บิ๊กทิน ยืนยัน ผลักดันเมียนมาติดอาวุธออกนอกประเทศไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




บิ๊กทิน ยืนยัน ผลักดันเมียนมาติดอาวุธออกนอกประเทศไทย มอบปลัดกระทรวงกลาโหมตรวจสอบ

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงนโยบายความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างประเทศเมียนมา ว่า ไม่ยุ่งเรื่องภายในของประเทศเมียนมา ส่วนเรื่องกองกำลังติดอาวุธกว่าร้อยนาย ที่เข้ามาในบริเวณตำบลแม่จัน จังหวัดตาก ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงกลาโหมไปตรวจสอบข้อมูล พบว่า มีการรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ของประเทศไทยจริง ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เมื่อเมียนมามีการต่อสู้กันทุกครั้ง ก็จะล้นเข้ามาในพื้นที่ชายแดนไทย

“สุทิน” โต้ข่าวตั้ง“น้องชาย-หลานทักษิณ”นั่งที่ปรึกษารมว.กลาโหม ชี้ เป็นเอกสารปลอม

"เศรษฐา" อ้อนชาวเชียงใหม่ แวะซื้อไก่ย่าง บอก "อืมมม ลำ​ ลำ" ตรวจแก้ปัญหาน้ำยั่งยืน

 

 

สำหรับ เคสนี้ทราบว่า ทหารพม่าหลบหนีจากการถูกซุ่มโจมตีของชนกลุ่มน้อยแล้วก็หลบหนีเข้ามา เมื่อเราทราบเรื่อง ก็มีการคณะกรรมการแก้ปัญหา เบื้องต้น ให้ทหารในพื้นที่เข้าเจรจา เพื่อขอให้ ทหารเมียนมากลุ่มนี้ ออกจากเขตแดนไทย

ถ้าหยิบหยก ปัญหาชายแดนไทย - เมียนมา ไปถาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติ อังคณา นีละไพจิตร มองว่า สถานการณ์ในเมียนมา ถือว่า เป็นอาชญากรรมที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สมาชิกอาเซียน ควรเร่งหาทางออกในเรื่องนี้

สำหรับไทย ในฐานะประเทศที่มีชายแดนติดกับเมียนมา ต้องแสดงออกในการแก้ปัญหามากกว่า ซึ่งเป็นโจทย์ยากของรัฐบาลชุดใหม่ เพราะ รัฐบาลชุดที่ผ่านมา นายดอน ปรมัตถ์วินัย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เลือกวิธีการแก้ไขปัญหาชายแดนไทย - เมียนมา โดยใช้ การทูตแบบเงียบๆ ไม่ได้ส่งเสียง หรือ แสดงออกในเวทีอาเซียนมากพอ
 

 

ขณะที่ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึง สถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมา ว่า ปัญหาที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากเมียนมา เช่น ปัญหายาเสพติด และการลักลอบข้ามแดนนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศจะต้องมีการพูดคุยกัน

แต่ปัญหาภายในเมียนมาทั้งความขัดแย้ง กระบวนการทางประชาธิปไตย รวมไปถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับ ออง ซาน ซูจี อดีตที่ปรึกษาแห่งรัฐแห่งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเมียนมา เป็นเรื่องที่เมียนมาจะต้องบริหารจัดการ โดยที่ไทยจะต้องไปหารือร่วมกับอาเซียน เพื่อช่วยให้เกิดสันติภาพในเมียนมา

ส่วนจะมีการพูดคุยกับเมียนมานอกรอบที่ไม่ได้อยู่ในกรอบอาเซียนเหมือนรัฐบาลชุดก่อนหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามความจำเป็น และปรึกษาประธานอาเซียนก่อน ซึ่งตอนนี้ก็สามารถประชุมผ่านทางออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นจะต้องบินไปพบปะหารือกันโดยตรง

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องยากหากไทยจะหารือกับอาเซียนก่อนที่จะมีการพูดคุยกับเมียนมา แต่หากเป็นเรื่องระหว่างประเทศ เช่น ปัญหายาเสพติด หรือการลักลอบข้ามแดน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งไทยและเมียนมา
ก็สามารถพูดคุยกันได้อยู่แล้ว

 

เอเชียนกมส์2022-B เอเชียนกมส์2022-B
TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ