เปิดประวัติ อนุทิน ชาญวีรกูล แคนดิเดตรัฐมนตรีสีน้ำเงิน!

โดย PPTV Online

เผยแพร่

เปิดประวัติ “เสี่ยหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ทายาทการเมืองบ้านใหญ่บุรีรัมย์ สู่แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีสีน้ำเงิน

หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลง ซึ่งส่งผลให้นายเศรษฐา พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ

ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ ในวันที่ 16 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญ โดยหนึ่งในรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี คือ “เสี่ยหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย

คอนเทนต์แนะนำ
เปิดขั้นตอน! เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขานชื่อเปิดเผย-ไม่มี สว.ร่วมด้วย
เปิดประวัติ “อุ๊งอิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร ว่าที่นายกฯ คนที่ 31 ของไทย
เช็กรายชื่อ 7 แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี หลัง “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่ง

อนุทิน ชาญวีรกูล ช่างภาพพีพีทีวี
เปิดประวัติ อนุทิน ชาญวีรกูล

นายอนุทิน ชาญวีรกูล มีชื่อเล่นว่า "หนู" หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "เสี่ยหนู" เกิดเมื่อวันอังคารที่ 13 กันยายน 2509 เป็นบุตรคนโตของ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผู้ก่อตั้ง บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น

เปิดขั้นตอน! เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขานชื่อเปิดเผย-ไม่มี สว.ร่วมด้วย

เปิดประวัติ “อุ๊งอิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร ว่าที่นายกฯ คนที่ 31 ของไทย

อนามัยโลกประกาศ “ฝีดาษลิง” เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินระดับโลก

นายอนุทิน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ และระดับอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮอฟสตรา (Hofstra University)​ นิวยอร์ก​ สหรัฐอเมริกา​ เมื่อปี 2532 และจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2533

นายอนุทินเริ่มทำงานในสายธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง กระทั่งในปี 2505 ได้ก่อตั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้างทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาทขึ้น ใช้ชื่อว่า บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (STECON) ก่อนรับงานสัมปทานระดับเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2537 พร้อมพาบริษัทฝ่าวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 มาได้ พร้อมวางองค์กรให้ยั่งยืน

สำหรับผลงานสร้างชื่อของบริษัท ซิโน-ไทย เช่น งานก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 12,260 ล้านบาท, ก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรี วงเงิน 4,325 ล้านบาท, งานโรงงานไฟฟ้าแก่งคอย 2,534 ล้านบาท, การก่อสร้างโรงงานไฟฟ้ากรุงเทพใต้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 2,360 ล้านบาท, และโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ สัปปายะสภาสถาน วงเงิน 12,000 ล้านบาท

ในปี 2539 นายอนุทินเริ่มเข้าสู่วงการการเมืองโดยการรับตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมัยของนายประจวบ ไชยสาส์น และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2547 และปี 2548 และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี 2547

ต่อมา นายอนุทิน ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย ตามคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 หรือกรณี "บ้านเลขที่ 111"

อนุทิน ชาญวีรกูล ช่างภาพพีพีทีวี
อนุทิน ชาญวีรกูล แคนดิเดตรัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย

หลังพ้นกำหนดการตัดสิทธิทางการเมืองในปี 2555 นายอนุทินได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ที่ในขณะนั้นมีหัวหน้าพรรคคือ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล ผู้เป็นบิดา ที่ย้ายมาจากพรรคพลังประชาชน ร่วมกับกลุ่มเพื่อนเนวิน และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคมปีเดียวกัน นายอนุทินได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคต่อจากบิดา

โดยนายอนุทิน มีหลักการทำงานที่เรียบง่ายคือ ขอแค่ทำอย่างไรให้คนในครอบครัวมีความสุข คนในพรรคประสบความสำเร็จ ชาวบ้านอยู่ดีกินดีมีความสุข ไม่ทุกข์กาย ทุกข์ใจ มีเงินใช้ตลอดเวลา ดังเช่นที่เคยทำให้แก่ ซิโน-ไทยฯ ประสบความสำเร็จมาแล้ว

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ปี 2557 นายอนุทินได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ปี 2562 นายอนุทินได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอชื่อต่อรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรี

ซึ่งหลังการเลือกตั้ง นายอนุทิน นำพรรคภูมิใจไทยเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ และสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นสมัยที่ 2 พร้อมได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และดำรงตำแหน่งประธานสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

ซึ่งในช่วงระหว่างที่ดำรงตำแหน่งนี้ ได้เกิดสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ขึ้น และมีการชูนโยบายกัญชา-กัญชงใช้ในการรักษาโรคผลิตยาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างเศรษฐกิจต่อบ้านเมือง ในการทำเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งในเรื่องส่วนผสมอาหารเครื่องสำอาง และการขยายผลไปเป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้า

อนุทิน ชาญวีรกูล ช่างภาพพีพีทีวี
เปิดประวัติ เสี่ยหนู อนุทิน ชาญวีรกูล

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ปี 2566 นายอนุทินได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอชื่อต่อรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

หลังการเลือกตั้งครั้งดังกล่าว พรรคภูมิใจไทยประกาศไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคแกนนำหรือพรรคร่วมใด ๆ ที่มีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่ก็จะไม่จัดตั้งหรือสนับสนุนรัฐบาลเสียงข้างน้อยเช่นเดียวกัน

ต่อมาเมื่อพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคภูมิใจไทยจึงเข้าร่วมรัฐบาล จากนั้นนายอนุทินได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง

กระทั่งในปี 2567 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 เสียงให้ นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ กรณีแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่

ซึ่งหากมีการยุบสภาเกิดขึ้น จะส่งผลให้มีการเลือกตั้งใหม่ แต่หากเลือกแนวทางไม่ยุบสภา จะส่งผลให้สภาผู้แทนราษฎร ต้องโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามบัญชี ซึ่งขณะนี้ มีรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รวม 7 คน และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ก็ได้ปรากฏในรายชื่อดังกล่าวด้วย

Bottom-PL-24 Bottom-PL-24

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

PPTVHD36

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ