5 ปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน ภาวะความพึงพอใจในตนเองต่ำ รีบแก้ก่อนซึมเศร้า
ความเครียดวิตกกังวลสูง นับเป็นปัญหาของคนวัยทำงานเพราะต้องอยู่กับงานแทบตลอดทุกวัน เผย 5 ปัญหาสุขภาพจิต ต้นเหตุและวิธีแก้
ความเครียดสะสม ถือเป็นปัญหาสุขภาพจิตของคนวัยทำงาน จนอาจกระทบต่อสภาพจิตใจ ทำให้ประสิทธิภาพการใช้ชีวิตและการทำงานด้อยลง จนกลายเป็นภาวะหมดไฟ หรือรุนแรงกว่านั้นคือวิตกกังวลและแพนิคได้ แน่นอนว่าเป็นแล้วรักษายาก พอๆกับโรคทางสุขภาพกาย ที่เรื้อรังและอาจนำไปซึ่งการบั่นทอนพลังชีวิตได้
5 ปัญหาสุขภาพจิตคุกคามชีวิตวัยทำงาน
- เครียดสะสม
การใช้ชีวิตบนความตึงเครียด ความกดดัน และมีความคาดหวังสูง 5-6 วันต่อสัปดาห์ มักเป็นสาเหตุของอาการเครียดสะสม หนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัว
“สุขภาพจิต”วัยทำงาน สาเหตุการสูญเสียระดับโลก ภัยเงียบไม่ควรมองข้าม
ภาวะว่างเปล่า ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร แนวโน้มพัฒนาซึมเศร้าสูง
สังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทั้งด้านอารมณ์และการใช้ชีวิต เช่น นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก นิ่งเงียบ เบื่อหน่ายชีวิต เศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้น หากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นภาวะอันตราย อาทิ โรคหัวใจ ความดันโลหิต ไมเกรน เครียดลงกระเพาะ เป็นต้น
- หมดไฟในการทำงาน
เรียกได้ว่าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่กำลังมาแรงในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ โดยสาเหตุมักเกิดจากความเครียดเรื้อรัง ภาระงานที่หนักซับซ้อน ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ส่งผลให้มุมมองที่มีต่อการทำงานเป็นไปในด้านลบ ขาดความสุข หมดแรงจูงใจไม่อยากไปออฟฟิต และอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง หากปล่อยให้นานอาจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้
- ภาวะความพึงพอใจในตนเองต่ำ
ปัญหาที่ชาวออฟฟิศหลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังเผชิญภาวะนี้อยู่ คือ ความรู้สึกเศร้าใจ ไม่ชอบสิ่งที่ตัวเองได้ตัดสินใจทำลงไป รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า สูญเสียความรู้สึกให้เกียรติตัวเอง แบกรับปัญหาและกล่าวโทษว่ามีต้นเหตุมาจากตัวเองไม่ดีพอ ตีความเหตุการณ์ต่างๆ ในแง่ลบเสมอ เป็นภาวะเสี่ยงมากที่จะก้าวข้ามสู่โรคซึมเศร้า สัญญาณเตือนที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้กำลังเผชิญวิกฤติ ภาวะความพึงพอใจในตนเองต่ำ คือความอ่อนไหวไปกับเรื่องเล็กน้อยได้ง่าย วิตกกังวล ไปจนถึงกลัวการเข้าสังคม
- โรคซึมเศร้า
เป็นการเจ็บป่วยอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับโรคทางกายชนิดอื่นๆ การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้มีความหมายว่าเป็นคนอ่อนแอ หรือไร้ความสามารถ แต่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ที่มีผลกระทบโดยรวมต่ออารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม ไปจนถึงสุขภาพกาย
“ความเครียดสูง” เสี่ยงพัฒนาซึมเศร้า-วิตกกังวล อันตรายถึงขั้นฆ่าตัวตาย
- กลุ่มโรควิตกกังวลและแพนิค
เป็นโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติที่คอยควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ รวมถึงมีความเครียดและความกดดันเข้ามาเป็นตัวกระตุ้น มักแสดงอาการได้หลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นแรง ใจสั่น เหงื่อออกมาก หายใจหอบ อาเจียน วิงเวียนแบบฉับพลัน ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไปจนถึงการหวาดกลัวสิ่งรอบตัวจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพจิตที่คุกคามชีวิตของคนวัยทำงานไม่มากก็น้อย
ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกอาชีพ และทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานอย่างมนุษย์ออฟฟิศทั้งหลาย หมั่นสังเกตตัวเองว่ามีปัญหาเหล่านี้หรือไม่หากพบสัญญาณเตือนเหล่านี้ สามารถติดต่อปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 กระทรวงสาธารณสุข
6 สัญญาณร่างกาย สะท้อนภาวะจิตใจย่ำแย่ รีบเยียวยาก่อนรุนแรง!
เครียดลงกระเพาะ เช็กอาการจุกลิ้นปี่- สาเหตุ แบบไหนควรรีบพบแพทย์