เลือกตั้ง 2566 : 6 มิ.ย. “ส.ว.เสรี” เปิดพื้นที่ให้หารือรัฐบาลแห่งชาติ

โดย PPTV Online

เผยแพร่

นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา มองว่า รัฐบาลแห่งชาติตามนิยามของนายจเด็จ อาจจะเกิดขึ้นยาก แต่ นายกรัฐมนตรีคนนอก มีโอกาสเกิดขึ้นได้ มากกว่า

นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) บอกว่า การยกเว้นบัญชีนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมือง เปิดทางให้เลือกนายกรัฐมนตรีคนนอก อาจเป็นจุดเริ่มต้น ของการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ได้ โดยนิยาม คำว่า รัฐบาลแห่งชาติ ต่างจาก นายจเด็จ ที่บอกว่า ต้องให้ทุกพรรคร่วมมือกัน

นายเสรี มองว่า ถ้ามีคนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็จะเข้านิยาม รัฐบาลแห่งชาติ แต่ก็ย้ำว่า การจะหาคนนอกที่เหมาะสม ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ ในสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน เต็มไปด้วยความขัดแย้ง เชื่อว่า คงไม่มีใครอยากมารับหน้าที่นี้

เลือกตั้ง 2566 : “ส.ว.จเด็จ” ชูแนวคิดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ

เลือกตั้ง 2566 : ส.ว.เสียงแตก ข้อเสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ชี้เป็นไปได้ยาก

นายเสรี ยังบอกอีกว่า ส่วนตัวเขาไม่ถึงกับเห็นด้วยทั้งหมดกับข้อเสนอตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพราะก็มองเห็นว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือเกิดความปรองดอง แต่ ข้อเสียทำให้ไม่มีฝ่ายค้านตรวจสอบถ่วงดุล แต่ก็ไม่ขัดข้องหากนายจเด็จจะนำเรื่องนี้มาหารือในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ซึ่งตัวเองเป็นประธาน เพราะมองว่ากระบวนการหารือในชั้นกรรมาธิการที่ได้รับฟังความเห็นจากหลายฝ่าย อาจทำให้เรื่องที่ยาก เป็นไปได้ขึ้นมาก็ได้ เชื่อว่าจะได้หารือกัน วันที่ 6 มิ.ย.นี้

นายเสรี ยังบอกด้วยว่า แม้จะหารือกันก่อน แต่การจะตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้นมาจริงๆ ไม่ใช่จู่ๆ นึกจะตั้งก็ตั้งได้ ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่หาทางออกด้วยการเมืองปกติไม่ได้แล้วเท่านั้น

ขณะที่ นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา อีกคน ให้ความเห็นว่า เห็นด้วยกับสิ่งที่นายจเด็จเสนอ มองว่า รัฐบาลแห่งชาติจะช่วยให้เกิดความปรองดอง มองว่า หากมีจริง พรรคการเมืองแต่ละพรรค ก็สามารถผลักดันนโยบายที่เห็นตรงกัน

ตัดนโยบายที่สุดโต่ง เช่น การแก้ไขมาตรา 112 หรือแก้รัฐธรรมนูญหมวด 1 และ 2 ส่วนนายกฯคนกลางเหมาะสมจะเป็นใคร ไม่ขอออกความเห็น ให้ไปดูกันเอง

ขณะที่ สมาชิกวุฒิสภาคนดัง ที่ออกมาแสดงความเห็นเรื่องรัฐบาลแห่งชาติ อย่างนพ.เจตน์ ศิรธนานนท์  มองว่ารัฐบาลแห่งชาติมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่ยังอีกไกล และโอกาสน้อย ต้องผ่านกลไกปกติ คือเลือกประธานสภา และเลือกนายกรัฐมนตรีก่อน ซึ่งก็มองว่ายังไม่ชัดว่าจะมาจากพรรคไหน เพราะมีหุ้น ITV ของนายพิธาเป็นตัวแปร หากกลไกปกติเดินต่อไม่ได้ ถึงจะเกิดขึ้น

ส่วนนายคำนูณ สิทธิสมาน และ นายวันชัย สอนศิริ ยัง ไม่ขอออกความเห็น

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ