อ.อ๊อดคาดดาราสาวเข้าใจผิดสั่งซื้อ ‘ไซยาไนด์’ ยันมีหลายวิธีไล่ได้
จากประเด็น แม่ดาราสาว ไอซ์ปรีชญา สั่งซื้อไซยาไนด์เพื่อเอามาไล่สัตว์เลื้อยคลานนั้น อ.อ๊อดยันไซยาไนด์ที่ใช้ด้านสัตวแพทย์กับที่อุตสาหกรรมเป็นคนละตัวกัน คาดเป็นความไม่รู้หรือเข้าใจผิดจึงสั่งซื้อสารพิษดังกล่าวมา ด้านกรมโรงงานอุตสาหกรรมเตรียมประกาศเงื่อนไขการใช้สารไซยาไนด์ ภายในสัปดาห์หน้า
รองศาสตราจารย์ วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า ไซยาไนด์ที่ ไอซ์ ปรีชญา พงษ์ธนานิกร สั่งมาล็อตเดียวกับ แอม เป็น ไซยาไนด์ที่ใช้อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสารอันตรายมาก ปกติในโรงพยาบาลสัตว์มีการใช้สารไซยาไนด์ในการวางยาสลบสัตว์แต่เป็นคนละตัวกับที่ไอซ์สั่งมา คาดว่า ดาราสาวอาจจะไม่มีความรู้หรือเข้าใจผิดจึงสั่งซื้อไซยาไนด์ตัวนี้มา
แม่แจงแทน! ไอซ์ ปรีชญา ซื้อไซยาไนด์ล็อตเดียวกับ "แอม" ใช้ไล่สัตว์มีพิษ
ตำรวจจ่อออกหมายเรียก "ดาราสาว" สั่งซื้อไซยาไนด์ หลังมีข่าวแอม
อาจารย์อ๊อดยังแนะนำว่า หากต้องการไล่สัตว์เลื้อยคลานไม่จำเป็นต้องใช้ไซยาไนด์ สามารถใช้กำมะถัน ปูนขาว หรือยาเบื่อหนูที่ปัจจุบันมีการปรับสูตรไม่ใช้ไซยาไนด์เป็นส่วนผสมแล้ว แทนได้ ซึ่งปลอดภัยกว่า
ด้านกรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลการซื้อขายสารอันตราย ก็ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้เช่นกัน นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมโรงงานฯ ได้หารือร่วมกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงแนวทางการควบคุมใช้สารไซยาไนด์ ให้ถึงกลุ่มผู้ใช้รายย่อยว่า นำไปทำอะไร เพิ่มเติมจากกฎหมายปัจจุบันที่กำหนดให้ร้านค้าปลีกรายใด ครอบครองสารเคมีอันตรายเกิน 100 กิโลกรัม ภายใน 6 เดือน จะต้องรายงานมายังกรมฯ ต่อไปอาจจะให้ร้านค้าปลีกทุกราย ที่จำหน่ายสารโซเดียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์ ให้ผู้ซื้อรายย่อยรายใด ต้องลงทะเบียนคล้ายกับซื้อซิมโทรศัพท์มือถือ ให้ระบุว่า นำไปใช้เพื่ออะไร เช่น นำไปในร้านชุบเงินชุบทอง หรือใช้ในห้องแล็บ คาดว่าจะประกาศเงื่อนไขการใช้สารไซยาไนด์ ภายในสัปดาห์หน้า
ไทยผลิตสารไซยาไนด์ไม่ได้เอง ต้องมีการนำเข้าเท่านั้น ปัจจุบันมีผู้นำเข้าสารโพแทสเซียมไซยาไนด์ จำนวน 14 ราย สารไซยาไนด์ ที่ กรอ. ควบคุมอยู่มี 2 ประเภท คือ โซเดียมไซยาไนด์ และโพแทสเซียมไซยาไนด์ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ มีไว้ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น การสกัดแร่ การชุบโลหะ ชุบทอง เงิน หรือใช้ในห้องแล็บ
นอกจากนี้ กรมโรงงานฯ ได้หารือเบื้องต้น กับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคแล้วว่า อาจจะขอความร่วมมือ ไม่ควรนำสารไซยาไนด์ ไปขายบนช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์แพลตฟอร์มต่างๆ เนื่องจากเป็นสารอันตราย ไม่ควรหาซื้อง่าย
“สัตวแพทย์” เผยไซยาไนด์ไม่นิยมนำมากำจัดสัตว์มีพิษ เหตุเป็นสารอันตราย
“ไซยาไนด์” วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 พิษแบบฉับพลันรุนแรง
ยาต้านพิษไซยาไนด์“โซเดียมไทโอซัลเฟต”วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น