หมอเด็กชี้การร้องไห้ของเด็กเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่าเด็กอ่อนแอ
แพทย์ชี้การอยากให้เด็กหยุดร้องไห้ ไม่ได้เกิดจากการสั่งให้หยุดหรือออกกฎระเบียบ แต่เกิดจากการที่ผู้ใหญ่พูดคุยและรับฟังเด็กอย่างเข้าใจ
กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนโลกออนไลน์ หลังโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม ออกมาเปิดเผยกฎระเบียบในการสอบคัดเลือกนักเรียนชั้นอนุบาล โดยระบุว่าหากเด็กร้องไห้ระหว่างสอบจะถูกตัดคะแนน
ในขณะที่ เฟซบุ๊ก “Suriyadeo Tripathi” หรือ รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ได้โพสต์ประกาศของโรงเรียนดังกล่าว
อึ้ง สอบเข้าอนุบาล ร้องไห้หัก 3 คะแนน
ภัยเงียบ! ความเครียดของเด็ก ที่ผู้ใหญ่ไม่เคยรู้!
เรื่องข้อปฏิบัติในการทดสอบนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาระดับชั้นอนุบาล 1 อนุบาล 2 และอนุบาล 3 โดยมีอยู่ 1 หัวข้อ ที่หลายคนมีคำถามคาใจว่าเป็นหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องหรือไม่
โดยทางโรงเรียนได้ระบุว่า "หากนักเรียนที่เข้าทดสอบร้องไห้ ให้หักคะแนนฐานที่ร้องไห้ฐานละ 3 คะแนน ซึ่งหมอได้แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งส่งมา ท่านถามว่าอย่างนี้ได้ด้วยหรือ ทำไม่ได้แน่นอนครับ ไม่ควรทำ และไม่ควรมีใครเอาอย่างด้วย การทดสอบแบบ high stake test ที่มีได้ มีตก มีคะแนน หักคะแนน เพื่อนำไปประเมินผล เป็นกระบวนการเชิงระบบที่ทารุณเด็ก โดยไม่เข้าใจ เห็นใจจิตใจของเด็ก โปรดระลึกว่าเด็กทุกคนไม่ใช่ผ้าขาว ฉะนั้นเด็กๆ วัยนี้กำลังปรับตัว ปรับพื้นฐานอารมณ์ สังคม เด็กเลี้ยงง่าย เด็กเลี้ยงยาก เด็กอ่อนไหวง่าย เด็กพลังเหลือล้น เป็นธรรมชาติของเด็กวัยนี้ เขาไม่ผิด ที่จะถูกผู้ใหญ่มาสร้างกติกาเปรียบเทียบ การสอบวัดผลใดๆ ในช่วงปฐมวัย ผิดหลักจิตวิทยาพัฒนาการทั้งหมด ปฐมวัย UNESCO ให้นิยามตั้งแต่ครรภ์มารดา จนถึง 8 ขวบ แต่บ้านเราแรกเกิดถึง 6 ขวบ
ไส้กรอกทอด 1 ชิ้น เทียบเท่าน้ำมัน 3 ช้อนชา แพทย์เตือนกินมากอ้วน-เสี่ยงโรคหัวใจ
โดยหลักจิตวิทยาพัฒนาการ การประเมินพัฒนาการนั้น ในทางจิตวิทยาเขาประเมินท่ามกลาง เด็ก ที่กำลังเล่นเพลินๆ มีความสุขกายสุขใจ หากไม่พร้อมในการประเมิน นักจิตวิทยาก็จะหยุดไว้ก่อน แล้วค่อยนัดใหม่ ไม่มีการหักคะแนนใดๆ แต่สามารถเขียนบันทึก caution ได้ และสามารถมาเขียนเชิงพฤติกรรมได้เพื่อนำไปสู่การวางแผนพัฒนา การประมวลผลพัฒนาการ ทำในท่ามกลางความพร้อมของเด็กที่แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
ฉะนั้น การประเมินพัฒนาการที่หนังสือฉบับนี้ โรงเรียนแห่งนี้กำลังปฏิบัตินั้น ที่เรียกว่า ทดสอบ แล้ว บังคับการเข้าฐาน หักคะแนนเมื่อทำไม่ได้หรือร้องไห้ จึงไม่สามารถอ้างว่านี่คือการประเมินพัฒนาการเพื่อประโยชน์ของเด็ก (ละเมิดสิทธิเด็ก) ยิ่งเป็นการประเมินเพื่อรับสมัครเข้าเรียน ยิ่งสะท้อนว่า นี่แหละคือ High stake test ย้ำว่า การใช้ HighStakeTest (ระบบแพ้คัดออก) กับเด็กปฐมวัย จัดเป็นระบบทารุณกรรมเด็ก ผิดหลักการตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.เด็กปฐมวัย
ด้าน นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โฆษกกรมสุขภาพจิต มองว่าการร้องไห้ของเด็กเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่าเด็กอ่อนแอ ไม่ฉลาด ไม่ดี หรือไม่มีวินัย ซึ่งการร้องไห้เป็นวิธีการสื่อสารอย่างหนึ่ง เพราะเด็กอนุบาลมีข้อจำกัดในเรื่องการใช้ภาษา จะห้ามไม่ให้เด็กร้องไห้เลยคงเป็นเรื่องยาก
ขณะเดียวกันหากต้องทดสอบเด็ก บรรยากาศในการสอบควรเป็นมิตรและปล่อยให้เด็กได้แสดงความสามารถของตัวเองได้อย่างเป็นธรรมชาติ และควรปล่อยให้เด็กแสดงอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องการสอบในเด็กอนุบาล นพ.วรตม์ มองว่าเป็นเรื่องที่คุยกันมานานว่าไม่ควรมีการสอบในเด็กวัยนี้ เพราะยังเล็กเกินไปที่จะต้องมาทำแบบทดสอบในการสอบเข้าอนุบาล
แนะนำการรักษา" ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ " อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
และการอยากให้เด็กหยุดร้องไห้ ไม่ได้เกิดจากการสั่งให้หยุดหรือออกกฎระเบียบ แต่เกิดจากการที่ผู้ใหญ่พูดคุยและรับฟังเด็กอย่างเข้าใจ เปิดโอกาสให้เด็กได้ระบายความรู้สึกด้วยวิธีการที่ถูกต้องและได้ใช้เวลาควบคุมด้วยตัวเอง ส่วนผู้ใหญ่สามารถช่วยให้เด็กเข้าใจและจัดการอารมณ์ตัวเองได้ดีขึ้นด้วยท่าทีที่สงบและอ่อนโยน