โหวตนายก : “อลงกรณ์” ขอให้ทุกฝ่ายมีสติ ยอมรับผลเลือกตั้ง ย้ำ “แพ้คือแพ้ ชนะคือชนะ”


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วอนขอให้ทุกฝ่ายมีสติ เห็นแก่ประเทศชาติ และเคารพผลการเลือกตั้ง

ไม่อยากให้เกิดความรุนแรง เชื่อแก้ไข ม.112 ไม่ง่ายต้องผ่านการลงมติของ ส.ส. และ ส.ว. ยันพรรคก้าวไกลเป็นศัตรูทางการเมือง แต่ประชาธิปไตยต้องมีสปิริต “แพ้คือแพ้ ชนะคือชนะ” ย้ำการแข่งขันจบแล้ว จากนั้น 4 ปี ค่อยมาเลือกตั้งใหม่

เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 นายอลงกรณ์ พลบุตร รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว PPTV  ระบุว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความรุนแรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น และค่อนข้างกังวลใจ จึงอยากให้ทุกฝ่ายมีสติ

คอนเทนต์แนะนำ
โหวตนายก : เกาะติดประชุมรัฐสภา จับตาเลือกนายกรัฐมนตรี
สภาพอากาศวันนี้ 13 ก.ค. 66 “ฝนฟ้าคะนอง” กทม.-ปริมณฑล ฝนตก 30 %
นักวิทย์พบหลักฐานยืนยัน โลกเข้าสู่ยุคสมัย “แอนโทรโพซีน” แล้ว!

เห็นแก่ประเทศชาติและความสงบสุข พร้อมเดินหน้าไปตามหลักของประชาธิปไตย

เราต้องเปลี่ยนผ่านรัฐบาลโดยราบรื่นและรวดเร็ว และให้เคารพผลการเลือกตั้ง มันไม่ทีอะไรที่จะยุ่งยากซับซ้อน นอกจากเรายอมรับผลการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย” นายอลงกรณ์ กล่าว

ส่วนจากกณีที่มติที่ประชุม 25 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้งดออกเสียงโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี  นายอลงกรณ์ ระบุว่า ตนให้ความเคารพในมติของพรรค แต่ถ้าจะมี ส.ส.ของประชาธิปัตย์ ส่วนมติพรรคไปร่วมโหวตหรือไม่นั้น ตนไม่สามารถตอบได้ เนื่องจะเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. และประชาธิปัตย์ ก็เหมื่อนกับพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่ต้องยึดถือตามมติพรรค

“ทนายอานนท์” ขอ ส.ว.โหวต “พิธา” นั่งนายกฯ ชูร่วมเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน

โหวตนายก : “อมรัตน์” เชื่อโหวต “พิธา” ครั้งเดียวผ่าน ถึงเวลาหลุดพ้นจากปลักที่จมมานับ 10 ปี

รักษาการรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุอีกว่า ตoได้เสนอความคิดเห็นส่วนตัวกับพรรค ว่าการลงมติโหวตแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีมีความสำคัญมาก และตนได้ทำหน้าที่สมาชิกของพรรคคนหนึ่ง เสนอทางเลือกที่ดีสำหรับพรรคในการลงมติโหวตแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดยืนทางทางการเมืองสำคัญ

ทั้งนี้ยังคงมีความกังวลในเรื่องของการแก้ไขกฎหมาย ม.112 ของพรรคก้าวไกล ที่สวนทางของพรรคประชาธิปัตย์ที่มีอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  แต่ก็ต้องมาดูอีกทีว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งดูได้จากการที่พรรคก้าวไกลไม่ได้นำเรื่องนี้บรรจุใน MOU ของ 8 พรรคร่วมรัฐบาลใหม่ และการแก้ไขกฎหมาย ม.112 ก็ต้องเสนอเข้ากระบวนการของสภาผู้แทนราษฎ และผ่านการกลั่นกรองของวุฒิสภา ส่วนตัวจึงเชื่อว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะผ่านได้ง่าย

ก้าวไกลเสนอด้วยการใช้คำว่า การแก้ไขกฎหาย มันเป็นการยอมรับกระบวนการนิติรัฐของประเทศ เป็นกระบวนการที่ต้องเสนอกฎหมายเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร และผ่านการกลั่นกรองของ ฒิสภา ผมไม่เชื่อว่าร่างกฎหมายนี่จะผ่าน”

สำหรับการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี กรณีถือหุ้นสื่อบริษัทไอทีวี (ITV) นายอลงกรณ์ ยอมรับว่า มีผลต่อการตัดใจของพรรคประชาธิปัตย์ต่อการโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งนอกเหนือจากความกังวลเรื่องแก้ไข ม.112 ก็ยังมีเรื่องของการเลือกตั้งในครั้งนี้ แม้พรรคก้าวไกลจะเป็นแข่งคู่ต่อสู้ทางการเมืองกัน แต่ก็ต้องยอมรับหลักประชาธิปไตย แพ้คือแพ้ ชนะคือชนะ

ไม่อย่างนั้นเราจะมีการเลือกตั้งไปทำไม ผมไม่ได้เชียร์คุณพิธา ผมไม่ได้เชียพรรคก้าวไกล มิหนำซ้ำยังเป็นคู่แข้งคู่ต่อสู้ทางการเมืองกันด้วย แต่ประชาธิปไตยต้องมีสปิริต แพ้คือแพ้ ชนะคือชนะ แล้วก็เมื่อใดก็ตามที่เห็นถึงความไม่ถูกต้อง เห็นถึงความเข้าใจผิด ก็ต้องต่อสู้ให้ ไม่ใช่ต่อสู้ให้คุณพิธา หรือพรรคก้าวไกล ต่อสู้ให้ความยุติธรรม”

“ตอนนี้ก็เหมืนกัน ผมคิดว่าการเสนอในเรื่องการโหวตนายกรัฐมนตรี ที่มาจากเสียงของประชาชนที่สามารถรวมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรได้ มันเป็นหลักพื้นฐานของประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุดครับ”

“อยากเห็นการเคารพผลการเลือกตั้ง เพราะถ้าไม่มีการเลือกจตั้ง เราจะรู้ได้อย่างไรว่าประชาชนต้องการอะไร ระบบประชาธิปไตยคืออำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยนะครับ เมื่อเรามีการเลือกตั้ง ผลออกมาอย่างไร เราก็ต้องให้ความเคารพ เรื่องการแข่งขัน เรื่องการพิจารณา เรื่องนโยบาย สารพัดอย่างมันจบลงแล้ว  แล้ว 4 ปี ก็มาเลือกตั้งกันใหม่”

คอนเทนต์แนะนำ
โหวตนายก : “ส.ว.กิตติศักดิ์” ลั่น งดออกเสียง ไม่เลือก "พิธา" เป็นนายกรัฐมนตรี
ปิดจราจรหน้ารัฐสภา-แนะเส้นทางเลี่ยง รับมือม็อบโหวตนายกฯ
ประมวลภาพบรรยากาศ มวลชนชุมนุมสกายวอล์ค แสดงพลังก่อนโหวตนายกฯ

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ