ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลากหลายสายพันธุ์ที่กำลังดำเนินอยู่ทั่วโลก การค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งก่อโรคโควิด-19 เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะการรับมือกับ “โปรตีนหนาม (Spike Protein)” มักอยู่ในความสนใจของนักวิจัยเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นชิ้นส่วนและกลไกหลักที่ไวรัสใช้ในการเกาะและเข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
วิจัยเผย “โมเดอร์นา” อาจต้านเดลต้าได้ดีกว่า “ไฟเซอร์”
วิจัยออสซี่พบ ฉีดวัคซีนโควิด-19 เกิดแอนติบอดีที่ดวงตาและน้ำตา
นักวิจัยพบความสัมพันธ์ โควิด-19 อาจทำให้เกิดความผิดปกติในสมอง
เมื่อโปรตีนหนามมีความจำเป็นต่อการอยู่รอดและการแพร่กระจายของไวรัส มันจึงมีกลไกการพรางตัว โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า “ไกลโคซิเลชัน (Glycosylation)” หรือการสร้างและเติมชั้นเคลือบน้ำตาลที่ตำแหน่งเฉพาะของโปรตีนหนาม เพื่อซ่อนตัวเองจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของสิ่งมีชีวิต
ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุล วิทยาลัยวิทยาศาสตร์ออสเตรีย (IMBA) จึงทำการศึกษาจากจุดนี้ และพบว่า มีโปรตีนที่จับกับน้ำตาล (Sugar-Binding Protein) อยู่ 2 ชนิด ที่สามารถขัดขวางการแพร่ระบาดของไวรัส SARS-CoV-2 ได้
ทีมงานได้ตีพิมพ์งานวิจัยดังกล่าวลงในวารสาร EMBO Journal แล้ว โดยระบุว่า อาจพบ “จุดอ่อนของไวรัสก่อโรคโควิด-19” แล้ว
โจเซฟ เพนนิงเจอร์ หัวหน้าทีมวิจัย IMBA และผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์ Life มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย (UBC) ประเทศแคนาดาด้วย กล่าวว่า งานวิจัยนี้เกิดจากการตั้งคำถามว่า “ถ้าเราใช้ ‘เลกติน (Lectin)’ ซึ่งเป็นโปรตีนที่จับกับน้ำตาลได้ล่ะ จะเป็นอย่างไร”
ด้าน เดวิด ฮอฟฟ์แมน นักศึกษาระดับปริญญาเอก หนึ่งในทีมวิจัย เล่าว่า “เราคิดโดยสัญชาตญาณว่า เลกตินอาจสามารถช่วยเรารับมือกับโปรตีนหนามที่เคลือบด้วยชั้นน้ำตาลอยู่ได้”
พวกเขาชี้ว่า โควิด-19 ไม่ว่าจะสายพันธุ์ใดก็ตามที่แพร่กระจายอยู่ในปัจจุบัน มีการเคลือบชั้นน้ำตาลไว้ที่โปรตีนหนามทั้งสิ้น ดังนั้น หากนำเลกตินมาจับกับโปรตีนหนามเชื้อโควิด-19 ก็อาจรบกวนกลไกการติดเชื้อ และสามารถพัฒนาเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพได้
เลื่อนลงทะเบียน "ซิโนฟาร์ม" เป็น 11 โมงและจองได้ผ่านเว็บไซต์ช่องทางเดียว
ทีมวิจัยได้พัฒนาและทดสอบการใช้เลกตินของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากกว่า 140 ตัว ในจำนวนนี้ พบว่า มีเลกติน 2 ชนิดที่จับกับโปรตีนหนามของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 S ได้อย่างแน่นหนา คือ “Clec4g” และ “CD209c”
สเตฟาน เมเรเตอร์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “เลกตินเหล่านี้สามารถจับกับชั้นป้องกันของโปรตีนหนาม รบกวนการทำงานของโปรตีนหนาม ป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ ... กลไกนี้อาจเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ใฝ่หามานาน นั่นคือจุดอ่อนของโควิด-19”
ทีมงานได้ใช้เทคโนโลยีชีวฟิสิกส์ระดับสูงเพื่อวิเคราะห์ว่า การจับตัวจองเลกตินมีรายละเอียดอย่างไร ตัวอย่างเช่น นักวิจัยต้องวัดแรงยึดเหนี่ยวและจำนวนพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างเลกตินกับโปรตีนหนาม จนพบว่าเลกตินชนิดใดบ้างที่เกาะกับโปรตีนหนามของโควิด-19 ได้
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพบว่า เลกตินทั้งสองชนิด จับกับน้ำตาลเชิงซ้อนชนิด N-glycan ที่ตำแหน่ง N343 ของโปรตีนหนาม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญ พบได้ในโควิด-19 ทุกสายพันธุ์
ไม่เพียงเท่านั้น เลกตินทั้งสองชนิดยังลดการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ของเซลล์ปอดของมนุษย์ได้ด้วย เพนนินเจอร์สรุปว่า: “วิธีการนี้เหมือนกับกลไกของยา 'APN01' ซึ่งจะเข้าไปจับกับโปรตีนหนาม เมื่อโปรตีนหนามถูกยาจับไว้ กลไกที่เชื้อจะเข้าสู่เซลล์ของเราก็ถูกปิดกั้น ทำให้ไม่ติดเชื้อ และตอนนี้เราพบเลกตินในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งสามารถทำแบบเดียวกันได้แล้ว”
อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ที่นี่
เรียบเรียงจาก News Medical
ภาพจาก AFP
ขั้นตอนลงทะเบียน พม. เปิดช่องทางออนไลน์ให้ประชาชน ยื่นขอรับเงินช่วยเหลือ