ไทม์ไลน์รับมือโควิด-19 ของญี่ปุ่น และสาเหตุที่สถานการณ์เลวร้ายลง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เรียงไทม์ไลน์ญี่ปุ่นรับมือโควิด-19 ทำไมประเทศที่เคยขึ้นชื่อว่ารับมือโรคระบาดได้ดี จึงมีผู้ติดเชื้อหลักพันต่อวัน

คนญี่ปุ่น 80% โหวตเลื่อนโอลิมปิกเกมส์

พบอีก! ญี่ปุ่นพบโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่จากบราซิล

ในช่วงที่เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 แรก ๆ “ญี่ปุ่น” ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการชื่นชมว่าสามารถป้องกันการระบาดได้ดี แต่เข้าปี 2021 มาได้ไม่นาน ญี่ปุ่นก็ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในหลายพื้นที่ โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันอยู่ที่หลายพันราย

ไทม์ไลน์การรับมือโควิด-19 ในญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นแบ่งการระบาดของโควิด-19 ออกเป็น 2 ระลอก ตามลำดับจีโนมของไวรัสโควิด-19 ที่พบในประเทศ สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIID) ระบุว่า การระบาดระลอกแรกมาจากโควิด-19 ชนิดอู่ฮั่นที่แพร่หลายในผู้ป่วยจากจีนและเอเชียตะวันออก นับหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันผู้ป่วยโควิด-19 รายแรกเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2020 เป็นชาวจังหวัดคานางาวะ ซึ่งมีประวัติเดินทางกลับจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

ส่วนการระบาดระลอกที่สองมาจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ในยุโรป ซึ่งสืบย้อนไปถึงผู้ป่วยกลุ่มแรก ๆ จากฝรั่งเศส อิตาลี สวีเดน และสหราชอาณาจักร หน่วยเฝ้าระวังทางการแพทย์ของญี่ปุ่นตรวจพบการระบาดระลอกที่สองในวันที่ 26 มี.ค. 2020 เกิดจากนักเดินทางและผู้ที่เดินทางกลับจากยุโรปและสหรัฐอเมริการะหว่างวันที่ 11 มีนาคม 2020 ถึง 23 มีนาคม 2020 โดยรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศว่า ปลอดโควิด-19 ชนิดอู่ฮั่นตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม เหลือแต่เพียงเชื้อโควิด-19 ชนิดยุโรป ซึ่งทำให้เกิดการระบาดหนักจนต้องมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งแรก

เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2020 อดีตนายกรัฐมนตรี อาเบะ ชินโซ (Shinzo Abe) ประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 1 เดือนในพื้นที่โตเกียว และจังหวัดคานางาวะ ไซตามะ ชิบะ โอซากา เฮียวโงะ และฟุกุโอกะ หลังจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มขึ้นวันละหลายร้อยรายต่อเนื่องเกิน 1 สัปดาห์

ต่อมาวันที่ 16 เม.ย. มีการขยายภาวะฉุกเฉินครอบคลุมไปทั้งประเทศโดยไม่มีกำหนดการสิ้นสุดที่แน่นอน ซึ่งระหว่างนี้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นหลักร้อยคนต่อวัน จนค่อย ๆ ลดลงเหลือหลักสิบในช่วงเดือน พ.ค. จนสามารถยกเลิกภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศได้ในวันที่ 25 พ.ค.

ญี่ปุ่นได้รับคำชื่นชมกันในช่วงนั้นว่า ตัดสินใจประกาศภาวะฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง ทำให้สามารถควบคุมการระบาดได้ภายใน 1 เดือนกว่า ๆ

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในญี่ปุ่นตั้งแต่ปลายปี 2020 เป็นต้นมาดูจะเลวร้ายลง เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันพุ่งสูงถึงหลักพัน รวมถึงพบการระบาดของเชื้อโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์อังกฤษ “B.1.1.7” ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงสั่งห้ามชาวต่างชาติเข้าประเทศตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค. ถึงปลายเดือนมกราคม 2021 แต่ชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติที่เป็นพลเมืองญี่ปุ่นยังสามารถเข้าประเทศได้ แต่ต้องกักกันตัวเองเป็นเวลา 14 วัน

ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 พันธุ์กลายจากอังกฤษ

ต่อมาในวันที่ 8 ม.ค. สึกะ โยชิฮิเดะ (Yoshihide Suga) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองหลวงโตเกียว จังหวัดชิบะ ไซตามะ และคานางาวะ เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่พุ่งทุบสถิตินับตั้งแต่มีการระบาดที่ 7,500 กว่าราย  โดยเกือบ 1 ใน 3 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ในกรุงโตเกียว

ภาวะฉุกเฉินจะมีไปจนถึงวันที่ 7 ก.พ. นี้ โดยสึกะได้สั่งให้บริษัทต่าง ๆ ส่งเสริมให้พนักงานทำงานจากที่บ้านและลดจำนวนคนมรามาในสำนักงานลง 70% พร้อมขอร้องผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบให้หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น ขณะที่ภาคการบริการ เช่น ร้านอาหาร ต้องปิดทำการในเวลา 20.00 น. และการแข่งขันกีฬาต้องจำกัดจำนวนผู้เข้าชม แต่โรงเรียนยังสามารถเปิดทำการได้อยู่

สึกะยังอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบเป็นเงิน 1.8 ล้านเยน (ราว 520,000 บาท) ต่อร้านต่อเดือน แต่สงวนเฉพาะร้านอาหารที่ปฏิบัติตามมาตรในภาวะฉุกเฉินคือลดเวลาทำการ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ม.ค. ญี่ปุ่นประกาศขยายภาวะฉุกเฉินไปยังอีก 7 จังหวัด ได้แก่ โอซากา เกียวโต เฮียวโงะ ไอจิ กิฟุ โทชิงิ และฟุกุโอกะ รวมแล้วปัจจุบันมี 11 จังหวัด/พื้นที่ที่อยู่ภายใต้มาตรการภาวะฉุกเฉิน

ภาวะฉุกเฉินครั้งนี้ยังสั่งห้ามชาวต่างชาติทั้งหมดเข้าประเทศชั่วคราว แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่ารวมถึงชาวต่างชาติที่มีถิ่นพำนักหรือเป็นพลเมืองในญี่ปุ่นด้วยหรือไม่ รวมถึงไม่มีการระบุว่า คำสั่งห้ามนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อใด

ความไม่ชัดเจนนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่หลายชาติมองว่าทำให้ญี่ปุ่นรับมือโควิด-19 ได้ไม่ดีเท่าเมื่อครั้งที่มีการระบาดระลอกแรก ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 รวมถึงครึ่งเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา โดย ณ สิ้นเดือน ต.ค. 2020 จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 สะสมในญี่ปุ่นทะลุ 100,000 ราย 2 เดือนต่อมา วันที่ 22 ธ.ค. ทะลุ 200,000 ราย และแตะหลัก 300,000 รายในวันที่ 14 ม.ค. ที่ผ่านมา

ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง เผชิญโควิด-19 ระบาดระลอก 3

ญี่ปุ่น เดือนตุลา ฆ่าตัวตาย 2,153 คน สูงกว่าตายจากโควิด-19 ทั้งปี

เปิดสาเหตุญี่ปุ่นรับมือโควิด-19 แย่ลง

นายกฯ ขาดความเป็นผู้นำและมาตรการขาดความชัดเจน

ช่วงสถานการณ์โควิด-19 นายกรัฐมนตรีสึกะมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เขาไม่เต็มใจที่จะดำเนินการต่าง ๆ เพื่อต่อสู้กับโควิด-19 ทั้งไม่เร่งประกาศภาวะฉุกเฉินตามคำร้องขอของผู้ว่าการกรุงโตเกียวและ 3 จังหวัดแรก รวมถึงประกาศช้ากว่าที่อดีตนายกฯ อาเบะเคยทำเมื่อปีที่แล้ว

มีรายงานว่า มีการเรียกร้องให้ล็อกดาวน์หรือประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อควบคุมการระบาดในญี่ปุ่นตั้งแต่เดือน พ.ย. แต่สึกะปฏิเสธ โดยระบุว่า สถานการณืยังไม่เลวร้าย ยังมีเตียงในโรงพยาบาลเพียงพอรับมือสถานการณ์โควิด-19

เชื่อกันว่าเจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นระมัดระวังในการออกมาตรการปิดกั้นหรือมาตรการภาวะฉุกเฉินอื่น ๆ เพราะกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจของประเทศ

เศรษฐกิจญี่ปุ่น หลุดจากภาวะถดถอย

อีกปัจจัยที่ทำให้ญี่ปุ่นคุมการระบาดได้แย่ลงคือความไม่ชัดเจนของมาตรการ แม้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของญี่ปุ่นจะออกมาเรียกร้องให้ประชาชนลดกิจกรรมนอกที่พักอาศัย แต่เป็นเพียงการรณรงค์ที่ไม่มีน้ำหนักหรือกรอบควบคุม ทำให้ประชาชนมองว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ

ชิบูยะ เคนจิ (Kenji Shibuya) ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพประชากรที่ King's College London กล่าวว่า “การตอบสนองของญี่ปุ่นช้าเกินไปและสับสน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขาดความเป็นผู้นำและกลยุทธ์ ในอีกด้านหนึ่งพวกเขาสนับสนุนให้มีการเดินทางในประเทศและรับประทานอาหารนอกบ้านเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันด็ขอให้ผู้คนระมัดระวัง ... รัฐบาลขอให้ประชาชนปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมโดยสมัครใจ แต่ไม่ทำมากกว่านั้น”

โฮริเอะ โนริจิกะ (Norichika Horie) ศาสตราจารย์จากศูนย์ศึกษาความตายและชีวิตและจริยธรรมเชิงปฏิบัติของมหาวิทยาลัยโตเกียว กล่าวว่า “ผู้คนในญี่ปุ่นต้องการให้หน่วยงานของรัฐบาลชี้แจงอย่างชัดเจน แต่นี่พวกเขากลับสื่อสารขัดแย้งกัน ... ดังนั้นผู้คนจึงพยายามทำตัวเหมือนคนใกล้ชิด พวกเขาคิดว่าถ้าคนอื่นเที่ยวได้ ทำไมเราจะเที่ยวไม่ได้ ซึ่งนั่นเป็นหายนะ”

“สึกะ โยชิฮิเดะ” จากลูกชาวสวน สู่ผู้นำมหาอำนาจแห่งตะวันออก

ผู้คนเหนื่อยหน่ายกับโควิด-19 และหลงเชื่อข้อมูลเท็จ

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่า ประชาชนในญี่ปุ่นเริ่มเกิด ความอ่อนล้าจากโรคระบาด (Pandemic Fatigue)

มุโตะ คาโอริ (Kaori Muto) นักสังคมวิทยาการแพทย์จากสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์มหาวิทยาลัยโตเกียวและสมาชิกคณะกรรมการโคโรนาไวรัสของรัฐบาล กล่าวว่า “ผู้คนอาจไม่สนใจการระบาดของโควิด-19 ระลอกนี้แล้ว”

นอกจากนี้ ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 โลกออนไลน์ยังเกิดทฤษฎีสมคบคิดมากมาย บ้างเชื่อว่าโควิด-19 เป็นเรื่องลวงโลก บ้างเชื่อว่านี่เป็นสงครามอาวุธชีวภาพ และบ้างเชื่อว่าการใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโควิด-19 เป็นข้อมูล

 

เรียบเรียงจาก CNN / Nikkei Asia / Time

ภาพจาก AFP

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ