรุนแรงที่เขาใช้ได้ ดังนั้นสถาบันครอบครัวจะต้องหยิบยกเรื่องนี้มาคุยกันในครอบครัวตนเองให้มากขึ้น หากไม่อยากให้ครอบครัวตัวเองเดินไปสู่จุดนั้น จะมีทางใดบ้างที่จะทำให้ครอบครัวเรามีแต่ความรักความอบอุ่น มีการพูดคุยกัน แม้ความคิดเห็นไม่ตรงกันก็สามารถตกลงกันได้โดยไม่ใช้ความรุนแรง
หมอแนะเสพข่าวแต่พอดี
ข่าวนี้ค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงในครอบครัว หากใครดูข่าวแล้วสะเทือนใจตัวเองมาก เครียดมากเกี่ยวกับข่าวนี้ ซึ่งเดิมก็มีความเครียดจากสถานการณ์โควิด-19 อยู่แล้ว การดูข่าวที่มีความรุนแรงจะยิ่งซ้ำเติมให้เกิดความเครียดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด ติดตามข่าวเพื่อรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคม จากนั้นนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันดูว่าความสัมพันธ์ของครอบครัวเราเป็นอย่างไร ซึ่งน่าจะเพียงพอแล้ว
อากาศร้อนระวังโรคลมแดด รักษาไม่ทันถึงขั้น "พิการ-เสียชีวิต"
บัตรทองต้องรู้! อัปเดตสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยปี 2565 รักษาฟรีที่ไหนบ้าง?