แถลงนโยบายรัฐบาล: “ประเสริฐ” เน้นนโยบายใช้เทคโนโลยียกระดับชีวิต-เศรษฐกิจ-ความโปร่งใส


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“ประเสริฐ” เผย ไทยต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ผลักดันไทยเป็นรัฐบาลดิจิทัล ใช้เทคโนโลยียกระดับชีวิต เศรษฐกิจ และความโปร่งใสของภาครัฐ

เมื่อเวลาประมาณ 15.20 น. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส ในรัฐบาลเศรษฐา ได้ชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายของกระทรวงฯ

โดย รมว.ดีอีเอสยืนยันว่า รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องการพัฒนาระบบดิจิทัลของประเทศ ชี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต บล็อกเชนระดับชาติ E-Government

"เศรษฐา" เผย ครม.นัดแรก พรุ่งนี้เคาะลดค่าไฟ

มท.ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ว่าฯทุกจังหวัด คุมเข้มกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน หวั่นซ้ำรอย“กำนันนก”

แถลงนโยบายรัฐบาล : 'วิทยา' ติงสมาชิกไร้วินัย อภิปรายอ่านแต่สคริปต์ แต่งตัวเหมือนอยู่โรงละคร

“เรามีความตั้งใจที่จะให้เอาระบบเหล่านี้มารวมกัน เป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้เข้าถึงภาคเศรษฐกิจและภาคการบริการ เพื่อที่จะนำมาสร้างประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนได้มากขึ้น” นายประเสริฐกล่าว

เรื่องแรกที่จะดำเนินการคือ “Go Cloud First” ได้วางกรอบในการขยายเรื่องของคลาวด์ ซึ่งเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเน้นการสร้างคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) และคลาวด์เอกชน (Private Cloud) ที่มีมาตรฐานในการดูแลข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก

นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลมีโครงการที่จะดึงบริษัทชั้นนำทั่วโลกมาลงทุนเรื่องคลาวด์ในประเทศไทย และทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เป็นฮับในเรื่องนี้

ในเรื่องการปรับแนวทางจัดซื้อจัดจ้าง เราจะใช้คลาวด์ เพื่อให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ให้เป็น Open Contracting Policy แบ่งเป็น

  • เรื่องระบบการจ่ายเงินภาครัฐผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
  • เรื่องการเปิดขอใบอนุญาตและติดต่อราชการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์แบบ One Stop Service เพื่อลดดุลยพินิจในเรื่องของการพิจารณาเรื่องภาครัฐ ในการพิจารณาที่จะนำไปสู่การคอร์รัปชัน
  • เรื่องการนำระบบล็อกเชนมาใช้เพื่อความโปร่งใสในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล

ในส่วนของ ดิจิทัลไอดี (Digital ID) นายประเสริฐยืนยันว่า เป็นกรอบที่มีความชัดเจน และขณะนี้กฎหมายได้มีมาตรฐานที่รับรองไว้แล้ว ในด้านการบริการมีทั้ง ThaiD และ ndid ซึ่งเป็นตัวตนของผู้ให้บริการในระบบอินเทอร์เน็ต ที่สามารถทำธุรกรรมทางโลกออนไลน์ต่าง ๆ ได้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน

ในเรื่องของ Smart City หรือเรื่องของการพัฒนาพื้นที่ระดับเมือง ได้ส่งเสริมการนำข้อมูล Big Data เข้ามาใช้ เพื่อเป็นประโยชน์ โดยเชื่อมโยงข้อมูลเมืองในแต่ละชั้นข้อมูล และรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน City Data Platform ซึ่งเป็นวิธีที่สำคัญในการทำให้เป็นเมืองอัจฉริยะ

นายประเสริฐบอกว่า กระทรวงฯ ยังได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขในโครงการ “Health Link” เพื่อให้การรับบริการด้านสาธารณสุขสามารถทำได้ทั่วประเทศ บัตรประชาชนใบเดียว สามารถรักษาได้ทุกโรงพยาบาล นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถเช็กข้อมูลประวัติข้ามโรงพยาบาลได้

นอกจากนั้นยังดำเนินการ “Travel Link” ร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลท่องเที่ยว แสดงให้เห็นการทำงานระหว่างข้อมูลภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งถือว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

“เรากำลังเตรียมการรัฐบาลดิจิทัล โดยจัดทำแผนแม่บทในการบูรณาการ ในเรื่องของความแตกต่างของแต่ละกระทรวง มาพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยทำซูเปอร์แอปฯ ที่รวมทุกแพลตฟอร์มของภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นตัวเก็บข้อมูล ซึ่งจะทำทั้งชั้นที่เป็นโครงสร้าง และที่จะพัฒนาในอนาคต จะเกิดการซิงก์ข้อมูลซึ่งกันและกัน ไม่มีการแยกข้อมูลให้ประชาชนเกิดความสับสนและซับซ้อน” นายประเสริฐกล่าว

รมว.ดีเอสบอกว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีส่วนสำคัญในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) โดยดำเนินผ่านคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่มีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีหลายกระทรวงนั่งอยู่ในคณะกรรมการฯ

สำหรับเรื่องเศรษฐกิจฐานข้อมูล ในระดับภาพรวม ข้อมูลภาครัฐเป็นฐานที่สำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ต่อยอด ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน

เรื่อง Open Data ถือว่าเป็นมาตรการเชิงรุกของรัฐบาล ที่ขณะนี้รัฐบาลในประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างยิ่งได้นำแนวคิด Data Economy มาใช้ เริ่มเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้ภาคธุรกิจและภาคประชาชนได้รับทราบให้เกิดประโยชน์ ได้พัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ และระบบให้บริการแลกเปลี่ยน มีการแบ่งปันเรื่องของสถิติตามมาตรฐานสากล

กระทรวงดีอีเอสยังมีสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็นองค์กรมหาชนได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ จะรับทำแผนแม่บทในการทำแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เกิดนวัตกรรมด้านต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ

“ในเรื่องการบริหารข้อมูล เราได้ทำซูเปอร์แอปฯ โดยระบบบล็อกเชน เก็บข้อมูลต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ผมเรียนว่า การใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ต้องทำควบคู่ไปกับการเคารพสิทธิ์ส่วนบุคคลของพี่น้องประชาชน ผมจึงส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนมีความรู้ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เราเรียกว่า PDPA และเตรียมความพร้อมในการรองรับการบังคับใช้ในเรื่องนี้ให้ทันกับมาตรฐานสากล”

การนำเสนอข้อมูลจะเปลี่ยนแบบ จากการนำเสนอข้อมูลทางตรง ไม่มีการวิเคราะห์ เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ได้ทันที โดยกระทรวงจะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาให้พี่น้องประชาชนและธุรกิจสามารถนำไปใช้เกิดประโยชน์ได้ทันที

รมว.ดีอีเอสเน้นย้ำถึงประโยชน์ของระบบบล็อกเชน และกล่าวว่า “เมื่อหลายปีก่อน ก่อนที่ LINE จะเข้ามามีบทบาทและเป็นช่องทางการสื่อสารของพี่น้องประชชนที่ใช้อย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบัน สมัยก่อนคนใช้ไม่เป็น วันนี้ LINE พี่น้องประชาชนทุกคนในประเทศนี้ ได้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความคุ้นเคย ดังนั้นเชื่อว่า เทคโนโลยีบล็อกเชนจะเป็นเทคโนโลยีในอนาคตที่คนไทยจะต้องคุ้นเคย และสามารถนำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต”

เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน การใช้ประโยชน์จาก IoT กระทรวงฯ มีสถาบัน DEPA มีสถาบัน IoT ซึ่งได้ทำงานระหว่างภาครัฐกับเอกชน เรื่องสตาร์ทอัป เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม IoT และพัฒนามาตรฐานของอุปกรณ์ ในเรื่องความปลอดภัย เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่บัญชีบริการดิจิทัล

การส่งเสริมให้เกิดการนำไปใช้ทางกระทรวงโดย DEPA จัดการส่งเสริม IoT ไปใช้ในภาคส่วนที่มีความสำคัญ ดังนี้ ภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม เรื่องการพัฒนา Smart City ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนและสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตาร์ทอัปที่มีขีดความสามารถ

เราได้มีตัวอย่างการพัฒนาที่มีความยั่งยืน ในหลาย ๆ เรื่องที่เราทำมาแล้ว เรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ระบบ IoT เชื่อมโยงข้อมูลกับบริการจัดคิวรถบรรทุกที่ท่าเรือแหลมฉบัง เรื่องการส่งเสริมกิจกรรมของเทศบาลนครยะลา โดยใช้จากกล้องและจาก IoT เพื่อรับเรื่องร้องเรียนและการจัดเก็บภาษี เรื่องการแก้ขปัญหาการเก็บขยะ เรื่องการส่งเสริมเมืองภูเก็ต ฯลฯ

“เพราะฉะนั้นแล้ว การทำงานของกระทรวง ผมมีแผนงานให้ มีการนำเอาเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของสตาร์ทอัปได้มีโอกาสในการพัฒนาประเทศ โดยผมคิดว่าการเปิดประตูการค้ากับภาครัฐเป็นเรื่องสำคัญ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การส่งเสริมเมืองให้มีการใช้เทคโนโลยีที่มีทั้งข้อมูลเมือง การออกแบบ โครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาเมือง ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในอนาคต”

ขณะที่ประเด็นเรื่องไรเดอร์ที่มีปัญหากับแพลตฟอร์ม นายประเสริฐระบุว่า ราว 2 เดือนก่อน ได้มีผู้ประกอบการไรเดอร์มาเข้าพบที่พรรคเพื่อไทย แล้วก็ได้มายื่นเอกสารถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคิดเวลาทำงาน หรือเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากแลพตฟอร์มต่างประเทศที่มาให้บริการในประเทศไทย

“เรื่องนี้ ผมเองหลังจากที่ได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ก็จะนัดหมายพี่น้องไรเดอร์ทุกคน ได้มาพูดคุยที่กระทรวง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าว แล้วก็จะได้นนำระบบเทคโนโลยีที่กระทรวงดีอีเอสได้พัฒนาขึ้นมา ในรูปแบบต่าง ๆ ได้เข้าสู่กรบวนการเพื่อให้ประชาชนมีความผาสุกต่อไป” นายประเสริฐกล่าว

ครม.เศรษฐา แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา วันที่สอง 12 ก.ย. 2566

ประกาศแจ้งจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด "เข้าบัญชี 18 ก.ย.2566" แน่นอน

ส่อง “ร้านอาหารเกาหลีเหนือ” ในต่างประเทศ ไม่มีลูกค้าแต่เงินสะพัด

ส่องสีใหม่ "iPhone 15" และ "iPhone 15 Pro" ก่อนเปิดตัวกันยายนนี้

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ