แพทย์ผิวหนังชี้พักผ่อนน้อย เพิ่มความเสี่ยงเกิด "โรคงูสวัด"
งูสวัดไม่มีอันตรายร้ายแรง และหายเองได้เป็นส่วนใหญ่ แต่บางคนหลังจากแผลหายแล้วอาจมีอาการปวดตามเส้นประสาทนาน หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคงูสวัด เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ที่เรียกว่า ไวรัสวาริเซลลา (varicella virus) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคสุกใส และเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสเริม โดยที่ผู้ป่วยเมื่อเป็นโรคสุกใสแล้ว เมื่อหายจากโรค เชื้อไวรัสจะเข้าไปซ่อนในปมประสาท และจะถูกกระตุ้นเมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ หรือภูมิคุ้มกันต่ำลง เช่น
นอนน้อย-ร่างกายอ่อนแอ เสี่ยง "งูสวัด" กำเริบ
เช็กความแตกต่างของ "ผื่น - ตุ่ม" โรค "ฝีดาษลิง - อีสุกอีใส - เริม"
- ร่างกายอ่อนเพลีย มีความเครียด
- การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
- กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้ยาเคมีบำบัด
ผื่นแดง ลมพิษ หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 อาการแบบนี้อันตรายไหมนะ?
"เริม" ติดไม่ง่ายแต่ติดได้ รู้ชัดแยกความต่าง "อีสุกอีใส - ฝีดาษลิง"
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมารแสดงเบื้องต้นคือ
- ปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนัง
- มีผื่นแดงตามด้วยตุ่มน้ำในลักษณะเป็นกลุ่มเรียงตัวตามแนวเส้นประสาท
- ตุ่มน้ำสามารถกลายเป็นตุ่มหนองและแตกเป็นแผลหรือเป็นสะเก็ดตามมาได้
- หลังจากอาการทางผิวหนังหายแล้ว อาจมีอาการปวดเรื้อรังในผู้ป่วยบางราย รวมถึงอาจมีแผลเป็นตามหลังได้
ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้ความเห็นว่าการรักษาตามอาการและการรักษาร่วมกับการใช้ยาต้านไวรัสเพื่อช่วยให้การหายของโรคเร็วขึ้น และให้ยาแก้ปวดปลายเส้นประสาท เพื่อป้องกันและลดความทุกข์ทรมานจากโรคงูสวัด ส่วนวิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ รวมไปถึงการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ด้วยการดูแลสุขภาพ ลดความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคงูสวัดได้