ราชภัฏภูเก็ต แถลงชี้แจงเหตุ 'น้องมิ้นท์' ปี 1 ช็อกดับ เผย 'รุ่นพี่'เสียใจมาก
พายุ รัฐประหาร บทบาทอาเซียนต่อวิกฤตการณ์ในเมียนมา
อาจารย์ลลิตามองว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรง เป็นเพราะทางกองทัพไม่ต้องการปรองดอง และต้องการสร้างความหวาดกลัวให้ประชาชน เพื่อยุติการชุมนุมประท้วงให้เร็วที่สุด ไทยเนี่ยอาจจะเป็นแค่ตัวกลางในเชิง เป็นสถานที่ตรงกลางที่ให้ผู้นำระดับสูงของพม่ามาประชุมกับตัวแทนของอินโดนีเซีย ซึ่งเขาก็ถือว่าเขาเป็นตัวแทนของอาเซียนนะคะ แต่ว่านัยยะที่มากไปกว่านี้ ดิฉันคิดว่า โอกาสที่จะเกิดขึ้นน้อยมาก หลายคนก็เอาไปเปรียบเทียบกับช่วงก่อนที่พม่าจะปฏิรูปการเมือง ก็มีการพูดคุยกันที่กรุงเทพฯ มีคุณสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เคยเป็นเหมือนกับผู้นำการเจรจามาแล้ว จนทำให้พม่ามีกระบวนการต่างๆ เพื่อนำไปสู่ประชาธิปไตย แต่ดิฉันคิดว่าในเวลานั้น กับตอนนี้ สถานการณ์ในพม่าแตกต่างกันเยอะมาก
ประเด็นที่อาจมีคนเปรียบเทียบเชื่อมโยงการควบคุมฝูงชนในไทยและเมียนมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อาจารย์เชื่อว่าทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีการหารือกันในเรื่องนี้ และตำรวจไทยก็ใช้ยุทธวิธีนี้รับมือการชุมนุมมาตั้งแต่ก่อนจะเกิดรัฐประหารในเมียนมา โดยอ้างว่าเป็นหลักสากล อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นใน 2 ประเทศ และอีกหลายประเทศในภูมิภาคล้วนมีอิทธิพลต่อกัน
ส่วนโอกาสที่อาเซียนจะเป็นสะพานเชื่อมในการหาทางออกของวิกฤตการเมืองเมียนมา อาจารย์มองว่า เป็นไปได้ยาก เพราะที่ผ่านมา อาเซียนไม่ได้มีบทบาทโดดเด่นในด้านการเจรจาระหว่างคู่ขัดแย้ง จึงดูเหมือนว่า การกดดันจากนานาชาติ โดยเฉพาะมาตรการคว่ำบาตร จะมีนัยยะมากกว่า ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว อาจนำไปสู่การตัดสินใจปิดประเทศอีกครั้ง ไปฟังเสียงกันค่ะ/ครับ