ครั้งแรกวิจัยจุฬา! พบสารเคมีในกลิ่นเหงื่อบอกภาวะซึมเศร้าได้
นักวิจัยจุฬาฯ พบสารเคมีในกลิ่นเหงื่อบ่งบอกภาวะความเครียดสูงและซึมเศร้าได้ นำร่องศึกษานักผจญเพลิงในกรุงเทพฯ ผลทดสอบแม่นยำถึง 90% พร้อมเดินหน้าตรวจคัดกรองสุขภาพจิตในกลุ่มอาชีพเครียดจัดและเสี่ยงสูงอื่น ๆ หวังลดปัญหาสุขภาพจิตและความรุนแรงในสังคม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชฎิล กุลสิงห์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และทีมวิจัยจากทั้งภายในจุฬาฯ และภาคเอกชน ประสบความสำเร็จในการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 จากกลิ่นสารเคมีในเหงื่อ จนถึงขั้นลงพื้นที่ไปตรวจคัดกรองให้ชุมชน ตลาด และโรงเรียนบางแห่งในกรุงเทพมหานครได้ โดยครั้งนี้ได้ต่อยอดงานวิจัยร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯได้ศึกษาหา “สารเคมีบ่งชี้ถึงความเครียดจากกลิ่นเหงื่อ”
สัญญาณ “เครียดสะสม”นอนไม่หลับ-คิดวนเวียนละเลยเสี่ยงซึมเศร้า-วิตกกังวล
5 วิธีบริหารจัดการความเครียด รับมือกับความผิดหวัง
โดยนำร่องวิจัยกับนักผจญเพลิง 1,084 คนจากสถานีดับเพลิง 47 แห่งทั่วกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่พบสารเคมีในกลิ่นเหงื่อที่สามารถบ่งชี้สภาวะความเครียดของกลุ่มประชากรในกรุงเทพได้!
กลิ่นเหงื่อเผยภาวะเครียด-ซึมเศร้า ?
โครงการวิจัยนี้เป็นครั้งแรกที่มีการตรวจพบกลุ่มสารเคมีความเครียด (แบบระเหยง่าย) ในเหงื่อของคนกลุ่มใหญ่ที่ประกอบอาชีพเดียวกัน และเป็นความเครียดสะสมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากการทำงานและในชีวิตประจำวันจริง ๆ ไม่ได้เป็นความเครียดที่เกิดจากการควบคุมหรือจำลองสถานการณ์ขึ้นเหมือนการศึกษาอื่น ๆ ที่ผ่านมา
หลักการ ผู้ที่เป็นโรคเดียวกันมักจะมีสารเคมีหรือกลุ่มสารเคมีที่เหมือนกันกันอยู่ คล้ายกันกับกรณีนี้ หากตรวจพบว่าใครที่มีสารเคมีกลุ่มนี้ในปริมาณที่เกินเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งหมดก็น่าจะสามารถระบุได้ว่าคน ๆ นั้นมีความเครียดสูงหรืออาจเป็นซึมเศร้าได้ โดยความแม่นยำในการระบุผลจากกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 90%
วิธีการตรวจคัดกรอง
ผศ.ดร.ชฎิล ภาวะเครียดจัดและซึมเศร้าจากเหงื่อเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว สามารถตรวจได้ครั้งละหลาย ๆ คน และใช้เวลาไม่นาน
- ใช้ก้านสำลีที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว 2 ก้าน เหน็บใต้รักแร้ซ้าย-ขวา ทิ้งไว้ 10-15 นาที
- นำก้านสำลีที่มีเหงื่อไปใส่ในขวดปลอดเชื้อที่มีฝาปิด
จากนั้น ส่งตัวอย่างมาห้องแล็บเพื่อตรวจด้วยเครื่องวิเคราะห์กลิ่นสารเคมี โดยฉีดอากาศในขวดเข้าไปในเครื่อง แล้วรอเครื่องวิเคราะห์ผลประมาณ 10-20 นาที ซึ่งผลจะแสดงออกมาในลักษณะบาร์โค้ดของสารเคมีในแต่ละตัวอย่าง
นอนไม่หลับแบบไหนควรพบจิตแพทย์ คลายความกังวลใจลดความเครียดเรื้อรัง
โครงการศึกษาวิจัยกลุ่มนักผจญเพลิงในกรุงเทพมหานครระหว่างกุมภาพันธ์ - ธันวาคม 2565 ผลการตรวจพบแนวโน้มสุขภาพจิต ว่ามีปัญหาความเครียด และการนอนหลับจำนวนมาก กลุ่มนักผจญเพลิงที่อยู่ในเกณฑ์มีความเสี่ยงปานกลางถึงรุนแรงจะเข้าสู่กระบวนการยืนยันผลโดยอาจารย์จิตแพทย์อีกครั้ง
จากความสำเร็จในการวิจัยกับกลุ่มนักผจญเพลิง ทีมวิจัยมีแผนที่จะขยายการตรวจคัดกรองกับกลุ่มพยาบาลทั่วประเทศ เบื้องต้นได้มีการเริ่มเก็บตัวอย่างเหงื่อจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาแล้ว โดยงานวิจัยนี้ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โดยจะขยายการตรวจคัดกรองความเครียดไปในกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ที่ต้องทำงานภายใต้ความกดดันสูง มีความเสี่ยงต่อปัญหาภาวะสุขภาพจิต เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตให้รวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ผู้ที่มีภาวะเครียดจัดหรืออาจมีอาการซึมเศร้า ได้รับการดูแลบำบัดทันท่วงที
เทคนิคหยุดพักหายใจ ภายใน 90 วินาที คลายเครียด ลดความวิตกกังวล
ทันตแพทย์แนะ 5 โรคประจำตัว เตรียมพร้อมลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนก่อนทำฟัน