“โรงพยาบาลกรุงเทพ” เตือนระวังเพจปลอม แอบใช้ชื่อ-โลโก้ลวงลงทุน
“โรงพยาบาลกรุงเทพ” เตือนระวังเพซบุ๊กปลอม แอบใช้ภาพ ชื่อ และโลโก้หลอกลงทุนซื้อหุ้นและกองทุน ทางบริษัทฯยืนยันไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ
บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ภายใต้ชื่อ “โรงพยาบาลกรุงเทพ” ประกาศแจ้งเตือนประชาชนระวังถูกหลอกเข้าร่วมลงทุนซื้อหุ้นและกองทุนผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ
เนื่องจากพบการแอบอ้าง โดยนำภาพถ่ายบุคลากรการแพทย์, ชื่อทางการค้า “โรงพยาบาลกรุงเทพ” และเครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายบริการ “B+” “Bangkok Hospital” และ “BDMS” ของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
7 สาเหตุทำให้ “นอนไม่หลับ” เช็กเลยคุณหรือเปล่าที่ต้องปรับพฤติกรรมด่วน
"โอเมก้า 3” ช่วยลดไขมันเลว กินปลาไทยชนิดไหนได้เยอะสุด
เพื่อใช้ประกอบการโฆษณาประชาสัมพันธ์ แนะนำชักชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมลงทุนซื้อหุ้นและกองทุนของกลุ่มโรงพยาบาลในเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ผ่านสื่อโซเชียล โดยไม่ได้รับอนุญาต ได้แก่ “เฟซบุ๊กลงทุนสำหรับมือใหม่” และ “เฟซบุ๊กขายหุ้นไทยมือใหม่”
บริษัทฯ จึงขอเรียนให้ทราบว่า บริษัทฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์แนะนำ และชักชวนให้เข้าร่วมลงทุนดังกล่าว เรื่องจากหุ้นของบริษัทฯ ใช้ชื่อย่อ “BDMS” นั้น จดทะเบียนและทำการซื้อขายในตลาดหุ้นผ่านศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD) เท่านั้น
ทั้งนี้ ช่องทางการติดตามข่าวสารอย่างเป็นทางการของบริษัทฯ มีดังต่อไปนี้
- Website : www.bangkokhospital.com
- Line : @bangkokhospital
- Facebook : Bangkok Hospital โรงพยาบาลกรุงเทพ
หากท่านมีข้อสงสัยอื่นใดสามารถติดตามรายละเอียดได้ผ่านช่องทางข้างต้น และหากต้องการเข้ารับการรักษาสามารถ โทร. 1719 ได้ อย่างไรก็ตามขอความกรุณางดโทรสอบถาม เพื่อสงวนคู่สายสำหรับผู้ป่วยและผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น
สำหรับ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทผู้ประกอบการธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ โดยมีโรงพยาบาลเครือข่ายในไทยและกัมพูชา ดำเนินการภายใต้ชื่อโรงพยาบาล 6 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ, กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช, โรงพยาบาลบี เอ็น เอช, กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท, กลุ่มโรงพยาบาลเปาโล และกลุ่มโรงพยาบาลรอยัล
นอกจากนี้เครือข่ายของบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ยังรวมถึงธุรกิจที่ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์ ได้แก่ ธุรกิจห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ธุรกิจผลิตยาและธุรกิจผลิตน้ำเกลือ เป็นต้น
คัดกรอง “ภาวะไทรอยด์ต่ำ” ฟรี! ป้องกันโรคเอ๋อในเด็กเล็ก
“โรคเกาต์” รักษาหายหรือไม่ หลัง “ตุ๊ก-ปิยะพงษ์” เผชิญกว่า 20 ปี