ใครบ้างเข้าข่าย "ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง" สังเกตอย่างไร ต้องกักตัวกี่วัน?
เช็กเลย! หากคุณตกเป็น "ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง" กับผู้ติดเชื้อโควิด 19 สังเกตอาการอย่างไร แบบไหนที่เรียกผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แล้วต้องกักตัวกี่วัน?
จากกรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ของไทย ยังคงทวีความรุนแรง และไม่มีทีท่าว่าจะสงบลงเช่นไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ "โอมิครอน" ที่มีการแพร่ระบาดและกระเชื้อได้รวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้ใครหลายคนตกอยู่ในสภาวะเป็น "ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง" หรือ High Risk Contact (HRC) โดยปริยาย ทั้งที่ไม่อาจทราบมาก่อนว่าคนใกล้ตัวติดเชื้อโควิด 19 หรืออาจมาทราบในภายหลัง ซึ่งเลี่ยงไม่ได้
ข้อมูลจาก CDC หน้ากากอนามัยแต่ละชนิด ลดโอกาสติดโควิด-19 ได้เท่าไร
เปิดประสิทธิภาพป้องกันโควิด-19 "วัคซีนฉีดเข็ม 2 กับ เข็ม 3 "
เทียบข้อแตกต่าง ข้อดี ข้อเสีย วัคซีนเข็ม 3-4 ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครึ่งโดส vs ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. โดย พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผอ.สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ฐานะผู้ช่วยโฆษก ศบค. เปิดเผยว่า นิยามของ "ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง" คือ ผู้ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัย ตลอดช่วง ที่มีการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 และมีประวัติในการกระทำข้อหนึ่งข้อใด ต่อไปนี้
1. ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในวันที่ผู้ติดเชื้อเริ่มมีอาการป่วย หรือ ภายใน 3 วันก่อนมีอาการ หรือ
2. อยู่ใกล้/พูดคุยกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ระยะ 2 เมตร นานกว่า 5 นาที หรือถูกจาม ไอ รดจากผู้ติดเชื้อ หรือ
3. อยู่ในสถานที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเทนัก ร่วมกับผู้ติดเชื้อ เกิน 30 นาที
คำถามคือ หากคุณมีประวัติ 1 ใน 3 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงไม่สวมหน้ากากอนามัย ตลอดช่วง ที่มีการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 แน่นอนว่าคุณคือ "ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง" จำเป็นต้องมีการกักตัว เป็นเวลา 7 วัน โดยให้กักตัวที่บ้านหรือสถานที่พัก หากมีสมาชิกอาศัยอยู่ จำเป็นที่ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อหากมีการติดเชื้อ โดยพึงปฏิบัติดังนี้
- สวมหน้ากากอนามัยหากใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสมาชิกคนอื่น
- หมั่นสังเกตอาการ หากมี ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ปวดตัว คั่นเนื้อคั่นตัว ให้รีบตรวจ ATK ทันที แต่หากไม่มีอาการดังกล่าวที่กล่าวมา ให้ตรวจ ATK ในช่วงวันที่ 5 - 6 โดยนับจากวันที่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด 19 ครั้งสุดท้าย
- หากตรวจ ATK มีผลบวก ให้โทรสายด่วน 1330 สปสช. เพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ติดเชื้อเข้าข่าย รับการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) และดูแลตามโปรแกรม สปสช.
- แต่หากตรวจ ATK ผลเป็นลบ อนุญาตให้ออกไปข้างนอก หรือไปทำงานนอกบ้านได้ (ถ้าจำเป็น) แต่ไม่ควรไปในสถานที่แออัด หรือขนส่งสาธารณะที่มีผู้ใช้บริการหนาแน่น ในระยะนี้ให้สังเกตอาการตัวเอง และตรวจ ATK ซ้ำในวันที่ 10 หากมีผลเป็นลบ ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ ภายใต้มาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล
เช็กรายชื่อ 10 จังหวัดติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด กทม.-สมุทรปราการ ยอดพุ่ง
"กล่าวโดยสรุปแล้ว ถ้าเราเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง ต้องกักตัวเองเป็นเวลา 7 วัน ตรวจ ATK ในวันที่ 5 - 6 แล้วสังเกตอาการไปจนครบ 10 วัน แล้วให้ตรวจ ATK ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ถ้าผลลบ ให้กลับไปใช้ชีวิตได้ปกติ" พญ.สุมนี ระบุ
แนะนำวิธีดูแล... "คุณแม่ตั้งครรภ์ป่วย COVID-19 "