แต่ในปัจจุบันปัญหาภาวะเครียดในกลุ่มเด็กและวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้บางครั้งเด็กไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต (Mental Disorders) หากปล่อยไว้หรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง พฤติกรรมเหล่านั้นอาจคงอยู่และมีผลต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ดังนั้นการได้รับวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
พ่อแม่มือใหม่จงฟัง!! 8 วิธีคลายปัญหาเมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน
ผู้ปกครองควรตระหนักว่าเด็กมีสภาวะอารมณ์ได้เหมือนผู้ใหญ่ แต่อาการแสดงอาจแตกต่างกัน พ่อแม่อาจแยกพฤติกรรมตามวัยกับอาการป่วยทางจิตในเด็กได้ยาก ทำให้เด็กไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ดังนั้นสังเกตการเรียนรู้สัญญาณเตือนจึงเป็นเรื่องสำคัญให้เราช่วยเหลือเด็กๆ ได้ทัน
รู้ทันสัญญาณเตือนในเด็ก :
- มีท่าทีหวาดกลัว ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย เบื่อหน่าย วิตกกังวล
- อารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- มีอาการเศร้าต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมโดยรอบ ไม่พูดคุยเหมือนเดิม
- ทำร้ายหรือพูดถึงการทำร้ายตัวเอง พูดเกี่ยวกับความตายหรือการฆ่าตัวตาย
- การเรียนเปลี่ยนแปลงไป ขาดเรียนไม่ยอมไปโรงเรียน
- ปัญหาสุขภาพกาย เช่น พฤติกรรมการกินเปลี่ยนแปลง เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด นอนไม่หลับ ฝันร้าย ปวดหัวหรือปวดท้องบ่อย ใจสั่น
ผู้ใหญ่สามารถช่วยรับมือได้อย่างไร
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคและสุขภาพจิต
- สังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ รับฟังด้วยความเข้าใจ สนใจ ไม่พูดแทรก
- ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิธีรับมือกับพฤติกรรม
- หาวิธีผ่อนคลาย และทำกิจกรรมร่วมกับบุตรหลานของคุณ
รู้มั้ย! บูลลี่ในโรงเรียน ผลกระทบทั้ง 2 ฝั่ง “คนถูกแกล้งกับคนชอบแกล้ง”