วิธีออกกำลังกายเพิ่มมวลกระดูก ลดภาวะกระดูกพรุนเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจ
การออกกำลังกายนับเป็นยาวิเศษที่ทำให้เราหลีกหนีโรคภัยต่างๆ เผย วิธีการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกระดูก ป้องกันภาวะกระดูกพรุน แตกหักง่าย
องค์การอนามัยโลกมีรายงานว่าสถิติผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนทั่วโลกเพิ่มขึ้นและมีอายุเฉลี่ยน้อยลงเรื่อยๆ รู้หรือไม่ ? การออกกำลังกาย เป็นประจำ คืออีกแนวทางปฏิบัติที่ช่วยป้องกันคุณจาก “โรคกระดูกพรุน” ในอนาคตได้ เพราะกระดูกของคนเราจะมีทั้งความแข็งแรง ยืดหยุ่น ทนทานต่อแรงกดดันและแรงกระแทก ในขณะที่ “ภาวะกระดูกพรุน” คือ ภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลง ส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรงลดลงไปด้วย
ออกกำลังกายหนักเกินเสี่ยงกระดูกพัง! เผยวิธีป้องกันการบาดเจ็บ
3 วิธีออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยความดันสูง-เบาหวานช่วยชะลอโรค

โดยปกติความหนาแน่นของมวลกระดูกจะสูงสุดเมื่ออายุ 30 ปี และค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ทำให้ภาวะกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดขึ้นในคนสูงอายุมากกว่านั่นเอง
วิธีการออกกำลังกายเพิ่ม “มวลกระดูก”
- Weight Bearing Exercise การออกกำลังกายโดยใช้เท้าและขา หรือมือและแขน ในการรับน้ำหนักของตัวเอง เช่น การเต้นแอโรบิก ฟุตบอล บาสเก็ตบอล แบดมินตัน วิ่ง หรือการเดิน ซึ่งการออกกำลังกายวิธีนี้ไม่เพียงช่วยให้กระดูกแข็งแรง แต่ยังส่งผลดีต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจอีกด้วย
- Strengthening / Resistance Exercise หรือการออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักหรือแรงต้านจากร่างกายของเราเอง พร้อมกับใช้แรงต้านหรือน้ำหนักจากภายนอก เช่น การยกน้ำหนัก (Weight Training) ที่เราพบเห็นบ่อยๆ ตามฟิตเนส ซึ่งการออกกำลังกายประเภทนี้จะส่งเสริมให้กระดูกได้ทำงานมากที่สุดและช่วยเพิ่มมวลกระดูกได้มากกว่าวิธีแรก แต่การออกกำลังกายลักษณะนี้อาจเหมาะกับหนุ่มสาววัยรุ่นหรือวัยทำงานมากกว่าวัยสูงอายุ
“กระดูกพรุน” คือภัยเงียบที่อาจเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นก่อนออกกำลังกายโดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบที่ใช้ความแข็งแรง เช่น เวทเทรนนิ่งอาจต้องมีการตรวจเช็คมวลกระดูกเพื่อเลือกประเภทการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับความแข็งแรงของกระดูกมากที่สุด
ทั้งนี้หากคุณชอบมีอาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดสะโพก หรือปวดเข่า อยู่บ่อยๆ ควรตรวจมวลกระดูกโดยไม่ต้องรอให้สูงวัย
เทคนิคเริ่มต้นมือใหม่หัดออกกำลังกาย ปลุกไฟให้สุขภาพดีรับปีใหม่!
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
หลักการออกกำลังกายป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ป้องกันการวูบเฉียบพลัน!