อาการ "ฝีดาษลิง" มี 2 ช่วง เผยอัตราการเสียชีวิต - จุดต่างของ "ฝีดาษ"
เผยอาการฝีดาษลิงมีทั้งป่วยไม่รุนแรงจนถึงป่วยระดับรุนแรงปานกลาง โดยอาการแบ่งเป็นช่วง 2 ช่วง และมีจุดต่างจากฝีดาษด้วย
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับอีสุกอีใส และไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า กำลังเป็นที่จับตาทั่วโลกเนื่องจากพบผู้ป่วยแล้วใน 18 ประเทศ ส่วนใหญ่เป้นประเทศในโซนยุโรป ซึ่งองค์การอนามัยโลก ยังคงยืนยันว่าเป็นโรคที่สามารถควบคุมได้นั้น
ด้านกรมควบคุมโรคได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระยะการฟักตัวและอาการของโรคฝีดาษลิง ดังนี้
ระยะฟักตัว
- หลังได้รับเชื้อโรคนี้มีระยะฟักตัว 7 - 14 วัน หรืออาจนานได้ถึง 21 วัน
ตอบหลายข้อสงสัย "โรคฝีดาษลิง" รู้รับมือแบบไม่ตื่นตระหนก
"อนุทิน" ขอ ปชช.อย่าตื่นตระหนก "ฝีดาษลิง" จับตาพรุ่งนี้ประชุมมาตรการ
อาการโรคฝีดาษลิง
โดยปกติโรคนี้จะแสดงอาการป่วยไม่รุนแรง ถึงรุนแรงปานกลาง แบ่งเป็น 2 ช่วง
- ช่วงอาการนำ (วันที่ 0- 5) ไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อและหมดแรง ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ ตั้งแต่อาการแรกที่มีมักจะเป็นอาการไข้ แต่ระยะออกผื่นมักจะเป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อได้มาก
- ช่วงออกผื่น (ภายใน 1-3 วันหลังมีไข้)
- มีลักษณะการกระจายเริ่มจากบริเวณหน้า และกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Centrifugal pattern)
- ส่วนใหญ่ (95%) ของผู้ป่วยจะมีผื่นที่หน้า และ 75% มีผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ยังสามารถพบผื่นได้ที่บริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ช่องปาก (709) อวัยวะเพศ (30%)
- ลักษณะของผื่นจะพัฒนาไปตามระยะดังต่อไปนี้ ผื่นนูนแดง (Maculopapular) ตุ่มน้ำใส (Vesicles) ตุ่มหนอง (Pustules) และสะเก็ด (Crust) โดยพบว่าหากผู้ป่วยมีผื่นลักษณะสะเก็ดขึ้นจนแห้งและร่วงหลุดไป จะไม่มีการแพร่เชื้อได้
อนามัยโลก ประกาศ “ฝีดาษลิง” เป็นภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศ
สหรัฐฯ กำลังพิจารณา “ฝีดาษลิง” อาจถูกจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ส่วนใหญ่หายเองได้ แต่สามารถพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้
- เด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่วนบุคคล เช่น มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- มีอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อซ้ำซ้อน ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และการติดเชื้อที่กระจกตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น
ความแตกต่างระหว่างโรค "ฝีดาษ" และ "ฝีดาษลิง"
- ฝีดาษจะไม่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต เช่นเดียวกับในฝีดาษลิง ภายใน 1-3 วัน
กรณีเสียชีวิต
โดยประมาณโดยมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10 % โดยมีสาเหตุจากภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในปอด การขาดน้ำและภาวะสมองอักเสบ
ไทยมีวัคซีนฝีดาษสำรอง 5 แสนโดส จ่อจัดซื้อรุ่นใหม่ ใช้ฉีดเฉพาะกลุ่ม
เปิดไทม์ไลน์ผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" รายแรกหนี เร่งตามตัว - ตรวจกลุ่มเสี่ยง