ตั้งแต่เมื่อวันอังคาร (28 มิ.ย.) ที่ผ่านมา เกิดเหตุไฟไหม้ป่าในประเทศเปรู บริเวณที่ใกล้กับซากอารยธรรมชาวอินคา หรือที่ทั่วโลกรู้จักกันในชื่อ “มาชูปิกชู (Machu Picchu)” นับเป็นภัยคุกคามต่อแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของโลก
โดยสาเหตุของไฟป่าครั้งนี้เกิดจากเกษตรกรที่เผาพื้นที่เกษตรเพื่อเตรียมการเพาะปลูกครั้งใหม่ จนถึงเมื่อวานนี้ (30 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่นักผจญเพลิงเปรูยังคงอยู่ระหว่างการพยายามควบคุมเพลิงไม่ให้ลุกลามไปยังมาชูปิกชู แต่ยังไม่สามารถดับไฟได้
ญาตินักโทษเดือด ปะทะ จนท. หลังจลาจล-ไฟไหม้เรือนจำโคลอมเบีย ดับ 51 คน
ไฟไหม้เรือข้ามฟากในฟิลิปปินส์ ตาย 1 คน สูญหาย 1 คน
หนุ่มญี่ปุ่นได้เที่ยว “มาชูปิกชู” แบบเอ็กซ์คลูซีฟ เพราะโควิด-19 เป็นเหตุ
นายกเทศมนตรีเมืองกุสโก ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองโบราณมาชูปิกชู เผยว่า มีพื้นที่ประมาณ 0.2 ตารางกิโลเมตรได้รับผลกระทบจากไฟป่าครั้งนี้
อย่าไรก็ตาม ด้วยลักษณะของภูมิประเทศที่อยู่ใกล้กับเทือกเขาและเข้าถึงยาก ทำให้ความพยายามของนักผจญเพลิงในการควบคุมไฟเป็นไปอย่างยากลำยาก
โรแบร์โต อาบาร์กา ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารความเสี่ยงและความมั่นคงเมืองกุสโก กล่าวว่า “เราได้ต่อสู้กับไฟป่ามาเป็นเวลา 2 วันแล้ว และเรายังไม่สามารถควบคุมไฟได้ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวค่อนข้างเข้าถึงยาก”
มาชูปิกชู เป็นซากอารยธรรมที่สร้างขึ้นอย่างสลับซับซ้อนบนเทือกเขาสูง ที่ความสูงประมาณ 2,430 เมตร คาดว่าสร้างขึ้นเมื่อกว่า 550 ปีที่แล้วโดยชาวอินคา ซึ่งจักรวรรดิอินคาในอดีตปกครองพื้นที่ขนาดใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ตอนใต้ของเอกวาดอร์จนถึงตอนกลางของชิลีในปัจจุบัน
ในปี 1983 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนมาชูปิกชูให้เป็นแหล่งมรดกโลก และในปี 2007 มาชูปิกชูได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ด้วย
เรียบเรียงจาก Reuters
ภาพจาก AFP
Kirin Holdings บริษัทเบียร์ญี่ปุ่น ประกาศขายหุ้นทั้งหมดที่ร่วมทุนกับกองทัพเมียนมา
ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ลอตเตอรี่ 1/7/65
โควิดวันนี้ (1 ก.ค.65) ป่วยทะลุ 2 พันต่อเนื่อง ปอดอักเสบพุ่ง 690 ราย