WHO ยกไทยเป็นประเทศต้นแบบรับมือโควิด เตรียมแถลงในเวทีโลกปลาย พ.ค.นี้
WHO ยกย่องไทยเป็นประเทศต้นแบบลำดับที่ 3 รับมือกับโควิด-19 เตรียมแถลงในเวทีโลกปลาย พ.ค.นี้ สอดคล้องกับสงกรานต์ยอดผู้ติดเชื้อ-ความเครียดคนไทยลดลง
จากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) เดินทางเยี่ยมประเทศไทย และได้กล่าวยกย่องให้ประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบลำดับที่ 3 ที่มีการบริหารจัดการ และรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยจะให้ไทยเป็นประเทศนำร่องที่จะได้เผยแพร่ประสบการณ์สู่สาธารณะในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก 2565 ปลายเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี ให้เป็นประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก และเพื่อให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือ กลไกใหม่รองรับวิกฤติด้านสาธารณสุขในอนาคต
WHO เชื่อมั่นให้ไทยเป็นลำดับที่ 3 ร่วมเตรียมพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
"วัคซีนโควิด 19" ทำไมต้องฉีดกระตุ้น แล้วต้องฉีดอีกกี่เข็มถึงจะพอ
คณะผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกและทีมประเทศไทย พบ 5 ปัจจัยสำคัญที่ประเทศไทยได้รับการยกย่องให้เป็นประเทศต้นแบบ คือ
- มีการสนับสนุนโดยผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดนโยบายประเทศ
- ระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งจากการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ทศวรรษ
- มีความร่วมมือเชื่อมต่อทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และภาคการศึกษา รวมถึง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
- มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชน
- มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล
ส่วนอุปสรรคและความท้าทายที่ยังสามารถพัฒนาได้ คือ การบูรณาการข้อมูลจากหลายแหล่ง, การดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงาน ผู้อาศัยในชุมชนแออัด ให้เข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น, การเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินในเขตเมืองและระบบปฐมภูมิ, การต่อยอดหรือสร้างความยั่งยืนในการใช้นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการจัดการกับขยะทางการแพทย์หรือขยะติดเชื้อ
โดยมีข้อเสนอให้เพิ่มการลงทุนเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้สามารถใช้งานต่อเนื่อง พัฒนากำลังคนแบบสหสาขาและนำกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีไปเตรียมพร้อมรับมือการระบาดครั้งต่อไป ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสุขภาพ สุขภาวะของประชาชนที่ครอบคลุมถึงกลุ่มเปราะบาง ยกระดับขีดความสามารถการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน ยา ชุดตรวจ และเวชภัณฑ์ พัฒนากลยุทธ์ในการบูรณาการข้อมูล รวมถึงค้นหาและบันทึกตัวอย่างที่ดี บทเรียนที่สำคัญในการจัดการกับการระบาดใหญ่เพื่อเผยแพร่ต่อไป
โควิดวันนี้ (5 พ.ค. 65) พบติดเชื้อเพิ่ม 1.8 หมื่นราย สลดเสียชีวิตอีก 54 ราย
จับตาโควิด Ba.4 และ Ba.5 ทำปอดอักเสบ หนีภูมิ "ติดเชื้อ - วัคซีน" ได้
ด้าน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังจากเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีจำนวนไม่ก้าวกระโดด และไม่พบกลุ่มแพร่ระบาดหรือการเกิดพื้นที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ต้องขอขอบคุณประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดทั้งก่อนและหลังการเดินทาง เครือข่ายสาธารณสุข อสม. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ร่วมสนับสนุนการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ
สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่คืนความสุขและสร้างรอยยิ้มให้กับประชาชนได้อีกครั้งหลังจากที่หลายคนต้องห่างเหินจากครอบครัวเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุให้ไม่สามารถเดินทางได้
ขณะที่ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวด้วยว่า การที่ประเทศไทยได้รับการชื่นชมจากองค์การอนามัยโลกนั้น สอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพจิตของคนไทยในขณะนี้ซึ่งพบว่าดีขึ้นกว่าช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2565 เป็นอย่างมาก
“จากการสำรวจผ่านระบบ Mental Health Check In พบว่า ประชาชนมีความเข้มแข็งทางใจเพิ่มขึ้น โดยอัตราความเครียดลดลงจากร้อยละ 4.74 เหลือเพียงร้อยละ 2.55 อัตราเสี่ยงซึมเศร้าลดลงจากร้อยละ 5.74 เหลือเพียงร้อยละ 3.12 และเสี่ยงฆ่าตัวตายลดลงจากร้อยละ 3.14 เหลือเพียงร้อยละ 1.54”แพทย์หญิงอัมพร กล่าว
ผลจากการสำรวจดังกล่าวกรมสุขภาพจิตมีแผนที่จะพัฒนาข้อมูลเพื่อให้ความรู้ความรู้ในการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตผ่านทางระบบ Mental Health Check In รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้สุขภาพจิตเข้าไปอยู่ในระบบหมอพร้อม (D-Mind MorPromt) อีกด้วย
กระทรวงสาธารณสุขและทุกภาคส่วนจะเร่งสร้างและพัฒนากลไก รวมไปถึงจัดทำองค์ความรู้ในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพกายและจิตอย่างต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนให้การสนับสนุนมาตรการต่าง ๆ เช่นนี้ต่อไป เพื่อทำให้คนไทยได้กลับมามีรอยยิ้ม และพบกับความสุขเหมือนเดิมอีกครั้ง