สธ.พบผู้ป่วย “ฝีดาษลิง” คนที่ 3 ใน จ.ภูเก็ต เป็นชายชาวเยอรมัน
สธ.พบผู้ป่วย “ฝีดาษลิง” คนที่ 3 ใน จ.ภูเก็ต เป็นชายชาวเยอรมัน ตรวจสอบเบื้องต้นพบติดเชื้อจากต่างประเทศ เร่งติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดเพิ่มเติม
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงานยืนยันพบผู้ป่วยฝีดาษลิงคนที่ 3 ที่จังหวัดภูเก็ต เป็นชายอายุ 25 ปี ชาวเยอรมัน โดยเดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เพื่อมาท่องเที่ยว ขณะนี้อยู่ระหว่างรอสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ส่งผลการสอบสวนโรคเข้ามา
เบื้องต้นจากการตรวจสอบพบว่า ผู้ป่วยคนนี้ติดเชื้อจากต่างประเทศ ก่อนจะมีอาการมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต มีตุ่มขึ้นที่อวัยวะเพศ และตามร่างกาย
เปิดแนวทางการรักษา "ฝีดาษลิง" ผู้ป่วยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรครุนแรง
“หมอมนูญ”ชี้โอมิครอน BA.5 อยู่ในช่วงขาขึ้น ฝีดาษลิงจะระบาดในไทยแน่นอน
และขณะนี้อยู่ระหว่างติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดเพิ่มเติม
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีระบบคัดกรองที่ท่าอากาศยาน แต่โรคนี้มีระยะฟักตัวได้นาน ถึง 3 สัปดาห์ทำให้ช่วงเข้ามาในประเทศไทยยังไม่มีอาการ ดังนั้น หากเข้ามาแล้วมีอาการเข้าได้กับโรคขอให้รีบมาพบแพทย์ ส่วนวัคซีนป้องกันฝีดาษ องค์การเภสัชกรรมได้ประสานติดต่อเพื่อนำเข้ามาภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ประชุมหารือกำหนดกลุ่มเสี่ยงที่จะรับวัคซีนเบื้องต้น 2 กลุ่ม คือ 1.) กลุ่ม Pre Exposure หรือก่อนการสัมผัสเชื้อ จะเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด หรือเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และ 2.) กลุ่ม Post Exposure หรือผู้สัมผัสผู้ป่วยไม่เกิน 14 วันหลังสัมผัสเชื้อครั้งสุดท้าย เชื่อว่าจะป้องกันได้ โดยคณะทำงานจะพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป
นายแพทย์โอภาส กล่าวย้ำอีกว่า โรคฝีดาษลิงไม่ใช่โรคที่มีอาการรุนแรง ติดต่อไม่ง่าย อย่างผู้ป่วย 2 คนแรก พบว่า จากการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดยังไม่พบมีติดเชื้อเพิ่ม แต่ยังคงต้องตามตามจนครบ 21 วัน
ด้าน นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า กรมการแพทย์จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติวินิจฉัย การดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อ กรณีโรคฝีดาษวานร ฉบับวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 โดยเสนอต่อที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (อีโอซี) กรณีโรคฝีดาษวานร เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 และได้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและประกาศแนวทางอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเบื้องต้นถ้ามีผู้ป่วยสงสัยให้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อการตรวจวินิจฉัยและควบคุมโรค ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันว่าสามารถตรวจและรายงานผลได้ภายใน 24 ชั่วโมง และย้ำว่าโรคนี้หายเองได้ ไม่จำเป็นต้องรับยาต้านไวรัสทุกราย
สาเหตุ Covid Rebound ยังไม่แน่ชัด ป่วยไม่ได้รับยาต้านไวรัสก็เป็นได้
คลายทุกข้อสงสัย “ฝีดาษลิง” แพร่เชื้อได้เหมือนโควิดไหม-รักษาได้ที่ไหน