“หลับใน” ภาวะวูบเฉียบพลัน ปัจจัยเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
ใกล้สิ้นสุดเทศกาลปีใหม่ที่หลายคนเตรียมเดินทางกลับจากหยุดพักผ่อนเพื่อเริ่มทำงานในช่วงหลังเทศกาล ซึ่งอาจจะนอนไม่พอจากการเที่ยวและสังสรรค์ ส่งผลให้ต้องฝืนขับรถเป็นระยะทางไกล เสี่ยงต่อ “ภาวะหลับใน” ที่เราจะเห็นข่าวว่าเป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในช่วงเทศกาลเลยทีเดียว ร่วมรู้ทันและป้องกัน ภาวะหลับใน เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อตนเองและเพื่อร่วมท้องถนนกันค่ะ
ภาวะหลับในหรือการหลับระยะสั้น ๆ เกิดจากความง่วงสามารถจู่โจมแบบกะทันหัน (Sleep Attack) ทำให้หลับค้างกลางอากาศหรือเกิดภาวะหลับในได้ ซึ่งเป็นผลของการนอนที่ไม่มีคุณภาพ เป็นปรากฏการณ์การสับสนระหว่างการหลับและการตื่น โดยการหลับเข้ามาแทรกการตื่นอย่างเฉียบพลันโดยไม่รู้ตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1 – 2 วินาทีเท่านั้น
สาเหตุภาวะหลับใน
- อดนอน
การนอนน้อยหรือนอนไม่พอ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลับใน เพราะสมองส่วนธาลามัสอาจหยุดทำงานสั้น ๆ ชั่วคราว ส่งผลให้เกิดความง่วงกะทันหัน งีบหลับไม่รู้ตัว
7 วันอันตรายปีใหม่ วันที่สามดับเพิ่มอีก 59 ราย สาเหตุขับรถเร็วสูงสุด
- นอนไม่เป็นเวลา
- กรรมพันธุ์
ส่งผลให้บางคนอยู่ในกลุ่มนอนยาว (Long Sleepers) มีความต้องการนอนนานถึง 10 ชั่วโมงจึงจะสดชื่น หรือบางคนอยู่ในกลุ่มนอนระยะสั้นเพียง 4 – 5 ชั่วโมงก็ตื่นมาได้อย่างสดชื่น แต่พบได้ในจำนวนน้อยมาก ดังนั้นหากไม่มั่นใจควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านการนอน
สัญญาณเตือนง่วงมากผิดปกติ และไม่ควรขับรถโดยเด็ดขาด
- ตื่นตอนเช้าไม่สดชื่นอยากนอนต่อ
- ง่วงเหงาหาวนอนบ่อย ๆ ต่อเนื่องระหว่างวัน
- มึนศีรษะ มองภาพไม่ชัด ตาปรือ รู้สึกลืมตาไม่ขึ้น มองข้ามสัญญาณไฟจราจร
- ขาดสมาธิในการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการขับขี่ที่ไม่สามารถควบคุมเส้นทางได้
- เมื่ออยู่นิ่ง ๆ เผลอหลับแบบไม่รู้ตัว
- อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า กระวนกระวาย
- นอนให้พอ
ในจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมคือ 7 – 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะถ้าต้องขับรถทางไกล ควรพักผ่อนให้เพียงพอติดต่อกัน 2 – 3 คืนขึ้นไปก่อนออกเดินทาง และ ควรเข้านอนเวลาที่เหมาะสมคือ ช่วง 4 ทุ่มถึงเที่ยงคืน เพื่อให้โกรธฮอร์โมน (Growth Hormones) ที่ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตและส่งเสริมการทำงานระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งหลั่งในช่วงตี 2 ถึงตี 4 ทำงานได้ดี เพราะฉะนั้นในช่วงใกล้ 3 ทุ่มควรฝึกตัวเองให้ผ่อนคลายและเตรียมพร้อมเข้าสู่การนอน - งดดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ในช่วงหลัง 4 โมงเย็น เพราะจะทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่ลึก ส่งผลให้ตื่นมาไม่สดชื่น
- จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอน เลือกใช้หลอดไฟสีส้ม ในห้องนอน เพราะไม่รบกวนดวงตา ช่วยให้ผ่อนคลาย หลับได้ง่ายขึ้น อุณหภูมิห้องนอน ควรอยู่ระหว่าง 25 – 26 องศาเซลเซียส ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป ช่วยให้ไม่ตื่นกลางดึกหลับสนิทต่อเนื่อง
เทคนิคขับรถไม่กลัวหลับใน
- พักรถทุก ๆ 2 ชั่วโมง
- งีบพักประมาณ 5 – 45 นาที ช่วยลดโอกาสเกิดหลับใน แต่ต้องเลือกสถานที่ที่ปลอดภัย
- หากไปหลายคนสลับกันขับเพื่อไม่ให้เหนื่อยล้าจนเกินไป
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเพิ่มโอกาสเกิดภาวะหลับใน
- ระวังเรื่องการทานยาที่อาจทำให้ง่วง เช่น ยาแก้แพ้ ยาแก้ปวด ยาคลายเครียด เป็นต้น
- ถ้าเลี่ยงได้ควรขับรถในช่วงกลางวันมากกว่าช่วงดึกหรือใกล้เช้า
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ
กรมแพทย์แผนไทยฯ เผย 4 สมุนไพร พกติดรถ ติดตัว เดินทางเที่ยวปีใหม่
จัดระเบียบการนอนหลับให้สมองสดใส “คุณภาพการนอนดี ความจำดีตาม”