ยูเอ็นเปิดประชุมพิเศษขอรัสเซียยุติสงคราม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การประชุมสมัยพิเศษของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เปิดฉากขึ้นแล้วที่สหรัฐ โดยครั้งนี้เป็นการประชุมฉุกเฉินว่าด้วยวิกฤตยูเครน ซึ่งในที่ประชุม ก็มีการตอบโต้กันอย่างดุเดือดระหว่างทั้งฝ่ายยูเครนและรัสเซีย

เมื่อคืนที่ผ่านมา (28 ก.พ.)ตามเวลาในบ้านเรา การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ได้เปิดประชุมสมัยพิเศษฉุกเฉิน ว่าด้วยวิกฤตยูเครน โดยคาดว่า หลังการที่ชาติสมาชิกทั้งหมดได้แสดงจุดยืนของประเทศตนเองแล้ว อย่างเร็วที่สุดคือในวันพุธนี้ ที่ประชุมจะมีการลงมติเพื่อโดดเดี่ยวรัสเซีย จากการรุกรานยูเครน และเรียกร้องให้กองทัพรัสเซียยุติการสู้รบและถอนกำลังออกมา

ผู้นำยูเครน เผย รัสเซียส่งทหารรับจ้างเข้ามาลอบสังหาร

เกาหลีใต้-สิงคโปร์ คว่ำบาตรรัสเซีย

ซึ่งการลงมติดังกล่าวก็จะคล้ายกับเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ออกร่างมติเรียกร้องให้รัสเซียยุติการทำสงคราม แต่ในครั้งนั้น รัสเซียมีสิทธิ์วีโต้ หรือยับยั้งการออกมติ อย่างไรก็ตาม ในครั้งนี้ จะไม่มีประเทศใดสามารถใช้สิทธิ์วีโต้ในการประชุมของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้

ตุรกียอมปิดน่านน้ำ สกัดกั้นเรือรบรัสเซียไม่ให้ผ่านไปยังยูเครน

ด้าน เซอร์เก คิสลิตสยา ทูตยูเครนประจำสหประชาชาติได้ขึ้นเวที กล่าวว่า การที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียสั่งให้กองกำลังนิวเคลียร์ของตนเองเตรียมความพร้อมนั้น เป็นความบ้าคลั่ง และบอกว่า ถ้าหากปูตินอยากจะฆ่าตัวตาย ไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธนิวเคลียร์หรอก แต่ให้ทำเหมือนอดอฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งฆ่าตัวตายในบังเกอร์ที่กรุงเบอร์ลินเมื่อปี 1945

นอกจากนี้ เขายังระบุว่า ถ้าหากยูเครนไม่รอด สันติภาพสากลก็จะไม่รอด และสหประชาชาติก็จะไม่รอดเช่นกัน

“ถ้าหากยูเครนไม่รอด สันติภาพสากลก็จะไม่มีชีวิตรอด ถ้าหากยูเครนไม่รอด สหประชาชาติก็จะไม่รอด ไม่มาภาพลวงใดๆ ถ้าหากยูเครนไม่รอด เราจะไม่สามารถมีชีวิตรอดได้หากว่าประชาธิปไตยล่มสลายในเวลาต่อมา ตอนนี้ เราสามารถช่วยยูเครนได้ ช่วยสหประชาชาติ ช่วยประชาธิปไตย และปกป้องคุณค่าที่เราเชื่อถือ” ทูตยูเครนประจำสหประชาชาติ ระบุ

ในขณะที่ทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติได้ตอบโต้ว่า การกระทำของรัสเซียต่อยูเครนนั้น ถูกทำให้บิดเบือนจากสื่อและโซเชี่ยลมีเดียที่มีแต่ความหลอกลวง โดยกองทัพรัสเซียนั้นไม่ได้เป็นภัยต่อพลเรือนของยูเครนเลย และไม่ได้ยิงพื้นที่พลเรือนด้วย

วาสซิลี เนเบนเซีย ทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า “กองทัพรัสเซียไม่ได้เป็นภัยต่อพลเรือนของยูเครนเลย ไม่ได้ยิงใส่ย่านพลเรือนอาศัย และพื้นที่กับเมืองต่างๆที่กองกำลังรัสเซียเข้าไปยึดครองอยู่ และในพื้นที่เหล่านั้นก็พบเห็นประชาชนใช้ชีวิตตามปกติ โครงสร้างพื้นฐานทั่วไป การคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานท้องถิ่น และกฎหมายและความสงบสุขยังคงดำรงอยู่ และนี่ยังรวมถึงสถานีไฟฟ้า โรงงานไฟฟ้า ซึ่งได้รับการลาดตระเวนร่วมจากผู้แทนของรัสเซีย และเจ้าหน้าที่ตำรวจพิเศษของยูเครน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลก็ยังคงดำเนินการเป็นปกติ”

"ออสเตรเลีย" เตรียมส่งขีปนาวุธช่วยยูเครน

 ขณะที่มีความเคลื่อนไหวมาจากฝั่งสหรัฐ ซึ่งเปิดเผยว่าได้สั่งขับนักการทูตรัสเซีย 12 คน ออกนอกประเทศ ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง โดยสหรัฐกล่าวหานักการทูตเหล่านี้ว่าทำงานด้านข่าวกรอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจารกรรมข้อมูลในสหรัฐฯ

 นอกจากนี้เมื่อวานนี้ ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครน ยังได้เปิดเผยว่า เขาได้ลงนามในเอกสารอย่างเป็นทางการเพื่อขอให้ยูเครนเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว โดยผู้นำยูเครนขอให้สหภาพยุโรปรับยูเครนเป็นสมาชิกภายใต้เงื่อนไขพิเศษ เนื่องจากในเวลานี้ ยูเครนต้องปกป้องตนเองจากการรุกรานของกองทัพรัสเซีย

ในเวลาต่อมา ผู้นำของ 8 ชาติ สมาชิกสหภาพยุโรป ประกอบไปด้วย สโลวะเกีย สโลวีเนีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย เชค บัลแกเรีย และโปแลนด์ เรียกร้องให้เริ่มการพิจารณารับยูเครนเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยทันที

จากกรณีที่อาจจะมีการใช้อาวุธต้องห้ามเกิดขึ้นในยูเครนจริง นำไปสู่การที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ไอซีซี ประกาศว่ามีแผนที่จะเปิดการสอบสวนต่อการที่รัสเซียบุกยูเครน เพราะว่ามีหลักฐานบางอย่างที่เชื่อถือได้ว่านี่เป็นอาชญากรรมสงคราม

โดยอัยการของไอซีซี นายคาริม ข่าน เปิดเผยเมื่อวานนี้ว่า การตรวจสอบดังกล่าวจะเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ทั้งนี้ ไอซีซีก่อตั้งขึ้นในปี 2002 โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเฮกของเนเธอร์แลนด์ โดยศาลดังกล่าวจะทำหน้าที่สอบสวนและพิจารณาคดีอย่าง การฆ่าล่างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้านมนุษยชน

ขณะที่ผู้นำสหรัฐฯ ตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ทำเนียบขาว ยืนยันว่าชาวอเมริกันไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์

ผู้เชี่ยวชาญมองเจรจาไร้ข้อสรุปไม่เกินคาด

สอดคล้องกับนาง เจน ซากี โฆษกหญิงประจำทำเนียบขาว ที่ระบุว่า ยังไม่มีความจำเป็นต้องยกระดับการเตือนภัยด้านนิวเคลียร์ในเวลานี้ และสหรัฐฯ กำลังพิจารณาคว่ำบาตรเพิ่มเติมในภาคพลังงานของรัสเซียด้วย

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด ของแคนาดา ออกมาประกาศว่า รัฐบาลเห็นชอบส่งอาวุธทำลายรถถังให้แก่ยูเครน และจะสั่งห้ามนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย

ทรูโดระบุว่า รายได้จากการส่งออกน้ำมันเป็นอีกช่องทางที่สนับสนุนปูติน และกลุ่มชนชั้นนำในประเทศ

ที่ผ่านมา มาตรการลงโทษส่วนใหญ่ของชาติตะวันตก มักจะมุ่งเน้นไปที่ภาคการธนาคารของรัสเซีย เนื่องจากหลายชาติยุโรปยังต้องพึ่งพาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย แต่แคนาดา ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก นำเข้าน้ำมันจากรัสเซียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ขณะเดียวกัน รัฐบาลแอลจีเรีย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรป ระบุว่า พร้อมที่จะส่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติมให้กับชาติยุโรป ผ่านท่อส่งก๊าซที่เชื่อมต่อกับอิตาลี เพื่อชดเชยก๊าซที่ขาดหายไปจากฝั่งรัสเซีย ท่ามกลางวิกฤตความขัดแย้ง

นอกจากมาตรการลงโทษจากสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรแล้ว ล่าสุด เรายังได้เห็นท่าทีจากรัฐที่มีสถานะเป็นกลางอย่างสวิตเซอร์แลนด์และฟินแลนด์ โดยนายกฯ หญิงฟินแลนด์ ประกาศเตรียมส่งอาวุธและอาหารให้กับยูเครน

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ชี้ คว่ำบาตรรัสเซีย หวั่นส่งผลกระทบหนักตลาดเงินโลก

ส่วนสวิตเซอร์แลนด์ ออกมาร่วมวงใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย ตามมาตรการทั้งหมดของสหภาพยุโรป

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP ต่างประเทศ

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ