องค์การยายุโรป เห็นสวนทาง อนามัยโลก ชี้ผสมวัคซีนต่างยี่ห้อมีข้อดี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




แนวคิดผสมและจับคู่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ต่างยี่ห้อกำลังเป็นประเด็นถกเถียงในวงกว้างถึงความปลอดภัย แม้แต่ทางองค์การอนามัยโลกก็ออกมาเตือนเรื่องการสลับวัคซีนต่างยี่ห้อว่าอาจก่อให้เกิดอันตราย เนื่องจากยังมีข้อมูลและหลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพไม่เพียงพอ ล่าสุดองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่ความเห็นของต่างไปบ้างจากองค์การอนามัยโลก ที่ออกมาเตือนก่อนหน้า

เคาะแล้ว! ฉีดวัคซีนสลับชนิด เข็ม 2 ต้อง แอสตร้าเซเนก้า "WHO" ไม่ขัดไทย แต่มีข้อเสนอแนะ

หมอแคนาดาย้ำ สูตรวัคซีนโควิด-19 ไขว้ชนิดของแคนาดา ปลอดภัยมีประสิทธิภาพ

องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป หรือ EMA ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับการผสมและจับคู่วัคซีนป้องกันโควิด-19 ต่างยี่ห้อว่า ในอดีตก็เคยมีการใช้วัคซีนต่างชนิดในการป้องกันโรคอีโบลา ดังนั้นการผสมและจับคู่วัคซีนต่างยี่ห้อกันมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์รองรับว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในป้องกันโควิด-19  นอกจากนั้นยังมีข้อดีคือ ช่วยให้ประชาชนได้รับการป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้เร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม EMA ให้ความเห็นว่า ทางองค์การยังไม่อยู่ในฐานะที่จะให้คำแนะนำชัดเจนเกี่ยวกับการใช้วัคซีนต่างยี่ห้อกันสำหรับสองโดส แม้ว่าจะมีผลการศึกษาเบื้องต้นในสเปน เยอรมนี และสหราชอาณาจักรที่ชี้ให้เห็นว่ามีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่น่าพอใจและปลอดภัยก็ตาม  แต่ EMA ยังคงต้องรอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบผลกระทบในการผสมและจับคู่วัคซีนต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการผสมและจับคู่วัคซีนต่างยี่ห้อกำลังเป็นประเด็นถกเถียงในวงกว้าง แต่มีประเทศที่ใช้แนวทางนี้แล้ว ตัวอย่างของประเทศที่ทำการสลับยี่ห้อฉีดวัคซีนไปแล้ว เช่น

  • ประเทศบาห์เรน ประชาชนสามารถขอเข้ารับวัคซีนเข็มสองเป็นไฟเซอร์ หรือซิโนฟาร์มก็ได้ โดยที่วัคซีนเข็มแรกจะเป็นอะไรก็ได้
  • ภูฏาน ยืนยันจะใช้การผสมและจับคู่วัคซีนในวันที่ 20 กรกฎาคม โดยประชาชนที่ฉีดเข็มแรกเป็นโควิชิลด์ สามารถรับเข็มสองเป็นวัคซีน mRNA อย่างไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นาได้
  • แคนาดา อนุญาตให้ประชาชนสามารถเข้ารับวัคซีนต้านโควิด-19 โดสแรกและโดสสองต่างชนิดกันได้แล้ว แต่ยังจำกัดอยู่แค่เพียงวัคซีน 3 ชนิดเท่านั้นคือ วัคซีนของไฟเซอร์ โมเดอร์นา และแอสตร้าเซนเนกา
  • อิตาลี ประชาชนที่อายุต่ำกว่า 60 ปี ที่ได้โดสแรกเป็นแอสตร้าเซนเนก้า จะได้รับวัคซีน mRNA อย่างไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาเป็นโดสที่สอง

  • เกาหลีใต้ เนื่องจากการขนส่งวัคซีนล่าช้า ทำให้มีประชาชนราว 760,000 คน ที่ฉีดแอสตร้าเซนเนกาเป็นเข็มแรกในวันที่ 18 มิถุนายน ต้องรับไฟเซอร์เป็นเข็มสอง
  • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประชาชนที่ได้รับซิโนฟาร์มเป็นเข็มแรก สามารถฉีดไฟเซอร์เป็นเข็มที่ 2 ได้
  • เวียดนาม รัฐบาลระบุเมื่อ13 กรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐฐาลเตรียมฉีดวัคซีน mRNA อย่างไฟเซอร์ เป็นเข็มที่ 2 ให้ประชาชนที่ได้รับแอสตร้าเซนเนก้าเป็นโดสแรก
  • ไทย ก็กำลังจะฉีดแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่สองให้ประชาชนที่ได้รับซิโนแวคเป็นเข็มแรกเพื่อเพิ่มภูมิต้นทานเช่นกัน

ส่วนอีกประเด็นที่กำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางเช่นกันคือการฉีดวัคซีนเข็ม 3 หรือ Booster shot เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้น  แม้แต่ประเทศที่ฉีดไฟเซอร์เป็นหลักอย่างอิสราเอลก็กำลังพิจารณาประเด็นนี้

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานจากสาธารณสุขอิสราเอลระบุว่าประสิทธิภาพของวัคซีนไฟเซอร์ลดลงถึงร้อยละ 30 เมื่อเจอกับโควิดเดลตา

โดยอิสราเอลพบว่า ช่วงเดือนพฤษภาคม ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันอาการป่วยจากไวรัสเดลตาอยู่ที่ร้อยละ 94.3  แต่ข้ามมาเดือนมิถุนายนกลับเหลือเพียงร้อยละ 64 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่โควิดเดลตาระบาดหนักขึ้นในหลายประเทศ

ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุขอิสราเอลประกาศว่าจะฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่สามให้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรืออ่อนแอ รวมถึงผู้ที่ปลูกถ่ายหัวใจ ปอดและไต และผู้ป่วยมะเร็งบางราย เนื่องจากผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจะไม่มีการสร้างแอนติบอดี้ที่เพียงพอ แม้จะฉีดวัคซีนสองเข็มแล้วก็ตาม  ส่วน Booster Shot สำหรับประชาชนทั่วไปยังอยู่ระหว่างการพิจารณา

ภาพรวมของความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า หาก Booster shot เกิดขึ้นจริง สำหรับประเทศรายได้ปานกลางและรายได้น้อยที่ขาดแคลนวัคซีนอยู่แล้ว ก็จะยิ่งขาดแคลนมากขึ้น เมื่อวัคซีนที่ควรจะกระจายต้องถูกนำไปฉีดเป็นเข็มที่ 3 นี่คืออีกประเด็นที่องค์การอนามัยโลกกังวล นอกเหนือจากความปลอดภัยด้านสุขภาพ

คอนเทนต์แนะนำ
แนะวิธีใช้ Antigen Test Kit พร้อมข้อควรระวัง ไม่แนะนำซื้อทางออนไลน์
6 ชีวิตติดโควิด 5 วัน หน่วยงานปล่อยลอยแพ

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ