7 สาเหตุทำให้ “นอนไม่หลับ” เช็กเลยคุณหรือเปล่าที่ต้องปรับพฤติกรรมด่วน
ปัญหาการนอนมีหลากหลายสาเหตุและปัจจัย แต่ล้วนนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพ แนะวิธีปรับพฤติกรรมแก้ปัญหาลดเสี่ยงอาการป่วย โรคเรื้อรัง
หลายคนประสบกับปัญหาการนอนที่นอนเท่าไหร่ก็นอนไม่หลับ จิตใจว้าวุ่น มีเรื่องเครียดเต็มสมอง จนป่วยเป็น“โรคนอนไม่หลับ” หรือ Insomnia ซึ่งมีรูปแบบของอาการมากมาย เช่น การนอนไม่หลับ การนอนหลับไม่สนิท การหลับๆ ตื่นๆตลอดทั้งคืน นำมาซึ่งสุขภาพกายและใจที่ย่ำแย่ ซึ่งอาจมาจากสาเหตุบางอย่างที่สามารถแก้ไขได้เลยไม่ต้องพบแพทย์
7 สาเหตุการนอนไม่หลับ
- ปัญหาสิ่งแวดล้อม เสียงดังรบกวน สว่างเกินไป หรือคับแคบเกินไป ทำให้นอนหลับยาก
นอนไม่หลับแบบไหนควรพบจิตแพทย์ คลายความกังวลใจลดความเครียดเรื้อรัง
สัญญาณ “เครียดสะสม”นอนไม่หลับ-คิดวนเวียนละเลยเสี่ยงซึมเศร้า-วิตกกังวล
- อาการเจ็บป่วย เช่น ปวดท้อง ปวดตามเนื้อตัว เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับ มีปัญหาเรื่องระบบการหายใจ มีอาการไอ
- ความเครียด อาการวิตกกังวล แรงกดดัน
- แอลกอฮอล์ คาเฟอีนในกาแฟ บุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิดนั้นอาจส่งผลเกี่ยวกับการนอนหลับ
- ท้องว่าง ทำให้เกิดอาการอึดอัด หิวขึ้นมาในช่วงดึก หรืออิ่มมากเกินไป จนทำให้มีอาการแน่นท้องกลางดึก จนนอนไม่หลับ
- ภาวะการนอนหลับ เช่น การนอนละเมอ ฝันร้าย หรือนอนไม่หลับจนติดเป็นนิสัย
- หน้าที่การงานที่ต้องเปลี่ยนเวลาการนอนอยู่สม่ำเสมอ เช่น พยาบาล หรือผู้ที่ทำงานเป็นกะ
วิธีแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับ
- จัดที่นอนให้เหมาะสม สบายเหมาะแก่การนอน เงียบสงบ อุณหภูมิที่เย็นสบายพอเหมาะ ไม่ควรเปิดโทรทัศน์ และหากต้องการให้ร่างกายพักผ่อนมากจริงๆ ให้ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด จะได้ไม่มีเสียงรบกวนขณะนอนหลับ
- ผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน เช่น การนวดให้ร่างกายผ่อนคลาย การแช่น้ำอุ่น
- หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมในช่วงกลางวัน
- เมื่อรู้สึกง่วงจะต้องเข้านอนทันที เข้านอนให้เวลานั้นเหมือนกันทุกคืน ตรงเวลา ร่างกายจะจดจำเวลานอนเอง
- หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดท้อง เนื่องจากมีอาการกรดไหลย้อน ถ้าท้องว่างให้รับประทานอาหารเบาๆ เช่น ขนมปังชิ้นเล็ก นมอุ่ม หรือน้ำผลไม้
- หากนอนไม่หลับ ให้ไปทำกิจกรรมเบาๆ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือนั่งสมาธิ เมื่อรู้สึกง่วงให้เข้ามานอน เพื่อลดความเครียด
- ใช้กลิ่นเข้ามาช่วยในการนอนหลับ เช่น กลิ่นวานิลลา กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นยูคาลิปตัส กลิ่นพิมเสน หรือกลิ่นคาโมมายล์
- หลีกเลี่ยงการดื่มที่มีคาเฟอีนลดการดื่มแอลกอฮอล์ลง ถึงแม้ว่าจะช่วยในเรื่องการนอนหลับ หากมากไปอาจส่งผลต่อร่างกายได้
“ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม” มีผลต่อการนอนหลับสนิทของเรา
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน เพราะจะทำให้ร่างกายมีการตื่นตัว นอนไม่หลับ
- รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ปลาโอ ปลาเก๋า ปลากะพง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อัลมอลต์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยอดฟักแม้ว ยอดฟักทอง และกล้วยสุก เพราะแมกนีเซียม ลดอาการซึมเศร้า
ทั้งนี้การอดนอนจะส่งผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันทำงานโดยมีประสิทธิภาพลดลง หายจากโรคต่างๆ ได้ช้าลง ซึ่งหากมีปัญหาด้านการนอนที่ปรับพฤติกรรมไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัด เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและวางแผนการรักษา
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลราชวิถี
ภาพจาก : Shutterstock
ข่าวปลอม! ยังไม่มีงานวิจัยชี้ชัด โทรศัพท์ส่งผลต่อคลื่นสมอง ทำให้หลับยาก
สูงอายุทำไมถึงต้องนอนน้อย? เพราะอายุจริงๆ หรือสัญญาณบอกโรคได้สารพัด