ลองโควิด (Long Covid) เรื่องไม่เล็ก ส่งผลต่อสมอง กระทบต่อจิตใจ
ลองโควิด (Long Covid) สามารถทำลายร่างกายและจิตใจของทุกคนได้ ร้ายไม่แพ้โควิด-19
ความร้ายแรงของโควิด-19 ไม่ได้มีเพียงอาการในตอนติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังมีอาการที่ตามมาหลังติดเชื้อที่เรียกว่า "ลองโควิด" (Long Covid) ที่ส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ โดย นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น และโฆษกกรมสุขภาพจิต ได้อธิบายถึงอาการ ความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากไวรัสร้าย และส่งผลต่อจิตใจให้เข้าใจแบบง่ายๆ ดังนี้
ไวรัสโควิด-19 ส่งผลโดยตรงต่อสมอง
ก่อนจะพูดถึง Long Covid นั้น ต้องพูดถึงช่วงติดโควิด-19 ก่อน
ด่วน! ศูนย์ฉีดบางซื่อ Walk in ฉีด "โมเดอร์นา" 8 - 10 มิ.ย.นี้
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาการต้องระวังจากภาวะ "ลองโควิด" (Long COVID)
เนื่องจากมีงานวิจัยออกมาว่า ผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ๆก็มีปัญหาด้านสุขภาพจิตขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเมื่อสืบสาเหตุพบว่า
1.โควิด-19 ส่งผลโดยตรงทำให้โรควิตกกังวลมากขึ้น โรคซึมเศร้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันข้อมูลความรู้ยังไม่เพียงพอที่จะเข้าใจกลไกต่างๆ ที่ส่งผลต่อสมอง
2. โควิด-19 ส่งผลทางอ้อมหลังเชื้อ เช่น รู้สึกผิดที่ติดโควิด-19 จนทำให้ไปทำงานไม่ได้ รู้สึกเครียดมากขึ้น ซึ่งความเครียดที่มาฉุกเฉินก็ทำให้ส่งผลทางอ้อมไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆ ได้
เพราะป่วยหนักเลยเป็นโรค PTSD ?
โรคนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน สำหรับเคสที่เคยเจอ PTSD เยอะมาก คือผู้ที่เผชิญเหตุการณ์สึนามิ และยังมีเคสที่เป็น PTSD จากการดูโทรทัศน์ ไม่ได้เจอเหตุการณ์ด้วยตนเอง แต่ได้ยินเค้าเล่ามาหรือไปเห็นสภาพความสียหายหลังเหตุการณ์แล้วเป็น PTSD ด้วย เพราะฉะนั้นมันขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่า แต่ละคนมีการตอบสนองต่อเหตุการณ์นั้นยังไง บางคนป่วยเป็นโควิด-19 แต่ไม่เยอะมาก ระหว่างนั้นมีความกลัวตาย ไม่มีใครซับพอร์ตทางจิตใจก็มีโอกาสเสี่ยงเป็น PTSD ในขณะที่บางคนป่วยหนักจริงๆ แต่ก็ไม่ป่วยเป็น PTSD ก็เยอะเหมือนกัน
สำหรับโรค PTSD คือ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือเกิดขึ้นกับผู้ที่ประสบพบเหตุร้ายด้วยตัวเอง หรือเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์และเห็นเหตุการณ์สะเทือนใจนั้นโดยตรง หรือเป็นญาติใกล้ชิดกับผู้ประสบเหตุและได้รับรู้รายละเอียดข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนเกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจากเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ไทยเพิ่ม “ฝีดาษวานร” เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังลำดับที่ 56
ติดโควิด-19 มีอีกเรื่องน่าห่วง เสี่ยงป่วย "เบาหวาน" ตามมา
ผู้ป่วยโควิด-19 อาการน้อยก็สามารถเป็น PTSD ได้?
ถึงแม้จะป่วยธรรมดา อยู่บ้านก็สามารถเป็นได้ ซึ่งปัจจัยนึงของการติดโควิด-19 ทำให้ เกิดปัญหาด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เชื่อว่าส่วนนึงมาจากการที่ต้องถูกเก็บเนื้อเก็บตัวอยู่แต่ห้องที่ต้องกักตัวเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีโอกาสทำให้คิดฟุ้งซานมากมาย หรือที่เรียกว่าภาวะการขาดตัวกระตุ้น เมื่อเกิดภาวะนี้นานๆ ทำให้เกิดสภาวะจิตอย่างรุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าวจึงต้องมีการติดต่อสื่อสารกับคนข้างนอก อย่าเก็บตัวอยู่ในห้องเฉยๆ โดยที่ไม่ได้ขยับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
โรคซึมเศร้า วิตกกังวล PTSD สามารถพัฒนาความรุนแรงไปได้ถึงระดับไหน?
ปัญหาสุขภาพจิตบางคนสามารถหายได้เอง แต่มีส่วนนึงจะมีอาการต่อเนื่องระยะยาวทำให้สูญเสียฟังก์ชั่นต่างๆ ไป เช่น หายโควิด-19 แล้วแต่ปัญหาสุขภาพจิตยังอยู่ไม่ได้รับการแก้ไข ก็ทำให้ทำงานไม่ได้ กลับไปเรียนไม่ได้ ในขณะที่บางคนสูญเสียความสัมพันธ์ จากการทะเลาะกับคนในครอบครัว คู่รัก เพื่อน เพราะว่าปัญหาสุขภาพจิตมันยังมีอยู่ เมื่อไม่ได้ดูแลตัวเองเลยปัญหาพวกนี้มันก็แย่ลง ซึ่งเป็นผลกระทบจากการที่ไม่รักษา สำหรับผลกระทบที่รุนแรงที่สุดคือการทำร้ายตัวเอง บางคนอาจทำร้ายตัวเองจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
จะสังเกตคนรอบข้างเราอย่างไรว่าเริ่มมีอาการทางจิตใจ?
ต้องสังเกตุดูว่าปกติคนรอบข้างเราเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่าปกติเขาเป็นยังไง เราก็จะเปรียบเทียบไม่ได้ โดยต้องสังเกตดูดังนี้
- อารมณ์ สังเกตว่าช่วงนี้ดูเปลี่ยนแปลงไป เก็บเนื้อเก็บตัวมากขึ้น วิตกกังวลหรือมีความกลัวมากขึ้นหรือเปล่า
- ความคิด ว่าคนรอบข้างเราก่อนที่เขาจะป่วยโควิด เขามีความคิดประมาณเป็นอย่างไร มีสมาธิขนาดไหน เมื่อมีปัญหาสามารถจัดการได้ในระดับไหน พอหลังหายป่วยจากโควิด-19 แล้ว เขามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือเปล่า
- พฤติกรรม หากมีพฤติกรรมที่ต่างไปจากเดิมเช่น ไม่เคยใช้สารเสพติด ไม่เคยกินเหล้า ไม่เคยสูบบุหรี่ แต่พอมีความเครียดมากขึ้น ทำให้หันมาลองใช้ของเหล่านี้ หรือใช้ในปริมาณที่มากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ทำร้ายข้าวของบ้านตัวเอง ทำร้ายคนอื่น
ซึ่งหากเรารู้ว่าคนรอบข้างแต่ก่อนเขาเป็นอย่างไร ก็จะสามารถเปรียบเทียบและประเมินได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจนถึงระดับที่น่ากังวลแล้วหรือยัง
"หมอยง" เผย 10 ข้อการฉีดวัคซีน ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกัน
"ผมร่วงฉับพลัน" อาการหลังหายโควิด-19 แนะวิธีฟื้นฟู - รักษา
อาการแบบไหนควรพบจิตแพทย์
อาการสำคัญๆ คือ มีความเบื่อหน่าย ซึมเศร้าท้อแท้มากผิดปกติ รู้สึกอ่อนเพลีย เชื่องช้า อย่างรุนแรง มีความรู้สึกไร้ค่า รู้สึกสิ้นหวัง มีความวิตกกังวลในระดับที่ควบคุมไม่ได้ มีความกลัวอย่างรุนแรงที่ควบคุมไม่ได้ มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง อยากจบชีวิตของตัวเอง มีการวางแผนในการฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายผู้อื่น รวมถึงการที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างรุนแรง ตัวเองอาจจะสังเกตได้หรือคนอื่นสังเกตได้ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณที่บอกว่าจะต้องได้รับความช่วยเหลือ
ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากโควิด-19 จะมีอาการยาวนานเหมือนป่วยจากสาเหตุอื่นไหม?
ตอนนี้ยังไม่งานวิจัยที่ยืนยันชัดเจนถึงกรณีนี้ เนื่องจากโควิด-19 เพิ่งระบาดได้เพียง 2-3 ปี ซึ่งงานงานวิจัยส่วนมากก็อยู่ในระดับ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่งเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าในอีก 3-5 ปี ผลกระทบด้านสุขภาพจิตหรืออาการลองโควิดมันจะหายไปหรือไม่
แต่เชื่อว่าลองโควิดมันเกิดจากผลกระทบ รีแอคชั่นของร่างกายที่มีต่อระบบต่างๆ ซึ่งมันจะค่อยๆ ดีขึ้นได้ในอนาคต แต่ต้องมีการจัดให้ทางกายมันดีขึ้นด้วย ให้การอักเสบต่างๆ ลดลง มีการฝึกในการใช้งานอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่ระบบหัวใจ ระบบหายใจ ระบบสมองการจัดการเรื่องอารมณ์ต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การผ่อนคลาย การฝึกใช้ความคิดต่างๆ จะทำให้ร่างกายที่มันสึกหรอค่อยๆ ฟื้นฟูกลับมาได้
หลังโควิด-19 ระบาด ประเทศไทยมีรายงานการป่วยทางสุขภาพจิตเยอะขึ้นหรือไม่?
ตอนนี้ยังไม่สามารถตอบได้ เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ยังไม่จบ อีกทั้งยังวัดเทียบตัวเลขในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลไม่ได้ เพราะมันมีความแตกต่างที่คนไข้ส่วนนึง ไม่ได้เดินทางมาโรงพยาบาลเพราะมีความกังวลเรื่องการติดเชื้อและปัญหาต่างๆ อยู่ ทำให้ตัวเลขการมารักษาในโรงพยาบาลตอนนี้มันยังเท่าเดิม
นอกจากนี้ยังมีการติดตามด้วยระบบที่เรียกว่า วัดใจ ( www.วัดใจ.com ) เป็นเว็บไซต์นี้จะมีการให้ประชาชนประเมินตัวเอง 4 ด้านหลักๆ 1. ความเครียด 2.ซึมเศร้า 3.ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย 4.ภาวะหมดไฟ ซึ่ง 4 ด้านนี้เป็นสิ่งที่กรมสุขภาพจิตตามมาตลอด คนที่มาทำแบบประเมินทั้งหมด ณ วันนี้เกือบสามล้านคน ตรงนี้จึงบอกได้ว่าคนมีความเครียด ความเศร้า ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ความเสี่ยงในภาวะหมดไฟสูงมากขึ้นจริงๆ ในช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนักๆ เช่น ระลอกเดลต้า เมื่อตัวเลขทุกอย่างที่กล่าวมา ทำให้คนเกิดปัญหาสุขภาพจิตสูงขึ้นตามด้วย แต่ถ้าเกิดช่วงที่ผ่อนคลายลงไปคนติดเชื้อน้อยๆ หลักสิบคน ความเครียดทุกอย่าง ความเสี่ยงทุกอย่างก็จะลดลงตามมา แต่ก็ยังไม่อยู่ในภาวะปกติ 100% แต่ในช่วงที่มีการระบาดหนักๆ นั้น อาจจะสูงได้มากกว่าช่วงปกติได้ตั้งแต่สามเท่าไปจนถึงสิบเท่า
อาการลองโควิด (Long Covid) มีวิธีรักษาอย่างไร? แล้วรักษาหายหรือไม่?
LONG COVID มีผลแค่ไหนกับโรคสมองและระบบประสาท
การดูแลจิตใจในช่วงโควิด-19 ระบาด
อยากให้ทุกคนมีความหวัง เมื่อมีความหวัง ความรู้สึกท้อแท้ ความรู้สึกสิ้นหวัง มันก็จะลดลงไปด้วย และอย่าลืมส่งความหวังให้กับตัวเองให้กับคนรอบข้างด้วย แน่นอนว่าการเจอโควิด-19 ไม่ใช่เรื่องดี แต่อยากให้กลับไปมองศักยภาพของตัวเราว่าเราใช้ศักยภาพของเราอะไรในการฝ่าฟันมา ตอนแรกเราคิดว่าเราไม่รอดแน่ๆ เลย วิกฤตครั้งนี้ แต่ทุกวันนี้เรายังรอดมาได้ ด้วยพลังอะไรบางอย่างที่เราหยิบมาใช้หรือมันเกิดขึ้นใหม่จากตัวเราเอง เมื่อเราเห็นศักยภาพของตัวเราเอง เราเห็นศักยภาพของคนใกล้ชิด เมื่อฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปได้ พอเราเจอปัญหาสุขภาพจิตเราก็จะฝ่าฟันไปได้ด้วยเช่นเดียวกัน
ขณะที่ครอบครัวสามารถช่วยเหลือกันได้ พยายามสังเกตกันและกัน เริ่มสังเกตุตัวเองก่อน สังเกตตัวเองว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปหรือไม่ จากนั้นสังเกตคนใกล้ชิด คนในครอบครัวเพื่อนร่วมงาน คนในชุมชนว่ามีความเปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้าง ถ้าสังเกตเห็นแล้ว อย่าลืมเข้าไปพูดคุยกับเขาว่าอะไรเป็นสาเหตุ ถ้าเกิดว่าเราเห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนอย่าลืมส่งต่อไปหาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ คุณหมอที่อยูโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วไป เพื่อให้ช่วยเข้าถึงการรักษาอย่างรวดเร็ว
- "นอกจากเรื่องความหวัง มีพลังใจแล้วก็อยากให้ทุกคนรับฟังกันมากขึ้น ผมคิดว่าเป็นช่วงที่พอหลังจากช่วงที่จบวิกฤตโควิด พูดคุยกันมากขึ้นใส่ใจดูแลกันมากขึ้น แม้โควิด-19 จะจบแล้วแต่อยากให้สิ่งต่างๆ ที่ดี การดูแลจิตใจซึ่งกันและกันยังคงอยู่ต่อ" นพ.วรตม์ กล่าว
รู้ชัด "ลองโควิด (Long COVID)" อันตรายไหม ส่งผลระยะยาวอย่างไรต่อร่างกาย