นายณัฏฐนันท์ บัวศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 3 สำนักงาน ป.ป.ท. เขต 5 ที่ได้เปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวีว่า จากการลงพื้นที่สอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น ในเรื่องนี้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา หลัง “แม่บ้าน” ให้ข้อมูลผ่านสื่อ ว่าถูกหักหัวคิวเงินเดือน จ่ายเจ้าหน้าที่อุทยานเป็นเวลา 7 ปี พบว่า “แม่บ้าน” คนดังกล่าว เป็นผู้ลงนามในสัญญาจริง แล้วก็พบว่ามีเงินโอนเข้าราว 3 หมื่นกว่าบาท
ป.ป.ท.สอบทุจริต อุทยานฯแม่ตะไคร้
ปลอมลายเซ็นคนขับรถ ตั้งแม่บ้านอุทยานฯเป็นนักวิจัย
แต่รับเงินจริงเพียงเดือนละ 6 พันบาท และเพิ่มเป็น 7 พันบาทในภายหลัง โดยมีพยานบุคคลยืนยันว่า “แม่บ้าน” ได้รับเงินเพียงเท่านั้น และมีเจ้าหน้าที่อุทยานรับเงินส่วนที่เหลือไป ซึ่งจากการสอบสวนฝ่ายผู้ร้องให้การว่า เชื่อว่าเอาไปให้กับหัวหน้าอุทยานฯ ในขณะนั้น
นายณัฏฐนันท์ ยังระบุอีกว่า จากการสอบถาม “แม่บ้าน” ให้ข้อมูลว่า จะมีสมุดเล่มหนึ่งที่ลงชื่อผู้ปฏิบัติงาน ซึ่ง “แม่บ้าน” ยืนยันไม่เคยพบคนเหล่านี้มาปฎิบัติหน้าที่ แต่มีการเอาชื่อมาอ้างว่าเอาเงินส่วนที่เหลือไปจ่าย ทำให้ประเด็นนี้ มีมูลในการใช้ชื่อ “แม่บ้าน” เบิกเงินรายเดือน โดยไม่ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง เป็นพฤติการณ์ส่อไปในการเบิกค่าแรงเป็นเท็จ
สมุดลงชื่อผู้ปฏิบัติงานนี้ เป็นหนึ่งในเอกสารที่กลุ่มผู้ร้องเรียน เคยให้ทีมข่าวพีพีทีวีดู จากสมุดจะพบมีโพสต์อิทแปะไว้ ระบุรายชื่อทีมงาน 6 คน พร้อมวงเล็บว่า “ให้เซ็นทุกวัน” อีกหน้าเป็นวันที่และเวลาการปฎิบัติงานของเดือนมกราคม 2560 พบแต่ละวันจะมีคนลงชื่อ 5-6 คน ลงเวลามาและเวลากลับตรงกันทุกคน คือเข้างาน 8.00 น. และออกงาน 17.00 น.
สมุดเล่มนี้ นายณัฏฐนันท์ บอกว่า “แม่บ้าน” ยอมรับ เป็นคนเซ็นชื่อเองทั้งหมด และไม่เคยเห็นคนอื่นๆ ที่มีรายชื่อ เข้ามาปฏิบัติงาน ซึ่งขณะนี้ ป.ป.ท. เขต 5 ทราบตัวบุคคลในรายชื่อที่ระบุว่าเป็นลูกทีมของแม่บ้านแล้ว และเตรียมลงไปสอบสวนขยายผลต่อ โดยนายณัฏฐนันท์ ยืนยัน มีวิธีการตรวจสอบว่ากลุ่มคนที่มีรายชื่อเป็นลูกทีมของ “แม่บ้าน” เคยมาทำงานจริงหรือไม่
นายณัฏฐนันท์ บัวศักดิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 3 สำนักงาน ป.ป.ท. เขต 5 ที่ได้เปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวีว่า จากการลงพื้นที่สอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้น ในเรื่องนี้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา หลัง “แม่บ้าน” ให้ข้อมูลผ่านสื่อ ว่าถูกหักหัวคิวเงินเดือน จ่ายเจ้าหน้าที่อุทยานเป็นเวลา 7 ปี พบว่า “แม่บ้าน” คนดังกล่าว เป็นผู้ลงนามในสัญญาจริง แล้วก็พบว่ามีเงินโอนเข้าราว 3 หมื่นกว่าบาท แต่รับเงินจริงเพียงเดือนละ 6 พันบาท และเพิ่มเป็น 7 พันบาทในภายหลัง โดยมีพยานบุคคลยืนยันว่า “แม่บ้าน” ได้รับเงินเพียงเท่านั้น และมีเจ้าหน้าที่อุทยานรับเงินส่วนที่เหลือไป ซึ่งจากการสอบสวนฝ่ายผู้ร้องให้การว่า เชื่อว่าเอาไปให้กับหัวหน้าอุทยานฯ ในขณะนั้น
นายณัฏฐนันท์ ยังระบุอีกว่า จากการสอบถาม “แม่บ้าน” ให้ข้อมูลว่า จะมีสมุดเล่มหนึ่งที่ลงชื่อผู้ปฏิบัติงาน ซึ่ง “แม่บ้าน” ยืนยันไม่เคยพบคนเหล่านี้มาปฎิบัติหน้าที่ แต่มีการเอาชื่อมาอ้างว่าเอาเงินส่วนที่เหลือไปจ่าย ทำให้ประเด็นนี้ มีมูลในการใช้ชื่อ “แม่บ้าน” เบิกเงินรายเดือน โดยไม่ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง เป็นพฤติการณ์ส่อไปในการเบิกค่าแรงเป็นเท็จ
สมุดลงชื่อผู้ปฏิบัติงานนี้ เป็นหนึ่งในเอกสารที่กลุ่มผู้ร้องเรียน เคยให้ทีมข่าวพีพีทีวีดู จากสมุดจะพบมีโพสต์อิทแปะไว้ ระบุรายชื่อทีมงาน 6 คน พร้อมวงเล็บว่า “ให้เซ็นทุกวัน” อีกหน้าเป็นวันที่และเวลาการปฎิบัติงานของเดือนมกราคม 2560 พบแต่ละวันจะมีคนลงชื่อ 5-6 คน ลงเวลามาและเวลากลับตรงกันทุกคน คือเข้างาน 8.00 น. และออกงาน 17.00 น.
สมุดเล่มนี้ นายณัฏฐนันท์ บอกว่า “แม่บ้าน” ยอมรับ เป็นคนเซ็นชื่อเองทั้งหมด และไม่เคยเห็นคนอื่นๆ ที่มีรายชื่อ เข้ามาปฏิบัติงาน ซึ่งขณะนี้ ป.ป.ท. เขต 5 ทราบตัวบุคคลในรายชื่อที่ระบุว่าเป็นลูกทีมของแม่บ้านแล้ว และเตรียมลงไปสอบสวนขยายผลต่อ โดยนายณัฏฐนันท์ ยืนยัน มีวิธีการตรวจสอบว่ากลุ่มคนที่มีรายชื่อเป็นลูกทีมของ “แม่บ้าน” เคยมาทำงานจริงหรือไม่
ส่วนประเด็นที่ฝ่ายผู้ร้องเรียนกังวลว่าการตรวจสอบจะไม่เป็นธรรม ณัฏฐนันท์ ยืนยันว่า จากการสืบสวนข้อเท็จจริงตอนนี้ไม่มีภัยคุกคามกับผู้ร้อง และ ป.ป.ท. เขต 5 ยินดีถ้าเกิดว่ามีภัยคุกคามถึงตัวผู้ร้องหรือพยาน จะจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรง พร้อมยืนยันว่า ป.ป.ท. เป็นหน่วยงานกลาง ที่ไม่มีส่วนได้เสียทั้งฝ่ายผู้ร้องและฝ่ายผู้ถูกร้อง จึงดำเนินการด้วยความเป็นธรรม รับฟังพยานทั้งสองฝ่าย ไม่มีการช่วยเหลือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแน่นอน