ฉีดวัคซีนโควิด-19 บริจาคโลหิตได้ เช็กเงื่อนไข - การเตรียมตัว
วันผู้บริจาคโลหิตโลก ชวนให้ทุกคนไปบริจาคเลือด โดยผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถบริจาคได้
“โลหิต” หรือ “เลือด” เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญในการใช้รักษาผู้ป่วย ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีใดมาทดแทนเลือดได้ จึงจำเป็นที่ต้องรับบริจาคโลหิตจากคน เพื่อให้ได้มาซึ่งโลหิตในการนำไปใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วยที่ต้องการเลือดทุกวินาที แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาด้วยการรับโลหิตต่อเนื่องตลอดชีวิตกว่าร้อยละ 23 และอีกร้อยละ 77 สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุเพื่อใช้ในการผ่าตัด ซึ่งมักจะเป็นการใช้โลหิตในปริมาณมากและเร่งด่วน รวมถึงโรคนานาชนิด
8 ข้อดีเมื่อ "บริจาคโลหิต" มากกว่าการให้ผู้อื่นคือสุขภาพดีของตนเอง
สธ.จ่อยกเลิกตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิในที่ต่าง ๆ เผยไม่มีผลต่อการคุมโควิด-19
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ซึ่งผู้ที่ฉีดวัคซีนหากต้องการบริจาคเลือด สามารถทำได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- เว้นระยะห่าง 7 วันหลังฉีดวัคซีน จึงจะบริจาคโลหิตได้
- หากมีอาการข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีน ควรให้อาการหายดี และเว้นระยะ 14 วัน จึงไปบริจาคโลหิต โดยต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อประเมินสภาพร่างกายก่อนบริจาคโลหิต
- ไม่จำเป็นต้องรับวัคซีนครบ 2 เข็ม ก็สามารถบริจาคโลหิตได้ โดยต้องเว้นระยะห่างหลังจากการรับวัคซีนเข็มแรก 7 วัน
- วัคซีนโควิด-19 ไม่มีผลกับการสร้างภูมิต้านทานในผู้ป่วยที่ได้รับโลหิต เนื่องจากภูมิคุ้มกันในโลหิตที่ได้รับมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณโลหิตทั้งหมดในร่างกายผู้ป่วย
โควิดวันนี้ (14มิ.ย.65) ยอดติดเชื้อต่ำกว่า 2 พันราย เป็นวันที่ 2 เสียชีวิตหลักสิบ
เรื่องต้องรู้! เตือน นำกัญชาผสมอาหารกิน หากควบคุมไม่ดีส่งผลถึงชีวิต
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เริ่มส่งผลกระทบกับการบริจาคโลหิตภายในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต ทำให้ได้รับโลหิตลดลงจากเป้าหมายที่ต้องได้รับโลหิตวันละ 2,000-2,500 ยูนิต อีกทั้งหลายหน่วยงานที่ได้นัดหมายล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมบริจาคโลหิตแจ้งยกเลิกจำนวนมาก เนื่องจากมีการเฝ้าระวังการเข้าพื้นที่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้จำนวนการบริจาคโลหิตลดลงต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ได้รับโลหิตประมาณ วันละ 1,000 ยูนิต อยู่ในภาวะโลหิตสำรองไม่เพียงพอจ่ายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศแล้ว หากสถานการณ์เป็นเช่นนี้ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้โลหิตในการรักษาอย่างยิ่ง
จึงมีความจำเป็นที่ต้องวอนผู้ที่มีสุขภาพดี หรือผู้ครบกำหนดบริจาคโลหิต 3 เดือนแล้ว บริจาคโลหิตเร่งด่วน เพื่อช่วยผู้ป่วยทั่วประเทศ บริจาคโลหิตได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ศูนย์รับบริจาคโลหิตและพลาสมา สถานีกาชาดที่ 11 วิเศษนิยม บางแค ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ และงานบริการโลหิต รวม 13 แห่ง ได้แก่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ จังหวัดลพบุรี ชลบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช (ทุ่งสง) สงขลา ภูเก็ต และงานบริการโลหิต สถานีกาชาดหัวหินเฉลิมพระเกียรติ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และสาขาบริการโลหิตโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วประเทศ
สำหรับปริมาณเลือดในคลังข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2565 พบว่า
กรุ๊ปเลือด A
- ความต้องการโลหิต 23,600 ยูนิต/เดือน
- โลหิตที่ได้รับ 10.3%
กรุ๊ปเลือด B
- ความต้องการโลหิต 11,700 ยูนิต/เดือน
- โลหิตที่ได้รับ 22%
กรุ๊ปเลือด O
- ความต้องการโลหิต 11,800 ยูนิต/เดือน
- ยังคงต้องการ 37.5%
กรุ๊ปเลือด AB
- ความต้องการโลหิต 5,900 ยูนิต/เดือน
- โลหิตที่ได้รับ 14%
โดยเลือดเหล่านี้จะถูกเก็บในห้องเก็บเลือดอุณภูมิ 1-6 องศา ส่วนเกร็ดเลือด เก็บที่อุณหภูมิ 20-24 องศาเซลเซียส เขย่าตลอดเวลา เพื่อรอเวลาคนมารับบริจาค
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
รอดไม่รอด? ส่องสถานการณ์ประเทศที่ยกเลิกสวมหน้ากากอนามัย
พบ “ไมโครพลาสติก” ใน “หิมะ” ที่ตกในทวีปแอนตาร์กติกา