นักวิชาการ มช. เผยวิธีตรวจสอบ“ข้าวเก่า”ด้วยตัวเอง เช็กปนเปื้อนหรือไม่?
นักวิชาการ มช. เผยวิธีใช้กล่องกระดาษและกระดาษคาร์บอนสีดำเจาะรูด้านบนส่องด้วยหลอดยูวี สามารถตรวจสอบเบื้องต้นได้ ว่าปนเปื้อนอะฟลาท็อกซิน ย้ำแม้จะตัดส่วนที่ขึ้นราทิ้งออกไป แต่ก็กระจายไปทั่วแล้ว
รศ.พันทิพา พงษ์เพียจันทร์ รองศาสตราจารย์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก จากกรณีโพสต์ก่อนหน้าที่เตือนถึงการกินข้าวเก่า 10 ปีว่า เสี่ยงสารพิษและเชื้อราหลายชนิดว่า
ที่ผ่านมาเคยเอาเรื่องข้าวขึ้นราของตัวเองมาโพสต์ จนลืมไปแล้ว พอดีท่านผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สอบถามมา นึกขึ้นได้ จึงค้นมาแนะนำให้ความรู้อีกครั้งในการตรวจสอบสารพิษจากเชื้อราในเบื้องต้น ปกติเราตรวจสอบในกล่องดำ น่าจะมีคนทำขายอยู่นะ
นักวิชาการ ชี้ ข้าว 10 ปีสารพิษจากเชื้อราเพียบ บริโภคเสี่ยงมะเร็ง
พร้อมรับจบ!“บิ๊กทิน” หนุนซื้อข้าว 10 ปีเลี้ยงกำลังพล หากมีคุณภาพ
หรือทำเองโดยใช้กล่องกระดาษและกระดาษคาร์บอนสีดำก็ได้ เจาะรูด้านบนให้หลอดยูวีเสียบได้ ภาพที่นำมาแสดงอาจไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีกล่องดำ แค่เอากระดาษสีดำและปิดไฟมืดพร้อมผ้าคลุมอีกชั้น ทำตอนกลางคืน จะเห็นการสะท้อนแสงชัด ของโคจิกแอซิด ที่
บ่งบอกว่ามีอะฟลาท็อกซิน สามารถตรวจในกระเทียม พริกป่น ฯลฯ ได้ และขอย้ำอีกครั้งว่า
- สารพิษจากเชื้อรา ไม่ได้มีแค่อะฟลาท็อกซิน มันมีมากกว่านั้น
- เชื้อรา 1 ชนิด ผลิตสารพิษได้หลายชนิด และ สารพิษ 1 ชนิด เกิดจากเชื้อราได้หลายชนิด
- สารพิษจากเชื้อราส่วนใหญ่เป็นท็อกซิน กินแล้วไม่ดิ้นตายทันทีเหมือนพวกยาพิษ (poison) แต่จะค่อยๆสะสมไปเรื่อยๆ จนร่างกายเกิดเจ็บป่วย เช่นมะเร็งเป็นต้น
- สารพิษจากเชื้อราที่เกิด แม้จะล้างราออกไปแล้ว แต่สารพิษยังมีอยู่
- แม้จะตัดส่วนที่ขึ้นราทิ้งออกไป แต่สารพิษได้กระจายไปทั่วแล้ว เช่นกลีบกระเทียมจุดสีน้ำตาลถูกตัดออกไปแล้ว หรือผลไม้/ขนมปังที่เราคิดว่าตัดหรือบิดเอาส่วนที่เน่าเสียทิ้งไปแล้ว แต่สารพิษกระจายไปทั้งกลีบ ทั้งแผ่นแล้ว
อ.อ๊อด ห่วงข้าว 10 ปีมี "อะฟลาท็อกซิน" สารก่อมะเร็งอันตรายมาก
“อะฟลาท็อกซิน”สารก่อมะเร็งที่เพียง 1 ไมโครกรัมเสี่ยงทำลายตับ อันตรายถึงชีวิต
สมศักดิ์ ยังไม่กล้าตอบข้าว 10 ปี กินได้หรือไม่ พร้อมรับตัวอย่างตรวจโภชนาการ