“หมอมนูญ” เผย PM2.5 อาจก่อให้เป็นมะเร็งปอดได้
นพ.มนูญ เผยฝุ่น PM 2.5 มีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ แต่มีเปอร์เซ็นน้อยมาก หรืออาจจะต้องใช้เวลานานกว่า 20 ปี
เพจเฟซบุ๊ก พ.ต.ต.รุ่งคุณ จันทโชติ สารวัตรสอบสวน กองกำกับการ3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เล่าเรื่องราวการป่วยเป็นมะเร็งเพื่อเป็นประสบการณ์ โดยระบุว่าเป็นตำรวจ ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย เป็นเรื่องธรรมดา แต่เจ้าตัวก็ชอบออกกำลังกายประจำ กินเหล้า สังสรรค์บ้าง ตามประสาวัยรุ่น แต่ไม่สูบบุหรี่นะ ที่บ้านก็ไม่มีใครสูบ แต่สุดท้ายก็พบว่าป่วยเป็นมะเร็งปอด
พบสาเหตุแล้ว! ทำไมมลพิษทางอากาศทำให้คนไม่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอด?
โรค "มะเร็งปอด" มัจจุราชเงียบ ไม่สูบบุหรี่ก็เป็นได้
จาก 2 กรณีทั้งคุณหมอ และตำรวจ ทำให้มีการพูดถึงสาเหตุของโรคมะเร็งปอดกันอย่างมาก โดยตั้งข้อสังเกตว่าอีกปัจจัยที่เสริมให้เกิดอาการป่วยก็คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพราะมีโมเลกุลที่เล็กมาก จึงเป็นการยากที่จะป้องกันไม่ให้เข้าหลอดลมจนไปสู่ปอด
ประเด็นนี้ ทีมข่าวพีพีทีวี ได้สอบถามนายแพทย์มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงที่ ฝุ่น PM 2.5 หรือ มลพิษทางอากาศ จะส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอด
นายแพทย์มนูญ บอกว่า จริง ๆ แล้วฝุ่น PM 2.5 หรือมลพิษ มีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ แต่มีเปอร์เซ็นน้อยมาก หรืออาจจะต้องใช้เวลานานกว่า 20 ปี และส่วนใหญ่ตั้งแต่รักษาผู้ป่วยมาก็ยังไม่เคยระบุว่า คนไข้มะเร็งปอดเกิดจากฝุ่น PM 2.5 หรือมลพิษทางอากาศ
ขณะที่ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศทั่วประเทศไทย วันนี้เมื่อเวลาประมาณ 15.00 น. อยู่ในระดับคุณภาพอากาศดีมาก ถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยพื้นที่ 5 อันดับแรก ที่มีค่า PM 2.5 มากที่สุด คือ
1. ริมถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 เขตหนองแขม ค่า PM 2.5 = 48
2. ริมถนนรัชดาภิเษก – ท่าพระ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ค่าฝุ่น PM 2.5 = 41
3. เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ , ริมถนนพระรามที่ 4 หน้าสามย่านมิตรทาวน์ เขตปทุมวัน ค่าฝุ่น PM 2.5 = 39
4. ริมถนนพหลโยธิน เขตบางเขน กรุงเทพฯ ค่าฝุ่น PM 2.5 = 38
5. ริมถนนดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ ค่า PM 2.5 = 36