นวดแผนไทย VS กายภาพบำบัด แตกต่างอย่างไร? เผยข้อห้ามและใครบ้างไม่ควรนวด
อาการปวดเมื่อยล้า แน่นอนว่าเป็นหลายคนต้องพบเจอ ยิ่งตึงเครียดมากเท่าไหร่ ยิ่งปวดคอบ่าไหล่เท่านั้น เผยข้อแตกต่างระหว่างนวดแผนไทย และกายภาพบำบัด และข้อห้ามที่ควรระวัง
หลายคนเมื่อมีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ หรือแม้แต่อาการบาดเจ็บจากการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นกีฬา การยกของหนัก มักจะหันไปพึ่งการนวดเพื่อผ่อนคลาย เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆ แต่ความจริงแล้วการรักษาที่ถูกต้องอาจจะต้องใช้นักวิชาการและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา เพื่อฟื้นฟูอาการเจ็บปวดของร่างกายได้อย่างตรงจุด
นวดแผนไทย VS กายภาพบำบัด
- นวดแผนไทย เป็นการจัดระเบียบร่างกายทำไปเพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่างๆ
คอแข็ง-ร้าวลงแขน สัญญาณ“หมอนรองกระดูกคอเสื่อม” อันตรายจากพฤติกรรม
ชวนรู้จัก ICE BATHING ศาสตร์ความเย็นช่วยฟื้นฟูบำบัดนักกีฬา

กระตุ้นการการไหลเวียนโลหิต กระตุ้นการทำงานของเส้นเลือดและกล้ามเนื้อให้ดีขึ้น การนวดเป็นเพียงการใช้มือเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เช่น นวด คลึง รีดเส้น เหยียบ ยัน กดจุด เป็นต้น
ข้อห้ามและข้อควรระวังในส่วนผู้ให้บริการ
- ห้ามนวดบริเวณที่เป็นมะเร็ง
- ผู้ที่มีไข้สูงเกิน 38.5 องศา
- บริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน
- ผู้ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
- กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ที่ยังไม่หายดี
- โรคติดเชื้อทางผิวหนังทุกชนิด
ผู้ที่ควรระวังการนวด
- สตรีมีครรภ์
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
- ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก
- ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง
- ผู้ที่เพิ่งรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ (ไม่เกิน 30 นาที) และก่อนให้บริการนวดไทย

กายภาพบำบัด เป็นวิทยาศาสตร์สุขภาพเกี่ยวกับการบำบัด ป้องกันและรักษาความเจ็บปวด มีการจัดการปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวและความบกพร่องของร่างกาย โดยอาจจะใช้มือหรือเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อช่วยในการบำบัดก็ได้ การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดจะทำในเชิงเทคนิคทางการแพทย์ มีกระบวนการรักษาที่ชัดเจน เช่น การสอบประวัติคนไข้ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยอาการและจัดทำแผนการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอาการปวดด้วยกายภาพบำบัดจะต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา โดยนักกายภาพบำบัดจะตรวจร่างกาย รวมถึงสอบถามอาการและกิจกรรมของผู้ป่วยในแต่ละวัน จากนั้นจะวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วย การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น รวมทั้งฟื้นฟูและเสริมสร้างความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทาน ความสมดุลในการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เมื่อเข้ารับการทำกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะเริ่มบำบัดด้วยเทคนิคบำบัดด้วยมือ และเทคนิคอื่นๆ เช่น ประคบร้อน ประคบเย็น รักษาด้วยอัลตราซาวด์ หรืออาจจะกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดบวม
สัญญาณบาดเจ็บจากกีฬาที่ควรหยุดพักไม่ควรซ้ำ เสี่ยงบาดเจ็บรุนแรง
นอกจากนี้อาจได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วยการออกกำลังกายยืดเส้น ฝึกความแข็งแรงของร่างกาย ยกน้ำหนัก หรือฝึกเดิน โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยฝึกการออกกำลังกายให้ผู้ป่วยจนสามารถทำได้เองที่บ้าน ทั้งนี้การทำกายภาพในท่วงท่าต่างๆ ก็ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล และต้องอยู่ภายใต้การแนะนำจากคุณหมอหรือผู้ช่วยอย่างใกล้ชิดซึ่งจะต้องทำอย่างถูกวิธี เพราะไม่เช่นนั้น นอกจากจะไม่ได้ช่วยบรรเทาให้อาการปวดเหล่านั้นทุเลาลง ยังอาจจะทำให้อาการปวดทรุดหนักยิ่งกว่าเดิมได้
ดังนั้นเมื่อเราทราบแล้วว่าการทำกายภาพบำบัดและการนวดแผนไทยมีความแตกต่างกันทั้งเทคนิคการรักษาและผลลัพธ์หลังการรักษา เพราะฉะนั้นหากคุณรู้สึกปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ทำงานออฟฟิศ คนที่ต้องยกของหนักอยู่เป็นประจำ คนที่เล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ บุคคลเหล่านี้ก็ควรที่จะเลือกวิธีการรักษาอาการเจ็บปวดต่างๆ ด้วยวิธีการกายภาพบำบัดเพื่อหาสาเหตุของอาการเจ็บปวดดังกล่าว เพระบางครั้งการแก้ที่ปลายเหตุด้วยวิธีการนวดอาจจะเป็นเพียงการบรรเทาอาการต่างๆ เท่านั้น แต่ถ้าเราทราบถึงต้นตอของความเจ็บปวดเหล่านี้แล้ว เราก็จะสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชิวิตหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น หรือเรียกง่ายๆ ว่าไปรักษาอย่างตรงจุดจะดีกว่านั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4 และ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
กรมการแพทย์ เตือนนวดต้นคอผิดชีวิตเปลี่ยน เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
เป็นโสดอย่างมีคุณภาพ สร้างโอกาสให้ตัวเองมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ