เมื่อวันที่ 3 ก.พ. ที่ผ่านมา ดร. นิกซี กูเมเด-โมเลตซี นักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า จากเกือบ 60 ประเทศ/พื้นที่ทั่วโลกที่พบการระบาดของโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 นั้น มีอยู่ 5 แห่งเป็นประเทศในทวีปแอฟริกา
“มีรายงานพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน BA.2 ใน 5 ประเทศของแอฟริกา ได้แก่ บอตสวานา เคนยา มาลาวี เซเนกัล และแอฟริกาใต้” กูเมเด-โมเลตซีบอก
ฝรั่งเศสประกาศคลายมาตรการ แม้มีสัญญาณโอมิครอนระบาดหนักในยุโรป
พบโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 แล้วใน 57 ประเทศทั่วโลก
เดนมาร์กเผย “โอมิครอน BA.2” ติดได้ง่ายกว่า BA.1 ราว 33%
ฉุดไม่อยู่! ยอดติดโควิดวันนี้ 9,909 ราย ติดเชื้อ ATK เฉียด 5 พัน นายกฯ ไม่วางใจโรคประจำถิ่น
เธอเสริมว่า การระบาดของโอมิครอน BA.2 ในแอฟริกานั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวลพอสมควร เพราะด้วยความสามารถของมัน ทำให้บางครั้งอาจเกิดการตรวจพลาดว่าเป็นโควิด-19 สายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่โอมิครอน อย่างที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนเรียก BA.2 ว่าเป็น “สายพันธุ์ล่องหน”
“เรากังวลมาก ... BA.2 เป็นสายพันธุ์ที่ตรวจจับได้ยาก เพราะจะตรวจไม่พบโดยเกณฑ์ S-Gene Target Failure ซึ่งปกติใช้เพื่อจำแนกโอมิครอนจากโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆ” เธอบอก
นอกจากนี้ ด้วยประเทศในแอฟริกาส่วนใหญ่ยังมีขีดความสามารถด้านระบบสาธารณสุขที่ค่อนข้างต่ำ จึงเกรงว่า หากโอมิครอน BA.2 กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่เข้ามาแทนที่โอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.1 อย่างที่เกิดขึ้นกับเดนมาร์ก จะส่งผลกระทบอย่างไรหรือไม่
ทั้งนี้ เบื้องต้นมีข้อมูลบ่งชี้ว่า BA.2 ไม่มีความแตกต่างในความรุนแรงของโรค จึงอาจเป็นไปว่าระบบสาธารณสุขจะไม่ต้องรับภาระหนักอย่างที่เคยเกิดขึ้นเมื่อครั้งมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา
เช่นเดียวกับสายพันธุ์อื่น ๆ การติดเชื้อโอมิครอน BA.2 ยังสามารถตรวจพบได้ด้วยชุดตรวจหาเชื้อแบบ ATK อยู่ แต่ระบุชัดเจนไม่ได้ว่าเป็น BA.2 หรือโควิด-19 สายพันธุ์อื่น
โมเดอร์นาเริ่มทดสอบในมนุษย์ วัคซีนป้องกันเอชไอวี (HIV) ชนิด mRNA
เรียบเรียงจาก Reuters
ภาพจาก AFP