ยาต้านพิษไซยาไนด์“โซเดียมไทโอซัลเฟต”วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
รู้หรือไม่ ? ไทยมีสต๊อกยาต้านพิษไซยาไนด์ โซเดียมไทโอซัลเฟต (Sodium thiosulfate) อยู่ทั่วประเทศและสามารถรับษาได้ทุกสิทธิการรักษา รับยาเร็วโอกาสรอดสูง แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้รับสารพิษ
จากกรณีที่รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อ.ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้รับการประสานจากพิสูจน์หลักฐานให้ตรวจสอบในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ในคดีของ แอม ผู้ต้องหาคดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จากกรณีการเสียชีวิตอย่างปริศนาหลายคดี ออกมาเปิดเผยผลการตรวจสอบวัตถุพยานและพบว่ามีกล่องพัสดุทางไปรษณีย์ที่มีการสั่งซื้อส่งมาให้ แอม ภายในบรรจุผลึกสีขาวใส พบว่า คือ “โซเดียมไทโอซัลเฟต” ซึ่งสารชนิดนี้คือ ยาแก้พิษ “ไซยาไนด์” (Cyanide)
“ไซยาไนด์” วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 พิษแบบฉับพลันรุนแรง
“ไซยาไนด์” ในมันสำปะหลัง-หน่อไม้สด อันตรายหรือไม่?
เพจเฟชบุ๊ก Ramathibodi Poison Center หรือศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ให้ความรู้เรื่องว่าไซยาไนด์ (Cyanide) มีใช้ในอุตสาหกรรม ทอง จิลเวลรี่ การทำขั้วโลหะ วางยาสัตว์ และใช้ในห้องปฏิบัติการ ขณะเดียวกันพิษของไซยาไนด์ เป็นสารพิษที่ยับยั้งการหายใจระดับเซลล์ แบบสั้นๆคือ "ทำให้เซลล์ใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงานไม่ได้" อวัยวะที่ใช้ออกซิเจนและพลังงานมากๆอย่าง สมองและระบบหัวใจและหลอดเลือด จึงแสดงความผิดปกติก่อนหากได้รับขนาดเพียงพอก็ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้ทั้งการกิน สูดดม หรือสัมผัสทางผิวหนัง ผู้ได้รับสารอาจมีหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติ ชัก เลือดเป็นกรดรุนแรง และเสียชีวิตได้
ซึ่งไทยมียาต้านพิษโซเดียมไนไตรท์และโซเดียมไทโอซัลเฟต ไว้สำรองทั่วประเทศใน ในโรงพยาบาลระดับจังหวัด กรณีในกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลระดับโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลใหญ่ของรัฐบาลและศูนย์วิทยาเป็นต้นซึ่ง "ใช้ได้ทุกสิทธิ์การรักษา" (ในบางประเทศอาจไม่มียาต้านพิษสต๊อกไว้เลย หรือมีแต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเข้าถึงได้ลำบากมาก) โดยการจะแก้พิษไซยาไนด์ได้ ต้องได้รับยาถอนพิษอย่างทันท่วงทีภายใต้การดูแลของแพทย์
รู้จัก โซเดียมไทโอซัลเฟต (Sodium thiosulfate) คือต้านพิษของสารไซยาไนด์ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ให้กลุ่มกำมะถัน( sulfur group) แก่ ไซยาไนด์เพื่อเปลี่ยนให้เป็น thiocyanate ซึ่งเป็นพิษน้อยกว่าแล้วถูกขับออกทางไต เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย ใช้ร่วมกับ nitriteในผู้ป่วยที่เกิดภาวะ เป็นพิษจากไซยาไนด์
สำหรับในประเทศไทย คณะกรรมการอาหารและยาได้บรรจุให้ยาโซเดียมไทโอซัลเฟตอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นยาต้านพิษจากไซยาไนด์และใช้เป็นยาทาเพื่อรักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง ซึ่งต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น
ขนาดและวิธีใช้โซเดียมไทโอซัลเฟต
- ผู้ใหญ่ 12.5 g (50 ml ของสารละลาย 25%) ฉีดเข้าเส้นเลือดดำช้าๆ
- เด็ก 400 mg/kg (1.6 ml/kg ของ 25% สารละลาย) ให้ได้ถึง 50 ml ให้ซ้ำได้ใน 30-60 นาที
ข้อห้ามควรระวังในการใช้ยาโซเดียมไทโอซัลเฟต
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่เคยมีประวัติการแพ้ยา
- ห้ามเก็บและใช้ยาที่หมดอายุ
- ควรระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ผู้ป่วยโรคไต
- หญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยด้วยภาวะครรภ์เป็นพิษ ควรระวังการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
“หมอแล็บ” เผยไซยาไนด์พิษรุนแรงถึงชีวิตแม้ได้รับเพียงเล็กน้อย
ปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนถึงมือแพทย์
ส่วนมากคนไปเจอคนที่ถูกสารพิษแล้วหมดสติแล้วไม่ทราบว่าได้รับไซยาไนด์หรือสารชนิดใด
- หากไซยาไนด์สัมผัสกับผิวหรือเสื้อผ้า ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้น ๆ และนำออกจากลำตัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้เสื้อผ้าที่ปนเปื้อน ไซยาไนด์ ไม่ไปสัมผัสกับผิวหนังส่วน
- หากมีการสูดดมและรับประทาน ในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องทำ CPR เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ห้ามใช้วิธีเป่าปากหรือวิธีผายปอดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับพิษก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ
- โทร 1669 หรือนำส่งโทรพยาบาลที่มียาแก้พิษ โดยสามารถปรึกษาศูนย์พิษวิทยา สายด่วน 1367 ได้
อย่างไรก็ตามหากสงสัยว่าได้รับสารพิษไม่ว่าจะชนิดใดก็ตามควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเพื่อเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิต
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี
ด่วน! อ.อ๊อด ตรวจพยานหลักฐานเจอ “ไซยาไนด์” ฝั่งคนขับ บนรถ “แอม”