โควิด-19 รอบสัปดาห์ไทยเพิ่มขึ้น-ศูนย์จีโนมเฝ้าระวัง “JN.1” ใกล้ชิด
สถานการณ์โควิด-19 รอบสัปดาห์ที่ 44 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง พบยอดผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่ม 304 คน เสียชีวิต 1 คน ต่อสัปดาห์ด้านศูนย์จีโนมฯ กำลังติดตามโอมิครอน “JN.1” อย่างใกล้ชิด
กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โควิด-19 รายสัปดาห์ ระบุว่า ข้อมูลของสัปดาห์ที่ 44 ระหว่าง 29 ตุลาคม- 4 พฤศจิกายน 2566 มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่รักษาในโรงพยาบาล 304 ราย เฉลี่ยรายวัน 43 รายต่อวัน ป่วยสะสมตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ 34,511ราย ขณะที่ผู้ป่วยหนักปอดอักเสบพบรายงาน 63 รายและผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 43 ราย ด้านผู้เสียชีวิต 1 ต่อสัปดาห์ เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ต้นปี 2566 อยู่ที่ 819 ราย
โควิด-19 รอบสัปดาห์ไทยพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
โควิด-19 รอบสัปดาห์ไทยขยับขึ้น-ศูนย์จีโนมคาดปีหน้า“Flip mutation”เป็นสายพันธุ์หลัก
สำหรับจำนวนผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ยังไม่พบการรายงานว่ามีผู้เข้ารับวัคซีนเพิ่มเติม โดยในปัจจุบันฉีดวัคซีนสะสม 144,951,341 โดส แบ่งเป็น วัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 57,233,919 โดส คิดเป็น 82.28% เข็มที่ 2 จำนวน 53,730,348 โดส คิดเป็น 77.25% และตั้งแต่เข็มที่ 3 ขึ้นไป จำนวน 33,987,074 โดส (อัปเดตวันที่ 26 พ.ค. 2566)
แพทย์เผย ติดเชื้อโควิด19 พร้อมกับไข้หวัดใหญ่มีความเป็นไปได้
ด้านศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีโพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุถึง การอุบัติขึ้นของโอมิครอน BA.2.86 หรือ "Pirola" ถูกตรวจพบครั้งแรกในเดนมาร์กในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 ได้ดึงดูดความสนใจของนักวิจัยทั่วโลกในแง่ที่พบส่วนหนาม (spike)มีการกลายพันธุ์สูง มากกว่า 30 ตำแหน่ง เมื่อเทียบกับโอมิครอน XBB.1.5 และพบในหลายประเทศพร้อมกันทั่วโลกในสองเดือนผ่านมา
หลายฝ่ายเริ่มคลายกังวลเมื่อไม่พบข้อมูลทางคลินิกที่บ่งชี้ว่าการติดเชื้อโอมิครอน BA.2.86 จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงยิ่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และดูเหมือนว่าจะยังไม่สามารถแข่งขันกับโอมิครอนกลุ่มย่อย XBB* ที่เป็นสายพันธุ์หลักอยู่ในปัจจุบันได้ โดยเฉพาะกับกลุ่มของ “FLip” ที่มีการกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว
แต่เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2566 ที่ผ่านมานักวิจัยได้ตรวจพบรุ่นลูกของโอมิครอน BA.2.86 ที่มีการกลายพันธุ์สะสมเพื่อหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้มากขึ้นพร้อมไปกับการจับกับผิวเซลล์ได้อย่างมั่นคงขึ้น เช่นที่ตำแหน่ง “L455S” เกิดเป็นสายพันธุ์ย่อยที่ถูกตั้งชื่อว่า “JN.1” ที่อาจเกิดการแพร่ระบาดกลายเป็นสายพันธุ์หลักในอนาคต ศูนย์จีโนมฯ กำลังติดตามโอมิครอน “JN.1” อย่างใกล้ชิด