จากกรณีความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ลุกลามบานปลายจนกลายเป็นสงคราม มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน และมีผู้ลี้ภัยอพยพมากกว่า 1 ล้านคน ทำให้สมัชชาสหประชาชาติ (UNGA) จัดการประชุมเร่งด่วน เพื่อหาทางออกวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน โดยประชุม 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. และเปิดให้ลงมติว่า จะประณามการกระทำของรัสเซียหรือไม่ในวันที่ 2 มี.ค.
การประชุมพิเศษนี้มีผู้แทนเข้าร่วม 193 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งมี สุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ เป็นผู้แทนในการประชุมและลงมติ
เปิดใจคนไทยในยูเครน ผวาทุกครั้งที่มีกองกำลังทหารรัสเซียเข้ามาใกล้
ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะเริ่มไต่สวนรัสเซีย ก่ออาชญากรรมสงคราม
7 วันรัสเซียบุกยูเครน มีผู้ลี้ภัยออกนอกยูเครนไปแล้วเกิน 1 ล้านคน
ในถ้อยแถลงแสดงจุดยืน สุริยากล่าวว่า “ประเทศไทยมีความกังวลอย่างยิ่ง ต่อการสู้รบและความรุนแรงที่เลวร้ายลงอันเป็นผลมาจากการใช้กำลังทหารในยูเครน ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียชีวิต รวมถึงชีวิตพลเรือนผู้บริสุทธิ์ และความเสียหายต่อทรัพย์สินและโครงสร้างพื้นฐานในการใช้ชีวิตของพลเรือน
“รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครนเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่นั้นมา การสู้รบด้วยอาวุธยังคงดำเนินต่อไป และผู้เสียชีวิตซึ่งรวมถึงพลเรือน ยังคงเพิ่มขึ้น ยังมีสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมของผู้ลี้ภัยและการสู้รบที่น่ากังวล ประเทศไทยชื่นชมประเทศเพื่อนบ้านของยูเครนและรัฐต่าง ๆ สำหรับการดำเนินการอย่างรวดเร็วในการระดมความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
รัสเซีย เผยเสียทหารเกือบ 500 นาย เจ็บนับพัน หลังบุกยูเครน
“ในส่วนของเรา ประเทศไทยจะพยายามอย่างเต็มที่ในการตอบสนองความต้องการด้านมนุษยธรรมเร่งด่วนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศที่มีความคิดเหมือนกัน
“ประเทศไทยยึดมั่นในหลักการที่อยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะด้านอำนาจอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และความเป็นอิสระทางการเมืองของรัฐต่าง ๆ ควรละเว้นจากการการใช้กำลังกับรัฐอื่น เราขอเรียกร้องให้ระงับความรุนแรงและการสู้รบด้วยอาวุธโดยทันที
“สถานการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นจะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อโลก ทวีความรุนแรงขึ้นต่อสภาพมนุษยธรรมและเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวดีจากที่จากการระบาดของโควิด-19
“ประเทศไทยขอเรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อหาข้อยุติโดยสันติและแนวทางแก้ไขที่ยั่งยืน ผ่านสหประชาชาติและองค์กรที่เป็นกลางอื่น ๆ เรายินดีรับฟังความพยายาม-เหตุผลในการพูดคุยทวิภาคีระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง และหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดี
“ในฐานะประเทศผู้รักความสงบ ประเทศไทยมีศรัทธามั่นคงในความปรารถนาดีในหมู่ประชาชาติและความเมตตาของมนุษยชาติ เราจึงหวังต่อไปว่า เส้นทางแห่งสันติภาพ ความปรองดอง และการเป็นมิตรที่ดี จะชนะในที่สุด”
หลังู้แทนแต่ละประเทศได้กล่าวแสดงจุดยืน จึงเป็นขั้นตอนการโหวตลงมติ โดยมีผู้แทน 141 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย โหวตเห็นชอบให้มีการประณามรัสเซีย
ทั้งนี้ มี 5 ประเทศโหวตคัดค้าน คือ รัสเซีย เบลารุส เกาหลีเหนือ ซีเรีย และเอริเทรีย ขณะที่อีก 35 ประเทศ รวมถึงจีน เลือกงดออกเสียง ในจำนวนนี้มีเพื่อนบ้านอาเซียนอย่างเวียดนามและ สปป.ลาว ด้วย
ศาลอาญาระหว่างประเทศ จะเริ่มไต่สวนรัสเซีย ก่ออาชญากรรมสงคราม
ก่อนหน้านี้ ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไทย กล่าวว่า ไทยอาจจำเป็นต้องปรับนโยบายเกี่ยวกับความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน โดยจะไม่รีบประณามรัสเซีย เพราะจะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ต้องกาจุดที่ช่วยคลี่คลายสถานการณ์มากกว่า และจะพยายามรักษาความเป็นกลางไว้ รวมถึงพร้อมเป็นหนึ่งในคนกลางเจรจาหาทางออกร่วมกับทุกฝ่าย
ข้อสังเกตจากถ้อยแถลงของสุริยาคือ แม้จะมีการลงมติเห็นชอบประณามรัสเซีย แต่ในถ้อยแถลงกลับไม่มีคำว่า “รัสเซีย” อยู่เลย จึงอาจมองได้ว่า เป็นหนึ่งในความพยายามในการรักษาความสัมพันธ์ทางการทูตเอาไว้
การลงมติประณามรัสเซียครั้งนี้ ยังไม่อาจคาดเดาได้ว่า จะเหมือนการโยนก้อนกรวดลงมหาสมุทรโดยไม่อาจสร้างได้แม้แต่รอยกระเพื่อม หรือจะเป็นหนึ่งในแรงกดดันที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสถานการณ์ที่กำลังรุนแรงนี้ ยังคงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด
”อบราโมวิช”ขาย“เชลซี” กำไรช่วยเหยื่อสงครามยูเครน