โควิด-19 รอบสัปดาห์ ตัวเลขคงที่ต่อเนื่อง ป่วยใหม่เฉลี่ยวันละ 29 ตาย 1 ราย
โควิด-19 ประจำสัปดาห์ที่ 8 ไทยมีตัวเลขลดต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ติดเชื้อเฉลี่ยเหลือวันละ 29 คนและเสียชีวิต 1 ราย รวมถึงยอดผู้ป่วยอาการหนักยังทรงตัวต่ำลงรวมอยู่ที่ 110 คน ด้านกระทรวงสาธารณสุขเร่งรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงยืนยันว่าวัคซีนชนิด mRNA ที่ประเทศไทยจัดหามาทั้งชนิดรุ่นเก่า (monovalent) และรุ่นใหม่ (bivalent) มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับสูง
กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 8 ปี 2566 ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ – 25 กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสม 204 คน เฉลี่ยวันละ 29 คน รวมสะสม 4,116 คน (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) ขณะที่มีผู้เสียชีวิตรายใหม่ 9 คน เฉลี่ยวันละ 1 คน รวมสะสม 242 คน (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566) มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 66 คน และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 44 คน
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ตัวเลขลดต่อเนื่อง ป่วยใหม่เฉลี่ยวันละ 30 ตาย 1 ราย
WHO ยังไม่ยกธงขาวยอมแพ้ ยืนยันยังค้นหาต้นตอโควิด19 แม้จีนไม่ร่วมมือ
ส่วนจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ณ วันที่ ฉีดวัคซีนสะสม 144,845,186 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 57,222,551 โดส คิดเป็น 82.27% เข็มที่ 2 จำนวน 53,714,481 โดส คิดเป็น 77.22% และตั้งแต่เข็มที่ 3 ขึ้นไป จำนวน 33,908,154 โดส
ด้านกระทรวงสาธารณสุขยังคงเร่งรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดอัตราการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ยืนยันว่าวัคซีนชนิด mRNA ที่ประเทศไทยจัดหามาทั้งชนิดรุ่นเก่า (monovalent) และรุ่นใหม่ (bivalent) มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับสูงปัจจุบันประเทศไทยฉีดวัคซีนไปมากกว่า 146 ล้านโดส ในจำนวนนี้เป็นวัคซีน mRNA มากกว่า 55 ล้านโดส วัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพดี มีความปลอดภัยสูง อาการข้างเคียงที่พบบ่อย มักเป็นอาการไม่รุนแรง เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด หรืออาจมีไข้ต่ำๆ สำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น การแพ้วัคซีน จะพบได้น้อยมาก ใน
โควิด XBB.1.5 พบในไทย 2 คน รักษาหายแล้ว ยังไม่เจอคนใกล้ชิดติดเชื้อ
กรณีที่มีการส่งต่อข้อความในสื่อโซเชียลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจและสมองอักเสบจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA นั้น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการจากต่างประเทศพบว่า ปัจจุบันยังไม่พบความเกี่ยวข้องของการเกิดอาการสมองอักเสบกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ส่วนอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบตามหลังการฉีดวัคซีน ข้อมูลในประเทศไทยพบได้ประมาณ 1 ราย ต่อการฉีดหนึ่งล้านเข็ม ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมาก และส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ในทางกลับกันเราพบว่าผู้ป่วยโควิด 19 จะมีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากกว่า 5-10 เท่า และมีความรุนแรงสูงกว่ามากโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เมื่อติดเชื้อโควิดจะมีโอกาสเข้าไอซียูหรือเสียชีวิตจากภาวะทางหัวใจและปอดได้สูงหากไม่ฉีดวัคซีน แต่ถ้าได้รับฉีดวัคซีนภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้จะพบได้น้อยลงมากแม้จะเป็นโควิด 19 ดังนั้นจึงอาจพูดได้ว่าการฉีดวัคซีนช่วยลดโอกาสเกิดหัวใจอักเสบจากโรคโควิด 19 ได้
นักวิทย์พบคำตอบแล้ว ทำไมบางคนติดโควิด-19 แต่ไม่ป่วย?
สถาบันโรคผิวหนัง เปิดจุดฉีดวัคซีนป้องกันโควิด19 ตลอด กุมภาพันธ์ 2566