ผลวิจัยพบ “ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง” มีภาวะซึมเศร้าร่วมมีอัตรารอดชีวิต 25%
ผลวิจัยพบ “ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง” ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้ามากขึ้น และมีอัตราการรอดชีวิตเพียง 25% ขณะผู้ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน มีอัตราการรอด 85%
“ไต” เป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายเช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ เช่น หัวใจ ตับ ปอด หรือ สมอง เป็นต้น เพราะอวัยวะต่าง ๆ เหล่านี้ต่างทำหน้าที่เฉพาะส่วน แต่การประสานงานกันเป็นอย่างดี จึงทำให้ร่างกายของเราทำงานได้อย่างปกติ แต่หากอวัยวะหนึ่งเสีย หรือถูกทำลายจะมีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ได้
ประกอบกับปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคไตมากขึ้น โดยเฉพาะ “ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง” ที่พบภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยบ่อยมากขึ้น และพบอัตราการรอดชีวิตจากภาวะดังกล่าวเพียง 25%
เช็กเลย! ปัจจัยเสี่ยงโรคไต และ 11 วิธีป้องกัน ไตแข็งแรง
ผ่าตัดเส้นฟอกไต ฟื้นคืนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
ภาวะซึมเศร้า ภัยคุกคามผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง
ปัจจุบันผู้ป่วย “โรคไตวายเรื้อรัง” ในประเทศไทยที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 มีจำนวน 129,124 คน และในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยใหม่มากถึง 15,462 คน
แต่ “ภาวะซึมเศร้า” กลับเป็นความผิดปกติทางจิตเวชที่กำลังคุกคามผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด โดยพบในผู้ป่วยได้ตั้งแต่ 20-25%
และจากการติดตามในปี 2562-2563 พบว่าผู้ป่วยฟอกไตที่ไม่มีภาวะซึมเศร้ากลับมีอัตราการรอดชีวิต 85% มากกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิตเพียง 25% นอกจากนี้ในผู้สูงอายุที่ล้างไตทางช่องท้อง ยังพบผู้มีภาวะซึมเศร้ามากถึง 31%
‘มณีแดง’นวัตกรรมต้านชราฝีมือคนไทย ความหวังใหม่ครั้งแรกของโลก
เบาหวานลงไต แนะนำอาหารจำกัดโปรตีนชะลอการเสื่อม
ผู้ป่วยฟอกไตทางหลอดเลือดมีภาวะซึมเศร้า 34.2%
สอดคล้องกับ งานวิจัยของ ขจรศักดิ์ วรรณทอง กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลสกลนคร ที่ศึกษาเรื่อง “ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด คลินิกไตเทียม โรงพยาบาลสกลนคร” พบว่า ในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปีที่ต้องรับการฟอกไต นอนโรงพยาบาลบ่อย ๆ จำนวน 76 คน มีภาวะซึมเศร้า 34.2% โดยเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อาจเนื่องมาจากความแตกต่างของฮอร์โมน เพราะการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง เช่น ในช่วงมีประจำเดือน การคลอด และวัยหมดประจำเดือน มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า
ขณะเดียวกันก็อาจเกิดมาจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น การถูกทำร้ายร่างกายและทางเพศ อาชญากรรม ความรุนแรง การเจ็บป่วยและเสียชีวิตของบุตร และปัญหาความเท่าเทียมทางเพศ ล้วนมีผลในเพศหญิงทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า
นอกจากนี้ยังมีการศึกษา พบอีกว่า สาเหตุที่ผู้ป่วยเพศหญิงมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าเพศชาย ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
- สังคมไทยคุ้นชินกับการที่ผู้ชายดื่มเหล้าและอาจมีเพศสัมพันธ์นอกสมรส ทำให้ผู้หญิงหลายคนต้องจำยอมอดทนต่อความเครียดเรื้อรังในพฤติกรรมของสามีที่กินเหล้าและมีผู้หญิงอื่น
- ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่มีเวลาหยุด
- ปัญหาพฤติกรรมของลูก เช่น การใช้สารเสพติด การถูกคาดหวังจากสังคมในการอบรม เลี้ยงดูบุตรทำให้มีความเครียดสูง
- การเผชิญปัญหาที่มักตัดใจไม่ได้ จมอยู่กับความคิด ความเครียดนาน
- ผู้หญิงต้องอยู่ในบ้าน ขาดโอกาสในการปฏิสัมพันธ์กับผู้คน
ส่วนปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าไม่ดีขึ้น ได้แก่ สุขภาพร่างกายเดิม (การมีโรคหัวใจร่วม ระยะเวลาที่รักษาด้วยการฟอกไตผ่านหน้าท้อง จำนวนครั้งที่จำนวนครั้งที่ต้องนอนโรงพยาบาลใน 1 ปี การมีปัญหาควบคุมการขับถ่าย) ความเครียดในชีวิต และการขาดแหล่งสนับสนุนทางสังคม
สรุปได้ว่า ผู้ป่วยฟอกไตทางหลอดเลือด มีภาวะซึมเศร้า 34.2% โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เพศหญิง สุขภาพร่างกายเดิม และภาวะพึ่งพิง ภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด ผู้ดูแลจึงควรให้ความสนใจ สังเกตอารมณ์และพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เพื่อนำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
อ่านเพิ่มเติม : ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือด คลินิกไตเทียม