ยังคงเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ แม้ล่าสุดพรรคร่วมรัฐบาลจะถอยการแก้รัฐธรรมนูญแบบรายมาตราแล้ว แต่ยังมีบางประเด็นที่ถูกมองว่าเกี่ยวโยงกันหรือไม่
โดยประเด็นดังกล่าวเริ่มจากกรณีคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ของวุฒิสภา มีการกลับลำแก้ไขหลักเกณฑ์ในการทำประชามติ จากการลงมติแบบเสียงข้างมาก ตามร่างที่ผ่านการพิจารณา ของ สส. มาแล้ว แต่จะมีการเปลี่ยนกลับมาใช้การทำประชามติแบบ 2 ชั้น
ล่าสุด ทีมข่าวพีพีทีวีได้พูดคุยกับ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา โดยเล่าว่า เรื่องนี้มีการประชุมมาแล้ว 4 ครั้ง ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยตาม สส.คือ ให้ออกเสียงประชามติตามเสียงข้างมาก แม้จะมีครั้งหนึ่งที่มีคนเห็นต่าง ให้กลับไปใช้แบบ 2 ชั้น แต่สุดท้าย เสียข้างมากก็ยังยืนยันจะยึดตาม ร่าง ที่ผ่าน สส.มาแล้ว
แต่พอประชุม เมื่อวานนี้ (25 ก.ย.67) ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่ 5 จู่ๆ ประธาน กมธ. ก็เสนอให้ทบทวนมติ และผลออกมาส่วนใหญ่เห็นว่าควรทำประชามติ 2 ชั้น ต่างจากท่าทีก่อนหน้านี้โดยสิ้นเชิง ตนจึงตั้งข้อสังเกตว่าการกลับลำเรื่องประชามติครั้งนี้เกี่ยวข้องกับที่พรรคภูมิใจไทย มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องมาตรฐานจริยธรรมหรือไม่
รวมมือถือซัมซุง รองรับอัปเดต "One UI 6.1.1" นอกเกาหลีใต้ เดือนกันยายน
เหตุผลอะไรที่ทำให้เราสมัครบัตรเครดิตไม่ผ่าน และจะแก้ไขอย่างไร ?
น.ส.นันทนา ระบุอีกว่า ส่วนตัวไม่ทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ สว. กลับลำคืออะไร เพียงแต่ตั้งข้อสังเกตถึงช่วงเวลาที่สอดคล้องกันเท่านั้น แล้วให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินเอง แต่อยากสะท้อนผลของการที่ สว. เสนอทำประชามติ 2 ชั้น กระบวนการหลังจากนี้จะต้องเข้าสู่ที่ประชุมวุฒิสภาวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อลงมติในวาระ 2 และวาระ 3 หากลงมติเห็นชอบตามร่างของ กมธ. ที่ปฏิเสธร่างของ สส. ก็ต้องส่งร่างกลับไปให้ สส.พิจารณาทบทวน ซึ่งหากความเห็นยังไม่ตรงกันก็จะต้องตั้งกรรมาธิการร่วม ซึ่งไม่มีกรอบเวลาการพิจารณาที่ชัดเจน ทำให้การพิจารณา พ.ร.บ.ประชามติ ถูกยืดเวลาออกไป และน่าจะไม่ทันหากจะทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้ง อบจ. ในต้นปีหน้า
ทั้งนี้หากจะรอทำประชามติพ่วงกับการเลือกตั้งใหญ่ระดับประเทศครั้งเดียวไปเลยเพื่อให้คนมาใช้สิทธิ์เยอะๆ ก็ต้องรออีกทีในการเลือกตั้งปี 70 ไม่อย่างนั้นก็ต้องทำประชามติแยกโดดๆ ซึ่งมีโอกาสที่คนจะมาใช้สิทธิ์น้อยกว่า ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือแก้ไขรายมาตราที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติ ซึ่งต้องผ่านการทำประชามตินั้น ทำได้ยากขึ้น
นอกจากนี้ หากจะแก้ไขรายมาตราบางมาตรา ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องผ่านประชามติ อย่างเช่น ร่างที่พรรคประชาชนเสนอ น.ส.นันทนา บอกว่า ก็ต้องผ่านเสียง สว. 1 ใน 3 อยู่ดี ดังนั้น น.ส.นันทนา ใช้คำว่า มีความหวัง “ริบหรี่“ ที่จะแก้รัฐธรรมนูญสำเร็จในรัฐบาลนี้
น.ส.นันทนา ยังมองว่า รัฐธรรมนูญปี 60 เป็นรัฐธรรมนูญที่รูรั่วเยอะมาก คือจับไปตรงไหนก็มีปัญหา ยากชวนให้ช่วยกันโหวตยกร่างรัฐรัฐธรรมนูญใหม่เพื่อให้ได้กติกาที่เป็นประชาธิปไตย ไม่เช่นนั้น ก็ทำให้การเมืองขาดเสถียรภาพ ส่งผลต่อเศรษฐกิจ และกระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน