แนะวิธีรักษาฟื้นฟูร่างกาย เมื่อมีอาการ "ลองโควิด" (Long COVID)
เมื่อมีอาการลองโควิด สามารถรักาาฟื้นฟูได้ด้วยตนเองได้ แต่หากมีอาการหนักขึ้นควรพบแพทย์
ภาวะลองโควิด (Long COVID) คือภาวะที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19) ซึ่งอาการเหล่านี้อาจจะเกิดตั้งแต่เริ่มเป็นโควิด-19 ต่อเนื่องเป็นระยะยาว หรืออาจจะเกิดขึ้นภายหลังที่หายจากอาการทั้งหมดแล้ว
อาการที่เกิดขึ้น เช่น รู้สึกไม่สบายเหมือนกับไม่หายจากการเจ็บป่วยสักที ที่พบบ่อยคือการหายใจไม่อิ่มและไม่สุด มีอาการเหนื่อย เพลีย มึนศีรษะ คิดอะไรไม่ออก หรือซึมเศร้าและมีภาวะเครียด บางรายอาจปวดเมื่อย ปวดข้อ ใจสั่น โดยมักจะเป็นอยู่ในช่วงราว 1-3 เดือน หลังจากหายจากการติดเชื้อโควิด-19
LONG COVID มีผลแค่ไหนกับโรคสมองและระบบประสาท
เชื้อหมด ฤทธิ์ไม่หมด เช็กสุขภาพหลังหายจากโควิด-19
ภาวะลองโควิด (Long COVID) ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านใดได้บ้าง
เมื่อเกิดการติดเชื้อโควิด-19 ไวรัสจะทำให้เกิดการอักเสบได้ทั่วร่างกาย ซึ่งอาจจะไปทำลายกล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ประสาท เซลล์สมอง ถุงลมปอด ไต หรืออวัยวะอื่นๆ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือทำให้มีอาการของ Long COVID ที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันในแต่ละคน ทั้งนี้ผู้ที่มีอาการรุนแรงขณะติดเชื้อ อาจทำให้เชื้อไปทำลายอวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกายให้มีความผิดปกติมากกว่าผู้ที่มีอาการน้อย แต่ก็ไม่ใช่ทุกราย
การฟื้นฟูร่างกายเมื่อมีภาวะลองโควิด (Long COVID)
โดยรวมแล้ว ภาวะลองโควิด ไม่มีการรักษาที่จำเพาะ แต่จะเป็นการรักษาตามอาการร่วมกับการทำกายภาพบำบัด และอื่นๆ ดังนี้
กลุ่มที่มีอาการ เเต่ไม่พบความผิดปกติของอวัยวะ
- การปรึกษาจิตแพทย์ : เมื่อมีปัญหาทางด้านจิตใจ อารมณ์ มีความเครียด หรือซึมเศร้า
- การทำกายภาพบำบัดปอด : เมื่อมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจไม่สุด หายใจไม่อิ่ม จะต้องฝึกการหายใจใหม่
- การทำกายภาพบำบัดร่างกาย : คนที่รู้สึกเหนื่อย เพลีย กล้ามเนื้อไม่มีแรง และปวดเมื่อย จะเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การวิ่งเยาะๆ เพื่อลดอาการภาวะลองโควิดและฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงขึ้น
กลุ่มที่มีอาการ และมีความผิดปกติของอวัยวะ ได้แก่
- มีอาการเหนื่อย และตรวจพบเนื้อปอดมีพังผืด
- เส้นเลือดอุดตัน
- หัวใจอักเสบ
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องเข้ารักษาในระบบ และติดตามอาการในระยะยาว
เคล็ดลับช่วยปอดผู้ป่วยลองโควิด (Long COVID) แข็งแรง
1.นอนหลับพักผ่อนให้เหมาะสม โดยตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน รับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้าอย่างน้อย 30 นาที หลีกเลี่ยงคาเฟอีน อาหารมื้อดึก งดการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน เพื่อสร้างสุขอนามัย ในการนอนหลับที่ดี
2.ควรมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อยึดซี่โครง ด้วยการฝึกหายใจเข้าและออก โดยในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อรอบ ประมาณ 3 – 5 รอบ และระหว่างรอบให้พัก 30 – 60 วินาที จะช่วยเพิ่มความสามารถในการหายใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการเหนื่อย หายใจลำบาก ช่วยขับเสมหะ และป้องกันการเกิด ภาวะปอดแฟบ โดยสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกหรือคาร์ดิโอ ประมาณวันละ 30 – 60 นาที 3 – 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว รอบบ้าน ย่ำเท้าอยู่กับที่ การเต้นแอโรบิก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบหายใจ การไหลเวียนของเลือด การทำงานของหัวใจและปอด ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย
3.ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ บริเวณกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน สะบัก และ ลำตัวด้านข้าง เพราะเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ช่วยขยายกระบังลมและซี่โครง ทำให้หายใจได้ดีขึ้น หากกล้ามเนื้อเหล่านี้มีการตึงตัว ยึดเกร็ง ทรวงอกจะไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ พื้นที่ในทรวงอกลดน้อยลง ทำให้สมรรถภาพ การทำงานของปอดลดลงได้ ดังนั้น ควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยการเหยียดแขน โก่งหลัง ชูแขนเอียงลำตัว และผสานมือที่ศีรษะ กางศอก แอ่นอก ยืดเหยียดในแต่ละท่าจนรู้สึกตึง ค้างไว้ 15 วินาที ให้ปฎิบัติท่าละ 2 รอบ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้ปอดแข็งแรง ทั้งนี้ การฝึกบริหารปอด ออกกำลังกายแบบแอโรบิก และยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ควรทำเป็นประจำเพื่อฟื้นฟูร่างกาย สร้างสุขภาพที่ดี
4.หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะควันบุหรี่ธรรมดาหรือแม้แต่บุหรี่ไฟฟ้า ฝุ่น PM2.5
โควิดวันนี้ (5 พ.ค. 65) พบติดเชื้อเพิ่ม 1.8 หมื่นราย สลดเสียชีวิตอีก 54 ราย
WHO ยกไทยเป็นประเทศต้นแบบรับมือโควิด เตรียมแถลงในเวทีโลกปลาย พ.ค.นี้
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลพญาไท, กรมการแพทย์, กรมอนามัย