เปิดชีวิต “หงา คาราวาน” ขุนพลผู้บุกเบิกเพลงเพื่อชีวิต


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ถูกยกให้เป็นขุนพลและครูเพลงผู้บุกเบิกวงการเพลงเพื่อชีวิต สำหรับ “หงา คาราวาน” หรือ "สุรชัย จันทิมาธร" ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ผู้ซึ่งเป็นทั้งนักคิด นักเขียน ที่มุ่งเน้นสะท้อนเรื่องราวของสังคมในเชิงเปรียบเทียบเพื่อกระตุ้นเตือนผู้คน จากประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า 71 ปี

หงา คาราวาน หรือ น้าหงา ที่หลายคนเรียกติดปาก เล่าย้อนถึงการเข้ามาในเมืองกรุงก่อนที่จะมาเป็นนักร้อง นักดนตรี ให้รายการ "บางกอกซิตี้ เลขที่ 36" ฟังว่า เมื่อช่วงอายุได้ 20 กว่าปี ประมาณปี 2513 - 2515 ได้หันเหจากเด็กบ้านนอก จังหวัดสุรินทร์ มาเผชิญชีวิตในกรุงเทพฯ เพื่อมาเรียนต่อ โดยมีเพียงกระเป๋าใบเดียวมาอาศัยอยู่กับพี่ชายที่เป็นครู มุ่งหน้าเรียนต่อด้านศิลปะ ที่วิทยาลัยเพาะช่าง แต่ทว่าสอบไม่ติด มุ่งมั่นสอบอยู่ถึง 4 ปีจนได้เข้าเรียนในที่สุด  

“มิ้ว ณ ชมวิว” แฉเบื้องหลังวงการเด็กอ่าง เตือนสติคิดให้ดีก่อนตัดสินใจ

เทคนิคฟิตแอนด์เฟิร์มเพื่อหุ่นสวย ในแบบ ใบคา พึ่งอุดม เจ้าของเพจ ชะนีมีกล้าม


"ใจเรามาทางนี้ จะให้ไปเรียนอย่างอื่นก็ไม่ไหว ตอนนั้นตั้งใจเต็มที่จะเข้าเพาะช่างให้ได้ ส่วนตัวชอบเขียนรูปทุกแนว และชอบเขียนหนังสือด้วยก็จะเขียนส่งไปตามนิตยสาร จนเริ่มมารู้จักคนในแวดวงนักเขียน เช่น สุวรรณี สุคนธา, สุจิตต์ วงษ์เทศ นอกจากนั้นก็ยังเป็นคนชอบฟังเพลง แต่เมื่อก่อนจะมีแค่เพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงสากล ในช่วงนั้นก็จะชอบฟังและเรียกว่า เกิดมากับยุคของวง เดอะ บีทเทิล"
ถามว่าเริ่มต้นร้องเพลงเล่นดนตรีมาตั้งแต่เมื่้อไหร่ น้าหงา บอกว่า ในช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา ตนและพรรคพวกได้ไปเข้าร่วมในครั้งนั้นด้วย ในขบวนการตอนนั้นขาดเสียงเพลง พรรคพวกเพื่อนฝูงที่เคลื่อนไหวอยู่ด้วยกันจึงชักชวนให้ตนมาร้องเพลง ทั้งที่ตอนนั้นยังเล่นกีตาร์ไม่เป็นเลยด้วยซ้ำ 

"เพื่อนก็เอากีตาร์มาหัดให้ เราก็ลองมาเล่น และแต่งเพลง พอได้ลองก็รู้สึกว่ามันไม่ยาก ด้วยความที่อาจจะเขียนหนังสือมาก่อน จึงทำให้แต่งเพลงได้ จนพัฒนามาเล่นดนตรีเป็นวงกับเพื่อน แต่ก็ยังอยู่ในสถานที่เฉพาะ เพราะตอนนั้นเพลงลักษณะนี้ยังไม่ค่อยมี"

เมื่อถามต่อถึงที่มาของคำว่า เพื่อชีวิต ครูเพลงวงการเพื่อชีวิต เผยว่า "เริ่มต้นมาจากแวดวงวรรณกรรมที่เริ่มต้นคำว่า เพื่อชีวิต ก่อน นั่นคือ วรรณกรรมเพื่อชีวิต โดย จิตร ภูมิศักดิ์ พอเราเล่นดนตรีที่มีเนื้อหาสะท้อนเปรียบเทียบสังคมบ้าง เขาก็เรียกว่าเราว่าเป็นนักดนตรีเพื่อชีวิต คนที่เล่นละครเนื้อหาลักษณะเดียวกัน เขาก็เรียกเพื่อชีวิต" 


น้าหงา ยังพูดถึงพัฒนาการของเพลงเพื่อชีวิตด้วยว่า ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยมีช่วงหนึ่งได้รับความนิยมมาก จึงกลายเป็นธุรกิจกองใหญ่ วงที่โด่งดังในทางธุรกิจวงแรกคือ วงแฮมเมอร์ ต่อจากนั้น 2-3 ปีก็คือ วงคาราบาว สำหรับวงคาราวานเกิดขึ้นมาก่อนวงคาราบาว 5 ปี ยุคนั้นยังไม่มีเทปคลาสเซ็ท ยังใช้แผ่นเสียงเล็กๆ อัดกันเองขายแผ่นละ 25 บาท ยังไม่ใช่ยุคเฟื่องฟูของดนตรี กระทั่งหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ตนและพรรคพวกบางส่วนได้หลบเข้าป่าเข้า จึงเริ่มมีเทปคลาสเซ็ท


"ชีวิตที่อยู่ในป่า ถนนหนทางไม่มี ต้องเดินเท้า ทางในป่าเราเห็นครึ้มเขียวไปหมด จริงๆ มีเส้นทางทางเท้าสำหรับชาวบ้านเขาใช้สัญจร ทำให้ไปถึงกันได้หมด อยู่ในป่าต้องมีเกลือ มีข้าวสาร พริก ไฟ อาหารการกินหาเอาในป่า คนเราจะกินต้องดิ้นรน ตอนนั้นต้องหลบไปอยู่ในป่าเกือบ 6 ปี มีความสุข ไม่ลำบากดีกว่าอยู่ในเมือง จนไม่คิดว่าจะได้ออกมาแล้ว คิดว่าจะต้องตาย เป็นไข้ไทฟอยด์อยู่เป็นเดือน"
ทุกวันนี้ น้าหงา ยังคงรับงานเล่นดนตรี ร้องเพลง แล้วแต่มีผู้ว่าจ้าง โดยในยามว่างยังชอบสรรหากางเกงยีนส์ในแบบที่่ชอบและราคาไม่แพง อีกทั้งยังเป็นของสะสมถึงขั้นเคยเปิดร้านขายเสื้อผ้ายีนส์มาแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่ถนัดทำธุรกิจ จนกระทั่งต้องปิดไป รวมถึงยังชอบเกาะขอบจอลุ้นกีฬาฟุตบอลและไปเตะฟุตบอลในทีมผู้อาวุโสบ่อยครั้งอีกด้วย

"บางกอกซิตี้เลขที่ 36"  ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.15 น. ทาง PPTV HD ช่อง 36 รับชมย้อนหลังทาง http://pptv36.tv/rkG และ  https://tv.line.me/bangkokcity36

กว่าจะมาเป็น “Four unity” อะแคปเปล่าผู้พิการสายตาวงแรกของไทย บนเวที "The Voice 2019"

 

TOP ข่าวบันเทิง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ