ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 พ.ย.67 นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงวาระการประชุมในวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายนนี้ เพื่อศึกษาแนวทางในการปฏิรูปด้านกระบวนการยุติธรรม กรณีกรมราชทัณฑ์ให้อดีตนายกรัฐมนตรีพรรครักษาตัวในโรงพยาบาลตำรวจกับการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ซึ่งตั้งแต่มีข่าวเรื่องการพักรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ กรรมาธิการความมั่นคงฯ เคยเชิญนายสมศักดิ์ เทพสุทิน สมัยที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเข้าให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งมีข้อมูลที่ชัดเจนระดับหนึ่ง และพยายามรวบรวมข้อมูล
แหล่ง “คอลลาเจน” จากธรรมชาติ ช่วยผิวเรียบเนียน กระชับแข็งแรง
เลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: รัสเซียเตือน “ทรัมป์” พบจุดจบเหมือน “เคนเนดี”
อัจฉริยะแฉ! ตร.หิ้วสอบคนใกล้ชิดทนายตั้มตัวย่อ "บ" รับสารภาพหมดเปลือก!
ล่าสุดพลตำรวจเอกเสรีพิสุทธ์ เตมียเวส ได้แถลงข่าวว่าเคยขึ้นไปชั้น 14 เพื่อพบกับนายทักษิณ ชินวัตร ขณะเดียวกันเห็นว่า พลตำรวจเอกสุรเชชษฐ์ หักพาล มีบทบาทได้ดูแลความสงบเรียบร้อยบริเวณใกล้บ้านจันทร์ส่องหล้า ในช่วงที่สมเด็จฮุนเซน เดินทางมาเยี่ยมนายทักษิณที่ประเทศไทย รวมไปถึงความชัดเจนว่ามีบุคคลระดับสูงเป็นนายแพทย์เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
นายรังสิมันต์ระบุว่า ในเบื้องต้นทราบว่าพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์จะไม่เข้าให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการ ซึ่งกรรมาธิการมีเหตุผลที่เชิญเข้ามาให้ข้อมูลหวังว่า ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบทางการเมืองต่อไป เพราะการทำหน้าที่ของรัฐบาลเป็นการทำหน้าที่อยู่บนความไว้วางใจของสภาสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นการบริหารงานต้องตรงไปตรงมาไม่มีลักษณะการเอื้อประโยชน์แก่ใคร แต่เมื่อพิจารณาแล้วมีข้อสงสัยว่ากรณีที่นายทักษิณได้ไปพักที่ชั้น 14 มีบุคคลเข้าไปเจอมากมาย การกระทำที่ถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล กรรมาธิการจึงต้องการรวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่ายมากที่สุด
ส่วนบุคคลที่เชิญไปจะตอบรับมาให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการหรือไม่นั้น จะทราบความชัดเจนในช่วงเช้าของวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ และเชื่อว่าการให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการนั้นจะเป็นการแสดงความบริสุทธิ์ต่อการปฎิบัติหน้าที่ว่าเป็นอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ เชื่อว่าบุคคลที่ได้เชิญไปที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐจะให้ความร่วมมือให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการ หากแต่ไม่ให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการก็เป็นข้อสังเกตได้ ถึงการปฎิบัติหน้าที่มีการเอื้อประโยชน์ให้กับใครหรือไม่ โดยเฉพาะการชี้แจงข้อมูลต่อกรรมการเป็นโอกาสการชี้แจงต่อสังคม
สำหรับบุคคล ที่กรรมาธิการเชิญเค้าให้ข้อมูล เช่น พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส , พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล, พลตำรวจโท โสภณรัชต์ สิงหจารุ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ , พลตำรวจโท ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ