“ฝีดาษวานร” ปลูกฝีไข้ทรพิษป้องกันได้ 85% เช็กอาการโรคระยะเริ่มต้น
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชวนมาทำความรู้จักฝีดาษวานร ระยะโรคและตุ่มหนองเผยการปลูกฝีไข้ทรพิษจะสามารถป้องกันโรคฝีดาษวานรได้ 85%
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคฝีดาษวานร (Mpox) หรือที่รู้จักกันว่าฝีดาษลิง ซึ่งเป็นโรคที่พบมากในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก เกิดจากเชื้อไวรัสฝีดาษวานร (Monkeypox Virus; MPXV) เป็นเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัสOrthopoxvirusเชื้อไวรัสฝีดาษวานรเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ
รายแรกในไทย! ผู้ป่วย HIV ติดเชื้อฝีดาษวานรเสียชีวิต!
เช็กอาการนำ “ฝีดาษวานร” การติดต่อโรค ระยะฟักตัว และ วิธีป้องกัน
อาการของโรคฝีดาษวานรจะรุนแรงน้อยกว่าโรคฝีดาษคน อาการรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณไวรัสที่ได้รับ สถานะสุขภาพของผู้ป่วย และลักษณะของภาวะแทรกซ้อน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
โรคฝีดาษวานร พบในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ในตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะหลายชนิด เช่น หนู กระรอก กระต่าย เป็นต้น สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งคนก็อาจติดเชื้อได้ โดยคนสามารถติดโรคนี้ได้จากการสัมผัสรอยโรค สารคัดหลั่ง ละอองฝอย และบริเวณที่ปนเปื้อน รวมถึงการรับเชื้อผ่านจากแม่สู่ลูกในครรภ์ รับจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เป็นต้น การแพร่เชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิด
ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อระหว่าง 0-5 วัน อาการป่วยจะเป็นลักษณะ ดังนี้
- มีไข้ หนาวสั่น
- ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ และปวดหลัง
- เจ็บคอ
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- อ่อนเพลีย
จากนั้น 1-3 วัน หลังจากมีไข้ จะมีผื่นขึ้นที่ใบหน้าและบริเวณแขนขา มากกว่าที่ลำตัว และผื่นจะค่อยๆกลายเป็นตุ่มหนอง จนถึงในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา อาการป่วยจะเป็นอยู่ประมาณ 2-4 สัปดาห์ และผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคได้เอง
“ฝีดาษลิง”ยังน่าห่วงพบเยาวชนติดเชื้อ 16 ราย แนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง
การป้องกันโรคฝีดาษวานร
หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ และการฉีดวัคซีนป้องกันหรือที่เรียกว่าการปลูกฝีไข้ทรพิษจะสามารถป้องกันโรคฝีดาษวานรได้ร้อยละ 85 รวมทั้งป้องกันฝีดาษคนได้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสฝีดาษวานร โดยการตรวจสารพันธุกรรมไวรัสจีนัสOrthopoxvirus (OPXV) และไวรัส Monkeypox (MPXV) ด้วยเทคนิค Real-time PCR รวมถึงการตรวจจำแนกไวรัสฝีดาษวานรด้วยการทดสอบลำดับพันธุกรรมของเชื้อ สามารถส่งตัวอย่างตรวจโรคติดเชื้อไวรัสฝีดาษวานรได้ที่ศูนย์ประสานงานตรวจวิเคราะห์และเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการ (ศปส.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข (อาคาร 1 ชั้น 1) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นนทบุรี
“หมอยง” เผย 6 สาเหตุควบคุมฝีดาษลิงยากคาดผู้ป่วยบางรายไม่รู้ตัว
องค์การอนามัยโลกยกเลิก "โรคฝีดาษลิง" เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว