วันที่ 3 ก.ย.2567 วันแรกสำหรับการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 วงเงิน 3.752 ล้านล้านบาท แม้นายกรัฐมนตรีจะยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี เดินทางมาสภา
โดยนายภูมิธรรม มั่นใจว่าจะสามารถชี้แจงข้อกังวลของฝ่ายค้านได้ และมั่นใจว่างบประมาณฉบับนี้จะสามารถแก้ปัญหาประเทศหลังจากนี้ได้ และคิดว่าจะสามารถชี้แจงได้ทั้งหมด และเชื่อว่าจะทันใช้ในเดือน ต.ค.นี้
ส่วนบรรยากาศในห้องประชุมสภา นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ วิสามัญพิจารณา ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 2568 กล่าวเปิดรายงาน พร้อมยืนยันว่า การพิจารณารายละเอียดงบประมาณ ทั้งการปรับลดและการเพิ่มงบประมาณดังกล่าว ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ รวมถึงการแก้ปัญหาความซ้ำซ้อน ส่งเสริมภารกิจสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตและมีความเข้มแข็ง รองรับผลกระทบจากปัจจัยทั้งภายในและนอกประเทศอย่างมีเสถียรภาพ
ขณะที่นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน หัวหน้าพรรคประชาชน ลุกขึ้นอภิปายในสภา ว่า ในฐานะที่ตนเป็นผู้แปลญัตติมาตรา 4 ว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2568 ในจำนวน 3.752 ล้านล้านบาท ที่ตนเสนอให้มีการปรับลดเป็นจำนวน 4%
เนื่องจากมองว่างบประมาณ ปี 68 นั้นกำลังจะสร้างความเสี่ยงให้กับรัฐบาลชุดถัดไป รวมถึงสร้างความเสียหายให้กับลูกหลานในเรื่องของการคลัง ในการเตรียมความพร้อมสำหรับวิกฤตในอนาคต โดยมีการคาดการณ์ว่าหนี้ในปี 2570 จะพุ่งขึ้นถึง 69% โดยเราอาจจะเรียกว่าการกู้ครั้งนี้เป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะสั้น แต่อาจทำให้เราสูญเสียโอกาสและสูญเสียการคลัง สำหรับการรองรับวิกฤติและปัญหาในอนาคต รวมถึงปัจจุบันประเทศไทยค่า GDP รายได้ลดลงจาก 16% เหลือเพียง 14% เท่านั้น สวนทางกับประเทศที่อยู่ในระดับเดียวกับไทย 3ประเทศอย่าง เกาหลีใต้ ชิลี และอุรุกวัย
14 อันดับสุนัขอันตรายที่สุดในโลก จากการศึกษายาวนานกว่า 13 ปี
ชัยวัฒน์ ทุบสถิติคว้าทองวีลแชร์เรซซิ่ง 100 เมตร พาราลิมปิก 2024
ศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก 8 ปี “ครูไพบูลย์”ไม่รอการลงโทษ พรากผู้เยาว์ “เอ๋ มิรา”
และหากดูในโครงสร้างการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยในอดีต ภาษีรายได้ของประชาชนลดลง และรายได้ภาษีของประชาชนก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ สะท้อนให้เห็นรายได้ภาษีประเทศไทยจัดเก็บได้น้อยลง และเหมือนว่าไปจัดเก็บภาษีคนจนมากกว่าคนรวยด้วยซ้ำ ทำให้เห็นว่าการจัดเก็บพื้นที่ทางการคลังที่จะนำมาใช้สำหรับโครงการของรัฐบาลเช่นดิจิตอลวอลเลต หากรัฐขาดรายได้ที่มีประสิทธิภาพ ก็จะขาดงบในการนำมาพัฒนาโครงสร้างรากฐาน สำหรับเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อใช้ในการจัดเก็บภาษีรายได้ให้กับรัฐในอนาคต แต่ใช้วิธีการกู้เพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้น
นายณัฐพงษ์ เผยว่า เป็นห่วงว่า เราจะทำให้เกิดวัฏจักรขาลง ไม่สามารถสร้างรายได้ในอนาคต และรัฐก็ จะจัดเก็บรายได้น้อยลงไปอีก ตนจึงเสนอว่าควรจะต้องมีการปฏิรูประบบจัดเก็บภาษี และปฏิรูปงบประมาณ ทั้งรายได้และรายจ่ายไปพร้อมกัน ในส่วนของจัดเก็บรายได้ภาษีอยากให้มุ่งเป้าไปที่ คน 1% อย่างเหมาะสม มาจัดทำสวัสดิการให้เหมาะสมกับประชาชน พัฒนาต้นทุนมนุษย์ สร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างอุตสาหกรรมสำหรับอนาคต สร้างรายได้ยาวให้กับประเทศ ให้เป็นวัฏจักรขาขึ้นให้กลับมา
ทั้งนี้ส่วนของรายจ่าย สิ่งที่เราอยากจะตั้งคำถามไปยังรัฐบาล ชุดนี้รวมถึงรัฐบาลชุดใหม่ ที่รอการแถลงนโยบาย ต่อรัฐสภา นอกจากเรื่องของจัดเก็บภาษีแล้วยังมีในเรื่องของการลดรายจ่ายประจำด้วยเช่นเดียวกัน ว่าจะทำอย่างไรให้มั่นใจได้ว่ากู้มาแล้ว ไม่ได้กู้มาเพื่อแจกอย่างเดียว แต่เป็นการกู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ ต้นทุนมนุษย์โครงสร้างพื้นฐานสำหรับอนาคต โดยจากที่กล่าวมาทั้งหมดตนขอไม่เห็นด้วยกับการร่างงบประมาณ ปี 68 ในครั้งนี้ และขอปรับงบประมาณรายจ่าย ที่กู้ชนเพดาน และไม่สร้างอนาคตให้กับประเทศ ตามที่ตนได้แปลญัตติไว้