รู้จัก “HIV” มีอาการ-ติดต่ออย่างไร ทำไมไม่ควรนำมาเทียบ “ฝีดาษลิง”
รู้จัก “HIV” อีกหนึ่งโรคที่สามารถติดเชื้อมาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน เหมือน “ฝีดาษลิง” แต่ทำไมถึงไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกัน ไขคำตอบที่นี่!
เอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่กอให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากไม่ทำการรักษาก็จะเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “โรคเอดส์” (AIDS) คือ ระยะท้ายของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มดันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ โดยที่เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายและกินเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ซีดีโฟร์” (CD4)
ในบางรายอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่จะทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำลง และมีโอกาสติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ วัณโรค ปอดบวม เป็นต้น และหากไม่ได้ทำการรักษาก็จะทำให้เสียชีวิต
หมอเทียบปัญหา "ฝีดาษลิง-โควิด" มีโอกาสเป็น "การระบาดทั่วโลก" ใหญ่พอกัน
ปัสสาวะแสบขัด ปวด มีผื่นที่อวัยวะเพศ สัญญาณ "โรคหนองใน"
ไทยคงสถานะ "ฝีดาษลิง" เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ยังไม่เข้าข่ายโรคติดต่ออันตราย
ส่งผลให้ HIV และ เอดส์ นับเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลก และยังเป็นโรคที่คุกคามมนุษยชาติที่ร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่งในปัจจุบันนี้
รู้จัก “HIV”
เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานบกพร่อง ทำให้ร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีเสี่ยงต่อการติดเชื้อและป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายมากกว่าคนปกติ
อาการของผู้ติดเชื้อ “HIV”
ผู้ที่ได้รับเชื้อ HIV ประมาณ 14-28 วัน จะมีอาการคล้ายกับอาการไข้หวัดใหญ่ทั่วไป หรือคล้ายกับอาการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี และอาการเหล่านี้จะหายไปเองภายในไม่กี่สัปดาห์ และจะไม่แสดงอาการอีกในระยะเวลาหลายปี โดยช่วงดังกล่าวจะเป็นช่วงที่ผู้ติดเชื้อ สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้ง่าย
- มีไข้ หนาวสั่น
- อาการไอเรื้อรัง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปวดเมื่อย เมื่อยล้าตามตัว
- ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ
- คลื่นไส้อาเจียน
- ผิวหนังเป็นผื่น ผิวหนังอักเสบ รอยฟกช้ำเป็นจุด
- ต่อมน้ำเหลืองบวม
- น้ำหนักลด ท้องเสียเรื้อรัง
- เหงื่อออกมากผิดปกติ
ทังนี้ หากพบว่ามีอาการดังกล่าวไม่ควรปล่อยปละละเลย ให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจเลือดเพื่อความแน่นอน เพราะอาการของผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์อาจมีอาการที่คล้ายคลึงกับโรคอื่นได้ และหากผลการตรวจพบว่ามีเชื้อ HIV จะได้ทำการรักษาและป้องกันการกระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้อย่างทันท่วงที
หายห่วง! โลกมีวัคซีนป้องกัน "ฝีดาษลิง" แนะ 6 ข้อ ช่วยให้ห่างไกลโรค
เช็กความแตกต่างของ "ผื่น - ตุ่ม" โรค "ฝีดาษลิง - อีสุกอีใส - เริม"
“HIV” มีกี่ระยะ ต่างจากเอดส์อย่างไร
ระยะแรกเริ่ม : ผู้ป่วยในระยะนี้จะแสดงอาการผิดปกติน้อยคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือไข้ทั่วไป และอาการต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 14-28 วัน แล้วหายไปได้เอง เป็นระยะที่วินิจฉัยได้ค่อนข้างยาก จึงต้องใช้วิธีการตรวจเลือดเพื่อความชัดเจน
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ : ผู้ป่วยในระยะนี้มักแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV และสารภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนี้ จึงสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ เรียกว่าเป็น “พาหะ” (Carrier) และทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรคจนมีจำนวนลดลง เมื่อลดลงต่ำมาก ๆ ก็จะเกิดอาการเจ็บป่วย
ระยะป่วยเป็นเอดส์ : เป็นระยะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายเสียหายหนัก ทำให้ร่างกายติดเชื้อและเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ฉวยโอกาสเข้ารุมเร้า เรียกว่า “โรคติดเชื้อฉวยโอกาส” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อที่รักษาค่อนข้างยาก และอาจติดเชื้อชนิดเดิมซ้ำ ชนิดใหม่ หรือหลายชนิดร่วมกัน ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต
ผู้ป่วยในระยะนี้จะแสดงอาการที่รุนแรงอย่างชัดเจน เช่น อ่อนเพลียมาก น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ท้องร่วงเรื้อรัง มีไข้เรื้อรัง วัณโรคที่ปอด มะเร็งชนิดต่าง ๆ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
*ผู้ติดเชื้อ HIV ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 ไม่เรียกว่าเป็นผู้ป่วย “โรคเอดส์”
ติดต่ออย่างไร
- การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทวารหนัก โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นช่องทางการติดต่อที่มากที่สุด
- ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ใช้เข็มสัก เข็มเจาะร่างกายร่วมกัน
- โดนเข็มตำ โดยเข็มนั้นมีเลือดที่ติด HIV ปนเปื้อนอยู่
- เลือด น้ำอสุจิ หรือ น้ำหล่อลื่นช่องคลอดที่มีเชื้อ HIV ปนอยู่ สัมผัสกับแผลเปิดบนร่างกาย
- ติดต่อผ่านแม่สู่ลูก ในระหว่างตั้งครรภ์ คลอด หรือให้นมบุตร
ทั้งนี้ เชื้อ HIV ไม่สามารถติดต่อผ่านน้ำลายได้ ดังนั้นการจูบ การกินอาหารหรือน้ำดื่มร่วมกัน การใช้ช้อนส้อมร่วมกัน รวมไปถึงการกอด การจับมือ การไอ การจาม และการใช้ห้องน้ำร่วมกัน ไม่ใช่ช่องทางติดต่อ
การป้องกันการติดเชื้อ
- สวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่คู่สมรส หรือคนที่ไม่รู้จัก
- ไม่ใช้เข็มร่วมกับคนอื่น
- หากต้องการสักตามผิวหนัง หรือเจาะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ต้องมั่นใจว่าสถานบริการนั้น ๆ ปลอดภัยไว้ใจได้
- ตระหนักไว้เสมอว่า ไม่ว่าใครก็มีโอกาสติดเชื้อเอชไอวีได้ทั้งสิ้น จึงไม่ควรไว้วางใจคนที่เป็นคู่นอน และป้องกันตัวเองอย่างรอบคอบ
- ตรวจเลือดก่อนการแต่งงาน เพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายของทั้งคู่ไม่มีการติดเชื้อ หรือเป็นโรคอื่น ๆ ที่สามารถแพร่สู่คู่สมรสได้
- รับการตรวจเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- หากสงสัยว่าได้รับเชื้อ HIV ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อกินยาต้านเชื้อ HIV แบบฉุกเฉินหรือยา PEP (เพ็บ) ภายใน 72 ชั่วโมง
- หากมีความเสี่ยงสูงที่จะรับเชื้อ สามารถกินยา PrEP (เพร็บ) ซึ่งเป็นยาที่กินก่อนที่จะได้รับเชื้อ หรือป้องกัน HIV ได้
การดูแลผู้ติดเชื้อ “HIV”
- ในปัจจุบัน HIV รักษาไม่หายขาด มีเพียงการรักษาด้วยยาต้าน HIV
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
- ดูแลสุขภาพจิตใจ
ไม่แนะนำให้เทียบ “HIV” กับ “ฝีดาษลิง” เหตุแพร่ต่างกัน
แม้โรค “HIV” และ “ฝีดาษลิง” จะมีลักษณะการติดเชื้อที่เหมือนกัน คือ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน อาจทำให้เกิดความเสี่ยงได้
โดย นายอนุทิน ชาญวีระกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เคยกล่าวไว้ในการประชุมคณะผู้บริการ เตรียมแนวทางรองรับโรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง (Mokeypox) หลังองค์การอนามัยโลก (WHO) เพิ่งยกระดับประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) ระบุว่า ฝีดาษลิง ส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัส เช่น สัมผัสแผล เพราะฉะนั้นหากเราล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ตลอดเวลา ใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่าง จะเป็นมาตรการที่สามารถป้องกันได้ทั้งโควิด-19 และฝีดาษลิง
อย่างไรก็ตาม ฝีดาษลิงที่มีลักษณะเดียวกับโรค HIV คือ หากมีเพศสัมพันธ์สุ่มเสี่ยง ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยง หากป้องกัน เหมือนป้องกันโรค HIV ก็จะปลอดภัย และช่วยป้องกันการติดเชื้อได้
แต่ทาง ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา โพสต์เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า “ไม่แนะนำให้นำ HIV กับ ฝีดาษลิง มาเทียบกัน เพราะการแพร่เชื้อใช้วิธีต่างกัน เช่น ถุงยางอนามัยป้องกัน HIV ได้ แต่กันฝีดาษลิงไม่ได้”
นอกจากนี้ ฝีดาษลิงไม่ได้แพร่ผ่านทางเพศสัมพันธ์อย่างเดียว ทำให้สหรัฐอเมริกาอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะจัดให้โรคนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ ซึ่งการติดเชื้อสามารถเกิดได้หลายช่องทางหลัก ๆ ดังนี้
- สัมผัสโดยตรงกับตุ่มแผล หรือ สารคัดหลั่งที่มีไวรัสอยู่
- สัมผัสสิ่งของ หรือ วัตถุ ที่มีการเจือปนของไวรัสที่ผู้ป่วยไปสัมผัสมา เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หรือ โทรศัพท์มือถือ
- รับเชื้อผ่านจากแม่สู่ลูกในครรภ์ผ่านทางรก
- รับจากสัตว์ที่ติดเชื้อ
- รับเชื้อจากละอองฝอย จากการคุยกันกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย หรือ จากกิจกรรมที่อยู่ใกล้ชิดกันมาก ๆ เช่น การกอดกัน จูบกัน หรือ ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งในส่วนนี้เป็นอีกหนึ่งข้อแตกต่างที่โรค HIV ไม่สามารถแพร่เชื้อผ่านช่องทางนี้ได้
สหรัฐฯ กำลังพิจารณา “ฝีดาษลิง” อาจถูกจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
พบแล้ว! ชายไนจีเรียป่วย “ฝีดาษลิง” ถูกจับกุมได้ในกรุงพนมเปญ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท, กรมควบคุมโรค, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ มูลนิธิเพื่อรัก