"เริม" ติดไม่ง่ายแต่ติดได้ รู้ชัดแยกความต่าง "อีสุกอีใส - ฝีดาษลิง"
โรคเริมเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่ถึงแม้จะติดต่อกันได้ไม่ง่ายนัก แต่ก็สามารถติดต่อกันได้ จึงควรเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
เริม เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes simplex หรือ HSV ซึ่งเป็นไวรัสต่างชนิดกับงูสวัด และอีสุกอีใส ถึงแม้จะก่อให้เกิดตุ่มน้ำบนผิวหนังได้คล้ายๆกัน อีกทั้งยังมีความคล้ายคลึงกับโรคฝีดาษลิงที่มีการระบาดในโซนยุโรปด้วย แต่หากรู้ลึกถึงอาการของแต่ละโรคก็สามารถช่วยให้จำแนกโรคในเบื้องต้นได้
รู้จักโรคเริม
เชื้อไวรัส HSV มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ
- HSV-1 มักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
- HSV-2 ทำให้เกิดแผล (cold sore) บริเวณริมฝีปาก พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
เช็กความแตกต่างของ "ผื่น - ตุ่ม" โรค "ฝีดาษลิง - อีสุกอีใส - เริม"
อาการ "ฝีดาษลิง" มี 2 ช่วง เผยอัตราการเสียชีวิต - จุดต่างของ "ฝีดาษ"
โรคเริมที่ปาก
- เป็นแผลบวมแดง มีตุ่มพองมีน้ำใส ๆ และรู้สึกคัน ขึ้นบริเวณริมฝีปาก หรือในช่องปาก
- มีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว
- มีอาการปวดหรืออักเสบ แต่จะไม่มากเท่าเกิดบริเวณอวัยวะเพศ
- แผลจะแห้งตกสะเก็ดและหายไปเอง 7 -10 วัน
โรคเริมที่อวัยวะเพศ
- เป็นแผลบวมแดง มีตุ่มพองมีน้ำใส ๆ และรู้สึกคัน ขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ช่องคลอด ทราวหนัก ถุงอัณฑะ หรือต้นขาด้านใน
- รู้สึกแสบขัดเวลาปัสสาวะ
- มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่เป็นแผล
- มีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว
- มีอาการดังกล่าวประมาณ 2 วัน ถึง 2 สัปดาห์ จนแผลแห้งและตกสะเก็ดไป
สารพัด "โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์" ควรป้องกันและสังเกตอาการ
เช็กอาการ "ซิฟิลิส" ไม่รีบรักษาโรคลุกลามทำลายอวัยวะอื่นๆ
การติดต่อ
- สัมผัสกับผู้ที่เป็นโรคในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ
- รับประทานอาหารร่วมกันหรือใช้สิ่งของร่วมกัน
- มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ
- สัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ในที่สาธารณะ
เป็นแล้วรักษาหายไหม?
อาการของโรคเริมเมื่อหายแล้ว สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ เพราะเมื่อเราได้รับเชื้อไวรัสแล้ว เชื้อจะอยู่ในร่างกายของเราไปตลอดชีวิตหากไม่ทำการรักษาที่ถูกต้อง
โดยหากอาการกำเริบ อาจจะกำเริบได้อีกหลายๆ ครั้งในเวลาต่อมา เมื่อเวลาผ่านไประยะฝังตัวของโรคจะกินเวลานานขึ้น โดยจะมีความรุนแรงของอาการน้อยลงเรื่อยๆ และหายเร็วกว่าในครั้งแรก ๆ อาการที่เกิดขึ้นซ้ำจะไม่รุนแรงเท่าครั้งแรก กรณีที่เป็นบ่อย ความถี่ 6 ครั้งต่อปี ควรพบแพทย์
เผยสาเหตุ "ฝีดาษลิง" ทำไมถึงเกี่ยวข้องกับโรคหนองใน ซิฟิลิส และเหตุที่คุมยาก
ผู้เชี่ยวชาญ คาดโรคฝีดาษลิง อาจเป็นโรคระบาดใหญ่ได้
สาเหตุที่ทำให้ โรคเริมกลับมาเป็นซ้ำ ๆ ได้
- เมื่อร่างกายอ่อนแอ
- ภูมิคุ้มกันต่ำ
- เครียด
- การพักผ่อนไม่เพียงพอ
- มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
- ทานยาที่กดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
การรักษา
ในปัจจุบันยังไม่ยาหรือวัคซีนในการรักษาโรคติดต่อนี้ให้หายขาดได้ เราทำได้เพียงบรรเทาและลดการแพร่เชื้อของแผลและอาการให้หายเร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งยาในการรักษาอาการนั้นต้องได้รับการสั่งยาจากแพทย์แล้วเท่านั้น เพราะยาบรรเทาปวดทั่วไปอาจไม่เหมาะสมกับเชื้อไวรัสและอาการที่เป็นอยู่
รู้จัก “HIV” มีอาการ-ติดต่ออย่างไร ทำไมไม่ควรนำมาเทียบ “ฝีดาษลิง”
การรักษาอาการเบื้องต้นด้วยตนเอง
นอกจากทานยาตามที่คุณหมอให้มาอย่างครบถ้วนแล้ว การดูแลแผลให้ถูกต้องจะช่วยให้หายเร็วขึ้นอีกด้วย ซึ่งเราสามารถทำเองดังนี้
1.ทำให้แผลแห้งอยู่เสมอ หลังอาบน้ำ ควรเช็ดบริเวณแผลให้แห้ง ไม่ปล่อยให้ชื้น เพราะจะทำให้แผลหายช้า
2.เสื้อผ้าที่มีความโปร่ง ไม่รัดบริเวณที่เกิดแผล
3.ตัดเล็บให้สั้น รักษาความสะอาดของเล็บอยู่เสมอ พยายามไม่แกะ เกา บริเวณแผล
4.น้ำเกลือหรือน้ำต้มสุกสามารถใช้ทำความสะอาดแผลได้
5.รักษาสุขอนามัย ป้องกันการติดเชื้อในเนื้อเยื่อ และอวัยวะ และสู่ผู้อื่น แยกของใช้ เครื่องใช้ ส่วนตัว รวมทั้งแก้วน้ำและช้อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก โรงพยาบาลเปาโล รังสิต