สปสช.แจงดรามาต่างด้าวล้นโรงพยาบาล ยอมรับมีมานนานแล้ว แต่สิทธิต่างกับคนไทย
กลายเป็นดรามากรณีมีบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลแถบชายแดนรายหนึ่ง ออกมาเรียกร้องผ่านสื่อออนไลน์ ให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาแก้ปัญหาคนต่างด้าวเข้ามารักษาจำนวนมาก โดยเฉพาะการมาคลอดลูก ซึ่งส่วนหนึ่งรู้แนวทางเรื่องของการขอใช้สิทธิกองทุนภาครัฐของไทยด้วย ทั้งที่ภาระงานไปจนถึงเข้าถึงของคนไข้ชาวไทยก็ลำบากกันอยู่แล้ว ล่าสุดเราตรวจสอบกับโฆษก สปสช. ยอมรับว่าปัญหาดังกล่าวมีมานานแล้ว แต่สิทธิของคนต่างด้าวต่างจากคนไทย
จากกรณีเพจเฟซบุ๊ก “Drama-addict” โพสต์ข้อความโดยสรุปได้ว่า มีบุคลากรการแพทย์ รพ.ชายแดนแห่งหนึ่ง เราปัญหาเรื่องของคนไข้ชาวต่างด้าว อย่างเช่นกรณี หญิงตั้งครรภ์เมียนมา ที่มีจำนวนมากกว่าคนไทยถึงสองเท่า โดยหญิงตั้งครรภ์รายดังกล่าวเข้ามารักษา ใช้สิทธิชำระเงินเอง ค่าผ่าตัดคลอด ลูกที่ต้องนอน NICU ค่าใช้จ่ายรวมๆหลายแสน คนไข้มาพร้อมกับล่ามที่พูดภาษาไทยได้ บอกรู้ว่าหลังจากที่ลูกคลอด เขาสามารถเอาใบรับรองการเกิด ไปทำสิทธิเพื่อรักษาฟรีได้
สปสช. ยันไม่ปรับหลักเกณฑ์ สิทธิบัตรทอง “มะเร็งรักษาทุกที่” ย้ำไม่ต้องมีใบส่งตัว
25 ธ.ค.นี้ นายกฯ แพทองธาร ลุย คิกออฟ 30 บาทรักษาทุกที่ทั่วไทย

"เขารู้กันขนาดนี้ ส่งต่อกันไปขนาดนี้ แล้วประเทศไทยจะแบกรับต่อไปไหวแค่ไหน ไม่ใช่เฉพาะแค่ค่ารักษา แต่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น การเข้าถึงระบบสาธารณสุขของคนไทยที่ล่าช้าลง ตามวอร์ด มีแต่ต่างชาติเต็มไปหมด“จากนั้นก็พูดถึงประเด็น ”กองทุนสิทธิ ท.99“ และการ ”ซื้อบัตร UC“ ที่ได้สิทธิการรักษาเทียบเท่าคนไทย อยากให้ตรวจสอบสิทธิ์ ท.99 ที่จัดตั้งขึ้นมาตรงนี้ มาจากภาษีประชาชนคนไทยมั้ยหลังจากนั้นก็มีคอมเม้นต์นึงน่าสนใจมาจากบุคลากรทางการแพทย์ อธิบายเพิ่มเติม เนื้อหาโดยรวมบอกว่า “ปัญหายาวนานแก้ไขไม่ได้สักที ยิ่งรบกันยิ่งหนีมา รอการแก้ไขจากส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง ถ้าเจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหนเราไม่สามารถปฏิเสธ”
“ประชากรข้ามชาติทุกคนที่เข้ามาในไทยต้องมีการขึ้นทะเบียน มีประกันสุขภาพต่างชาติ เป็นกฏหมายบังคับ แต่ความเป็นจริงลงทะเบียนน้อยมาก”
“สิทธิ์ชำระเงินเอง ไม่มีเงินจ่ายก็จะเข้าสู่ระบบลูกหนี้ แต่คนไข้ไม่มีเงินจ่ายก็รีดเลือดเอากับปู โชคดีบางส่วนก็รับผิดชอบค่าใช้จ่ายโดย NGO”
“เด็กที่เกิดมีสิทธิ์ซื้อบัตรประกันสุขภาพต่างชาติเด็ก ส่วนบัตรรอพิสูจน์สัญชาติ มีงบรัฐบาลจัดสรรมาให้ซึ่งถือเป็นการช่วยสถานพยาบาล”
“เห็นใจเจ้าหน้าที่ทุกคนรวมถึงตัวเอง แต่ทุกอย่างมีหลักการของมันอยู่ ภาระงานก็หนักมากจริงๆ ถ้ามีเจ้าหน้าที่เพียงพอจะดีกว่านี้มาก ที่สำคัญรัฐบาลควรจผลักดันให้ลงทะเบียน และซื้อบัตรประกันสุขภาพทุกคน“
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลดังกล่าว ทีมข่าวพีพีทีวีไปดูเนื้อหาก็จะเห็นว่าหลักๆ คนไข้ต่างชาติตามโรงพยาบาลชายแดน มี 3 ประเภท คือ
- คนที่เข้าข่ายกองทุน ท.99
- ต่างด้าวที่ซื้อบัตรประกันสุขภาพตามกฎหมาย
- ต่างด้าวที่เข้ามารักษาใช้สิทธิชำระเอง
โดยสิทธิกองทุน ท.99 หรือ กองทุนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ คือกลุ่มที่ไทยกำหนดไว้
- กลุ่มคณะรัฐมนตรีรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร เช่น มีบัตรประจำตัวเข้าเมืองถูกกฎหมาย ฯ
- กลุ่มได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราว เช่น มีปัญหาการส่งกลับ มีบัตรประจำตัวเข้าเมืองชั่วคราวและบุตร
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ทีมข่าวพีพีทีวีไปตรวจสอบกับ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะโฆษก สปสช. ระบุว่างบประมาณที่ใช้คณะมนตรีมีมติให้ เป็นงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะแยกจากกองทุนหลักประกันสุขภาพที่คนไทยทั่วไปใช้เมื่อถามว่าตอนนี้กลายเป็นปัญหาเรื่องการเบียดบังสิทธิ์คนไทยที่อยู่ในระบบการรักษาไหม ทพ.อรรถพร บอกว่าต้องยอมรับว่าสถานการณ์ชายแดนเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ซึ่งถ้ามีสิทธิ์ได้ก็ต้องยอมรับว่าตัวของคนไข้เข้าข้อกฎหมายบางข้อส่วนกรณีหญิงคลอด ถ้าพ่อเป็นคนไทย เด็กก็จะได้สัญชาติตามกฏหมาย แต่ถ้าทั้งคู่เป็นต่างด้าว ก็ต้องดูว่าอยู่ในเงื่อนไขของ ท.99 หรือไม่