มะเร็งชนิดไหนลุกลามมาที่กระดูกได้? เสี่ยงแตกหักง่ายภาวะกดทับไขสันหลัง
มะเร็งหลายชนิดแพร่กระจายมาอย่างกระดูกได้ และบางครั้งเราก็เองก็ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าป่วยด้วยโรคร้ายกว่าจะรู้ตัวก็อาจแพร่กระจายทำลายระบบร่างกายเราไปแล้ว!
การแพร่กระจายเซลล์มะเร็งไปยังกระดูก หรือที่เรียกว่า มะเร็งกระดูกชนิดทุติยภูมิ ที่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากโรคมะเร็งอวัยวะอื่น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด กระดูกหัก ซึ่งทางการแพทย์ได้ระบุไว้ว่า มะเร็งทุกชนิดมีโอกาสแพร่กระจายไปยังกระดูกได้ทั้งหมดแต่โดยส่วนใหญ่มักมาจาก
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งปอด
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งไต
- มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา
- มะเร็งรังไข่
- มะเร็งไทรอยด์
“มะเร็งกระดูก” พบในไทยไม่มากแต่อันตรายมาก เช็กสัญญาณมะเร็งระยะแรก!
วิธีออกกำลังกายเพิ่มมวลกระดูก ลดภาวะกระดูกพรุนเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจ

โดยบริเวณกระดูกที่มักพบการแพร่กระจายคือกระดูกสันหลัง ส่วนอื่นๆที่มีความบ่อยรองลงมาได้แก่ กระดูกส่วนสะโพก กระดูกต้นขา กระดูกต้นแขน กระดูกซี่โครง และกะโหลกศีรษะ
อาการมะเร็งแพร่กระจายไปกระดูก
- อาการปวด
มักเป็นสัญญาณแรกที่เกิดขึ้น โดยระยะแรกอาการอาจเป็นๆหายๆ และเริ่มเป็นหนักขึ้น มักปวดมากช่วงกลางคืน และจะมีอาการดีขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ระยะต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการถี่ขึ้น และแย่ลงเมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย กระดูกเมื่อบางลงจะเกิดโอกาสหักได้ง่าย และผู้ป่วยอาจมีอาการปวดจากกระดูกหัก
- กระดูกหัก
เนื่องจากกระดูกบาง จึงเป็นสาเหตุให้กระดูกหักได้ง่ายเพียงแค่ทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวันเท่านั้น การเกิดมักเกิดขึ้นเร็วและมีอาการปวดมาก โดยมักเกิดบริเวณกระดูกยาวเช่นกระดูกแขน กระดูกขา หรือกระดูกสันหลัง
10 อาหารเพิ่มแคลเซียมชะลอกระดูกพรุน ดูแลตัวเองไม่ต้องรอให้สูงอายุก่อน!
- ภาวะกดทับไขสันหลัง
เมื่อเซลล์มะเร็งเข้าไปที่กระดูกหลัง มันสามารถขยายตัวใหญ่ขั้นและไปกดทับไขสันหลังได้ อาการแรกๆที่เกิดขึ้นคืออาการปวด อาการต่อมาผู้ป่วยอาจมีอาการแขนหรือขาทั้งสองข้างอ่อนแรงหรือชา และอาจมีอาการไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้
เป็นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ภายใน 24-48ชั่วโมง ยิ่งได้รับการรักษาที่เร็วเท่าไหร่ ผู้ป่วยก็จะมีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้มากขึ้นเท่านั้น
- ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งที่ไปที่กระดูกนั้น ทำให้มีการสลายของแคลเซียมออกจากกระดูกเข้ามาที่กระแสเลือดมากขึ้น เกิดภาวะแคลเซียมสูงในเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น อาการท้องผูก ปัสสาวะบ่อย ซึมลง กล้ายเนื้ออ่อนแรง สับสน หมดสติ หรือไตวายได้
อย่างไรก็ตามการรักษาตัวมะเร็งหลัก เช่นการให้ยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน ยาพุ่งเป้า หรือยาอื่นๆ อาจไปส่งผลหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็งที่กระดูกด้วย ทำให้ลดอาการปวดลง นอกจากนั้นยังมีการใช้ยาแก้ปวด ซึ่งมีหลากหลายตัวและวิธีที่สามารถใช้ลดความปวดได้ การรักษาอื่นๆ เช่นการฉายรังสีที่กระดูกบริเวณที่มีปวด หรือการผ่าตัดก็เป็นวิธีลดความเจ็บปวดได้เช่นเดียวกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
กระดูกหักเสี่ยงอะไรบ้าง รักษาไม่ถูกอาจพิการ เช็กวิธีป้องกัน-ดูแลรักษา
ความลับวิตามิน กินได้ทุกวัน-อาหารบางชนิดกินเยอะเสี่ยงขาดวิตามิน?