คุณแม่ตั้งครรภ์ฉีดวัคซีน mRNA สร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ให้บุตรได้
งานวิจัย CDC เผย คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ปลอดภัย และสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กในท้องได้ดี
การสึกษาวิจัยฉบับใหม่โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) พบว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ระหว่างตั้งครรภ์ สามารถสร้างแอนติบอดีในการป้องกันโควิด-19 ให้กับทารกหลังคลอดได้เช่นกัน
โดยทารกที่เกิดจากมารดาซึ่งได้รับวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นาหรือไฟเซอร์ครบ 2 โดสระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงในการติดโควิด-19 แล้วต้องเข้าโรงพยาบาลลดลงประมาณ 60% ในช่วงอายุ 6 เดือนแรก
ผลวิจัยในลิงพบ วัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นสูตรต้าน “โอมิครอน” อาจไม่จำเป็น
ข้อมูลจาก CDC หน้ากากอนามัยแต่ละชนิด ลดโอกาสติดโควิด-19 ได้เท่าไร
รวมผลวิจัย ทำไมต้องมีทางเลือกฉีดวัคซีนโควิด-19 แบบฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
ผลการศึกษาเป็นหนึ่งในหลักฐานที่ชัดเจนว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ระหว่างตั้งครรภ์อาจไม่เพียงแต่ปกป้องมารดาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงลูกในครรภ์ด้วย
ดร.ดานา มีนีย์-เดลแมน หัวหน้าแผนกติดตามผลการวิจัยและป้องกันโรคในทารกของ CDC หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “สิ่งสำคัญที่สุดคือ การฉีดวัคซีนให้มารดาเป็นวิธีที่สำคัญมากในการช่วยปกป้องเด็กทารกเหล่านี้ ข่าววันนี้เป็นเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของเด็กเล็กที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลในช่วงที่ผ่านมา”
โควิดวันนี้ แตะหลักหมื่นต่อเนื่อง ติดเชื้อทั่วประเทศ 16,462 ราย ยอด ATK ทะลุหมื่น
เธอเสริมว่า “สำหรับโรคอื่น ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคระหว่างตั้งครรภ์ให้ความคุ้มครองสำหรับทารกในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกมีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยรุนแรง และเป็นช่วงที่ยังไม่ถึงเกณฑ์การฉีดวัคซีน”
นักวิจัยระบุว่า แอนติบอดีต่อไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มว่าจะสามารถถ่ายโอนผ่านรกจากแม่ไปยังทารกได้ในระหว่างตั้งครรภ์ และอาจให้ความคุ้มครองแก่ทารกได้
“เมื่อผู้คนได้รับวัคซีน mRNA ระหว่างตั้งครรภ์ ร่างกายของพวกเขาจะสร้างแอนติบอดีเพื่อป้องกันโควิด-19 และพบแอนติบอดีเหล่านี้ในเลือดจากสายสะดือ ซึ่งบ่งชี้ว่า แอนติบอดีได้ถ่ายโอนจากแม่ที่ตั้งครรภ์ไปยังทารก” มีนีย์-เดลมาน กล่าว
การศึกษานี้ใช้วิธีรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับทารกที่มีอายุน้อยกว่า 6 เดือนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโรงพยาบาลเด็ก 20 แห่งใน 17 รัฐ ระหว่างเดือน ก.ค. 2021 – ม.ค. 2022 มีทั้งสิ้น 379 คน โดย 176 คนในนี้ติดเชื้อโควิด-19 และ 203 คนไม่ติดโควิด-19 แต่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเหตุผลอื่น
มารดาของทารกจะถูกถามเกี่ยวกับประวัติการฉีดวัคซีนโควิด-19 รวมถึงจำนวนโดสที่ฉีด และฉีดในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่
รายงานพบว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ระหว่างตั้งครรภ์ช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะติดโควิด-19 จนต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ 61% ประสิทธิภาพหากฉีดวัคซีนในช่วงอายุครรภ์น้อยอยู่ที่ 32% และถ้าฉีดในช่วงอายุครรภ์มากจะอยู่ที่ 80%
“ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ เราพบว่าในบรรดาทารกที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในไอซียู 88% เกิดจากมารดาที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนก่อนหรือระหว่างตั้งครรภ์ และมีทารก 1 รายที่เสียชีวิตในระหว่างการศึกษา โดยเป็นทารกที่แม่ไม่ได้ฉีดวัคซีน” มีนีย์-เดลมาน กล่าว
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า 10.3% ของมารดาของทารกที่ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่เนิ่น ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ และ 5.7% ได้รับการฉีดวัคซีนในช่วงตั้งครรภ์ระยะปลาย ส่วนในกลุ่มทารกที่ไม่ติดโควิด-19 นั้น 15.9% มารดาได้รับการฉีดวัคซีนในการตั้งครรภ์ระยะแรก และ 21.6% ฉีดในการตั้งครรภ์ระยะปลาย
มีนนีย์-เดลมาน เสริมว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์ไม่มีความเสี่ยงของการแท้งบุตร และไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะมีบุตรยาก
"ไบโพลาร์ในเด็ก" แนะผู้ปกครองสังเกตพฤติกรรมก่อนสายเกินแก้
ภาพจาก AFP