โควิด-19 รอบสัปดาห์ ลดต่ำต่อเนื่อง ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 67 คน ตาย 4 ราย
ข้อมูลโควิด-19 ประจำสัปดาห์ที่ 4 ไทยมีตัวเลขลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ติดเชื้อเฉลี่ยเหลือวันละ 67 คน และตาย 4 ราย รวมถึงยอดผู้ป่วยอาการหนักต่ำกว่า 300 คน สธ. ยืนยันสายพันธุ์โควิดที่ระบาดในไทยยังเป็น BA.2.75
กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 4 ปี 2566 ระหว่างวันที่ 22 มกราคม – 28 มกราคม 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสม 472 คน เฉลี่ยวันละ 67 คน รวมสะสม 3,065คน (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566)
ขณะที่มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 29 คน เฉลี่ยวันละ 4 คน รวมสะสม 196 คน (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 160 คน และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 99 คน
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 90 คน ตาย 6 ราย
สธ.ยันความเสี่ยงโควิด-19 จากนทท. ยังอยู่ระดับปกติ ถึงไม่กักตัว-ไม่มีผลตรวจ
ส่วนจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ วันที่ ฉีดวัคซีนสะสม 144,666,026 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 57,199,871 โดส คิดเป็น 82.24% เข็มที่ 2 จำนวน 53,684,510 โดส คิดเป็น 77.18% และตั้งแต่เข็มที่ 3 ขึ้นไป จำนวน 33,781,645 โดส
ด้าน นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยันสายพันธุ์โควิดที่ระบาดในไทยยังเป็น BA.2.75 ใช้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปได้ผลดี โดย การให้บริการแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibodies: LAAB) กับประชากรที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนแต่ไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงเพียงพอต่อการป้องกันโรค เช่น
- ผู้ป่วยกลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือด
- กลุ่มผู้สูงอายุ
โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ในระยะที่ผ่านมายังมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวไม่มากนัก กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมควบคุมโรค จึงได้ปรับรูปแบบการให้บริการโดยใช้กลยุทธ์เพิ่มโอกาสให้กลุ่มเสี่ยงได้รับรู้ข้อมูลและตัดสินใจ (Encouraging Decision) โดยเน้นให้บุคลากรทางการแพทย์ให้ข้อมูลประโยชน์ของภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสได้ทราบข้อมูล และซักถาม ก่อนที่กลุ่มเป้าหมายจะได้ตัดสินใจขอรับแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวได้ที่โรงพยาบาล
เปิดจุดฉีดวัคซีนโควิด19 นทท.ทั้งกทม.-ตจว. ด้านจุดฉีดเอกชนยังอยู่ขั้นเตรียมแนวทาง
ซึ่ง LAAB สามารถปกป้องประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการป่วยหนักจากโควิด 19 ซึ่งข้อมูลเฝ้าระวังสายพันธุ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ชี้ให้เห็นว่า ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์ BA.2.75 ซึ่งแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวสามารถใช้ได้ผลดี แม้มีการยกเลิกการใช้ LAAB (tixagevimab /cilgavimab) ในบางประเทศ เนื่องจากในประเทศนั้นๆ มีการระบาดด้วยสายพันธุ์กลายพันธุ์ เช่น BQ.1, BQ.1.1 และ XBB.1 เป็นหลัก แต่จากข้อมูลล่าสุดของประเทศไทยพบว่าสายพันธุ์ที่มีการระบาดขณะนี้เป็น BA.2.75 ประมาณร้อยละ 86 ซึ่งมีข้อมูลในหลอดทดลองว่า LAAB ยังสามารถลบล้างสายพันธุ์ดังกล่าวได้ผลดี LAAB จึงเหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศ
อธิบดีกรมการแพทย์ ไขทุกข้อข้องใจ“ฟ้าทะลายโจร” กับการรักษาโควิด-19
เริ่มแล้ว! 35 รพ. สังกัดกรมการแพทย์ทั่วประเทศ ฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB)
เด็กอายุเกิน 12 ปี เข้ารับวัคซีนภูมิคุ้มกันโควิดสำเร็จรูป ชนิด LAAB ได้แล้ว